คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เรียกสอบผู้เกี่ยวข้องกรณีกิจการถ่านหินในอ่าวไทยเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมหวังช่วยชาวสมุทรสาคร
คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เรียกสอบผู้เกี่ยวข้องกรณีกิจการถ่านหินในอ่าวไทยเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมหวังช่วยชาวสมุทรสาคร
คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา รุกต่อเนื่อง เชิญผู้เกี่ยวข้องสอบเพิ่ม ช่วยชาวสมุทรสาคร กรณีปัญหาผลกระทบการประกอบกิจการถ่านหินในอ่าวไทยเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๓๑๑ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ยังคงแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนต่อเนื่อง กรณีปัญหาผลกระทบการประกอบกิจการถ่านหินในอ่าวไทยตอนบน จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากการประชุมสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา โดย นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ กรรมาธิการฯ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ร่วมกับชาวบ้านที่ร้องเรียนสำรวจด้วยตนเองเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
และในการประชุมวันนี้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ยังคงรุกแก้ปัญหารอย่างต่อเนื่อง ได้เชิญ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา อัยการจังหวัดสมุทรสาคร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร ประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย
นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคนิทีม (ไทยแลนด์) จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสริมสินผลิตภัณฑ์ปลา จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท รุ่งเจริญผล จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นจูรี่ท่าจีน จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเฮงเส็ง จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียกรีน เอนเนอจี จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยแคปปิตอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยแลนด์ แอนทราไซท์ จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท มหาชัย เอนเนอจี จำกัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมประชุม จนได้ข้อสรุป ดังนี้
เมื่อทุกบริษัททราบถึงปัญหาในเรื่องของการขนส่งถ่านหินที่ทำให้ผู้ร้องเรียนชาวสมุทรสาครเดือดร้อน และผู้ประกอบการทุกบริษัทได้เคยทำข้อตกลงกับคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อตรวจสอบท่าเทียบเรือและเรือขนส่งถ่านหิน เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เรื่องแก้ปัญหา ๔ ปิดคือ (ปิดที่เรือ ปิดที่ท่า ปิดที่ขน ปิดที่กอง) แต่ผลยังไม่เป็นที่พอใจของผู้เดือดร้อน
ทางคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภาได้ให้คำจำกัดความและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาพร้อมขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการ ๔ ปิดที่ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยผู้ประกอบการแต่ละบริษัทขอใช้ระยะเวลาไปดำเนินการแก้ไขปัญหาไม่เกิน ๖ เดือน พร้อมทั้งจะไปกำกับดูแล
ผู้รับจ้างขนส่งในแต่ช่วงให้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด หน่วยราชการต้องมีเอกภาพและความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายโดยทางคณะกรรมาธิการฯ และผู้เดือดร้อนจะลงพื้นที่ร่วมกันเพื่อตรวจสอบต่อไป ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติข้อตกลงกับคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อตรวจสอบท่าเทียบเรือและเรือขนส่งถ่านหินและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครควบคู่ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการฯ ต้องการให้ผู้ประกอบการทุกท่านแก้ไขอย่างถาวรตามรูปแบบปิด อาทิ ตัวอย่างโครงการท่าเรือขนถ่ายสินค้าของบริษัท เอเชียกรีน เอนเนอจี จำกัด (มหาชน) ที่กำลังจะดำเนินการ่อสร้างโดยใช้ประมาณ ๖๐๐ ล้านบาทในอนาคต มานำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ในครั้งนี้ ซึ่งกรณีผลกระทบการประกอบกิจการถ่านหินในอ่าวไทยเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ทางคณะกรรมาธิการฯ ยังคงต้องเร่งแก้ไขต่อไป