งานพลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (CLEAN POWER ASIA): การรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในระดับภูมิภาค ด้านพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบสะอาด และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพลังงานจากทั่วโลก จำนวนมากกว่า 300 คน ได้เข้าร่วมการประชุม ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร โดยประเทศออสเตรเลีย และประเทศฟิลิปปินส์ เป็นตัวอย่างของสองประเทศ จากประเทศในภูมิภาคนี้อีกกว่า 14 ประเทศ ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลกรณีศึกษาและรายงานเกี่ยวกับโครงการพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบสะอาด และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในงาน พลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (CLEAN POWER ASIA) ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน
ในการจัดงานพลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (CLEAN POWER ASIA)ครั้งนี้ มีกระทรวงพลังงาน ของประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุน อย่างเป็นทางการ และมี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม (PEA ENCOM) ให้การสนับสนุนเพิ่มเติม โดยได้ต้อนรับผู้ประกอบการวิชาชีพอุตสาหกรรมพลังงานในระดับสากล ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบสะอาด และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มากกว่า 300 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากประเทศไทย สิงคโปร์ เกาหลี จีน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ลาว มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถาน และ อิหร่าน จะเข้าร่วมงานนี้ด้วย
โครงการโคแกน ครีก โซล่าร์ บู๊ทส์ (Kogan Creek Solar Boost) ของออสเตรเลีย
โครงการโคแกน ครีก โซล่าร์ บู๊ทส์ (Kogan Creek Solar Boost) เป็นโครงการโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับพลังงานถ่านหิน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นายอลัน เบรค (Alan Brake) วิศวกรอาวุโสบริษัท ซึเอส เอนเนอจี้ จำกัด (CS Energy Ltd) และผู้จัดการโครงการโคแกน ครีก โซล่าร์ บู๊ทส์ (Kogan Creek Solar Boost) นายอลัน เบรคจะได้ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีผสมผสานด้านพลังงานถ่านหิน-แสงอาทิตย์ (solar-coal hybrid technology) ในระหว่างการจัดงาน พลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (CLEAN POWER ASIA)
นายอลัน เบรค (Alan Brake) กล่าวว่า “ โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน โคแกน ครีก (Kogan Creek Kogan Creek Power Station) ของบริษัท ซึเอส เอนเนอจี้ (CS Energy) มีกำลังการผลิตขนาด 750 เมกะวัตต์ (MW) เป็นโรงไฟฟ้าระบบระบายความร้อนแบบแห้ง (dry-cooled power station) ที่มีประสิทธิภาพสูง และเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในประเทศออสเตรเลีย โครงการโคแกน ครีก โซล่าร์ บู๊ทส์ (Kogan Creek Solar Boost) มีส่วนสนับสนุนให้โรงงานผลิตไฟฟ้าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ยังคงใช้ถ่านหินในปริมาณเท่าเดิม
ทั้งนี้เนื่องจากการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงงานผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพด้านเชื้อเพลิง อีกทั้งลดผลกระทบที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก – โดยการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 35,600 ตันต่อปี ในขณะทีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydropower) ก็ถือเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดี ในประเทศฟิลิปปินส์
นายเอ็มมานูเอล รูบิโอ (Emmanuel Rubio) เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด ของ เอสเอ็น อบอยติซ พาวเวอร์ เบนเกตท์ (SNAPBenguet) ในประเทศฟิลิปปินส์กล่าวว่า พลังงานน้ำ (Hydropower) มีบทบาทอย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีกำลังการผลิตเต็มที่ ขณะที่มีต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงฟอสซิล เขายังกล่าว อีกว่า : “ โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ช่วยให้สามารถสำรองพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้มากยิ่งขึ้น สำหรับแผนงานเกี่ยวกับพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ของประเทศ โรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ นับได้ว่ามีศักยภาพมากที่สุดที่จะสามารถพัฒนาได้ เนื่องจากว่าเป็นพลังงานที่สามารถหาได้ง่าย และมีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากที่สุด
“ สำหรับแผนในระยะนี้ จนถึงระยะกลาง ” เขากล่าวว่า “ประเทศฟิลิปปินส์ มีศักยภาพที่ดี เหมาะสมกับการลงทุนในภาคพลังงาน โดยพิจารณาถึงทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปริมาณความต้องการที่คาดการณ์ถึงในอนาคต และความมุ่งมั่นของรัฐบาลมีต่อการพัฒนาอุตสาหรรมประเภทนี้อยู่ การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยพลังงานน้ำจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สำหรับการพัฒนา ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ที่จะทำให้ประเทศฟิลิปปินส์สามารถรองรับความต้องการด้านพลังงานได้มากขึ้น ในขณะที่ยังคงมีอัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถแข่งขันได้จริง และทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการเจริญเติบโตได้”
ในการจัดงาน พลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (CLEAN POWER ASIA) ที่จัดขึ้นในเดือนนี้ ณ กรุงเทพมหานคร นายเอ็มมานูเอล รูบิโอ (Emmanuel Rubio) จะเข้าร่วมรายงาน ผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของโครงการฟื้นฟูโรงไฟฟ้าแอมบูเกลา (Ambuklao) ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม ปี 2533 ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับทั้ง เบนเกตท์ (Benguet) และการปฏิบัติงานของแอมบูเกลา (Ambuklao) จนนำไปสู่การยุติการดำเนินงานในปี 2542 แต่ในปัจจุบัน ก็มีการดำเนินโครงการฟื้นฟู ซึ่งจะทำให้สามารถกลับมาปฏิบัติงานได้เหมือนดังเดิม อีกทั้งยังเพิ่มกำลังการผลิต ได้ถึง 105 เมกะวัตต์ (MW) ด้วย และจากการคาดการณ์ สถานีผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งสามแห่งของแอมบูเกลา (Ambuklao) จะสามารถเปิดทำการได้ในไตรมาสที่สามของปี 2554 นี้
ประเด็นสำคัญของงาน พลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (CLEAN POWER ASIA) มีดังนี้:
พลังงานทดแทน:
- ทั้งนี้ในส่วนของ ไชน่า วินพาวเวอร์ (China WindPower) เองก็ได้วางแผนที่จะสร้างพื้นที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม (Wind Farm) ขึ้นใหม่ โดยเพิ่มกำลังการผลิตให้สูง ถึง 800 MW ภายในปี 2555
- ในขณะที่ ในประเทศไทย ก็มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบความสำเร็จได้
- อนึ่งในคาบสมุทร ของประเทศ มาเลเซีย เอง ก็มีการเพิ่มศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด – ซึ่งเป็นส่วนของความริเริ่มด้านพลังงานสะอาดของทีเอ็นบี (TNB’s Green Energy Initiatives) นั่นเอง
- ทั้งนี้ ในประเทศอินโดนีเซีย ก็จะนำเสนอข้อมูลล่าสุดของโครงการวายัง วินดู (Wayang Windu)
- บทเรียนจากการนำโครงการพลังงานจากกากของเสียอินทรีย์สาร แห่งแรกในยุโรป มาพัฒนาโครงการพลังงานในประเทศไทย
การผลิตพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบสะอาด:
- การพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและการปฏิบัติงานของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่มีกำลังการผลิตขนาด 660MW ในประเทศไทย (Gheco-One)
- การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสะอาดที่ประสบผลสำเร็จ: โครงการ Tianjin IGCC project ในประเทศจีน
- การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ PLN ใน ประเทศอินโดนีเซีย
- ความสำเร็จของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะของประเทศไทย ในการลดการปล่อยพลังงานโดยการปรับปรุงคุณภาพเชิงเทคโนโลยีและการปฏิบัติงาน
- ประสบการณ์ของเกาหลี ในเรื่องการประหยัดต้นทุนขณะที่ทำการผลิตไฟฟ้าที่มีความสะอาดสูง
ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวแทนรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพลังงานที่เข้าร่วมงาน มีดังนี้:
- นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน (Sutat Patmasiriwat) ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประเทศไทย
- นายพงศกร ตันติวณิชชานนท์ (Pongsakorn Tantiwanichanon) รองผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ประเทศไทย
- นายลูลุค ซูมิอาร์โซ (Luluk Sumiarso) อดีตผู้อำนวยการ ของสำนักงานพลังงานรูปแบบใหม่ และพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ตลอดจนการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ธาตุ ประเทศอินโดนีเซีย
- Dato’ Ir. Azman Bin Mohd, COO, Tenaga Nasional Berhad (TNB), ประเทศมาเลเซีย
- ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ (Dr. Direk Lavansiri) ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ประเทศไทย
- Ir. Ahmad Fauzi Hasan, CEO คณะกรรมการพลังงาน ประเทศมาเลเซีย
- นายแอนดริว เบบี (Andrew Beebe) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการค้าของซันเทค พาวเวอร์ (Suntech Power) ประเทศจีน
- นายไซปะเสิด พมสุพา (Xaypaseuth Phomsoupha) อธิบดีกรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงาน กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว
- นายฟรานซิส ซาตัวร์นิโน ซี จวน (Francis Saturnino C. Juan) กรรมการบริหาร คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (Energy Regulatory Commission) ประเทศฟิลิปปินส์
- Ir. Ahmad Fauzi Hasan, CEO คณะกรรมการพลังงาน ประเทศมาเลเซีย
- นายไมเก โกเบล (Maaike Göbel) ผู้จัดการ Southeast Asia and Pacific Renewable Energy and Energy Efficiency Partnership (REEEP), ประเทศออสเตรเลีย
- นายนอร์ ปามุดจิ (Nur Pamudji) ผู้อำนวยการ Primary Energy, PT PLN (Persero), ประเทศอินโดนีเซีย
วันที่จัดงาน: วันที่จัดการประชุม: วันที่ 28-30 มิถุนายน เยี่ยมชมรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ (สามารถเลือกได้ตามอิสระ): วันที่ 30 มิถุนายน
เว็บไซต์การจัดงาน: www.cleanpower-asia.com
สถานที่จัดงาน : โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล(Intercontinental Hotel) เลขที่ 973 ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย