ความดื้อดึงของรัฐบาลขมิ้นอ่อนที่หวังเอาชนะคะคานภาคประชาชนที่คันค้าน จี้ยุติสืบต่อการทำเอฟทีเอกับญี่ปุ่น ชี้เบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องลึก ไม่โปร่งใส ไม่เปิดเผยตัวร่างความตกลง ไม่มีส่วนร่วมของ ภาคประชาชน ซึ่งควรมีโอกาสศึกษา ถูกปกปิดสนิท ยิ่งร้ายกว่าระบอบ"ทักษิโณมิกษ์" เสียอีก
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ตัวแทนกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) เปิดเผยว่า เอฟทีเอว็อทช์และเครือข่ายเพื่อประชาชนอีกจำนวนหนึ่งกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นศาลปกครองภายในวันที่ 27 มีนาคม เพื่อขอให้รัฐบาลชะลอการลงนามความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ในต้นเดือนเมษายนนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งขอให้รัฐบาลเปิดเผยร่างข้อตกลงฯทั้งหมด และทบทวนประเด็นที่มีการคัดค้านไปก่อนหน้านี้อย่างน้อย 6 เดือน |
. |
นายบัณฑูรกล่าวว่า จะฟ้องในประเด็นการจัดทำข้อตกลงบนขบวนการที่ไม่ชอบมาพากล และขัดต่อมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้มีการประชาพิจารณ์จนเป็นที่ยอมรับก่อนทำการลงนาม โดยจะร้องกล่าวโทษทั้งตัวบุคคลในรัฐบาลและกระทรวงที่ดูแลการจัดทำ JTEPA ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะรับผิดชอบจากการลงนามแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติ "เราไม่ได้คัดค้านการลงนามเปิดเสรีการค้า แต่ไม่เข้าใจว่าจะเร่งรัดทำไม ทั้งๆ ที่หลายประเด็นยังไม่ได้ข้อยุติว่าไทยจะได้ประโยชน์หรือเสียหาย" |
. |
นายบัณฑูรกล่าวว่า วันที่ 25 มีนาคม ที่สมาคมศิษย์เก่าเกษตรศาสตร์ 11 เครือข่ายเพื่อประชาชน จำนวน 500 คน จะจัดประชุมครั้งใหญ่เพื่อรับฟังเรื่องดังกล่าวรวมถึงลงมติที่จะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับข้อตกลง JTEPA ทั้งนี้ เอฟทีเอว็อทช์ได้จัดทำสมุดปกดำ "วิเคราะห์ความตกลงที่ถูกปกปิด เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น" จำนวน 10,000 เล่ม ไว้แจกจ่ายเพื่อให้ข้อเท็จจริงประเด็นที่ไทยจะเสียหายหากเปิดเสรีกับญี่ปุ่นอย่างไรบ้าง |
. |
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ตัวแทนมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไท) กล่าวว่า มี 5 ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลทบทวนเพื่อแก้ไขก่อนลงนาม ได้แก่ 1.เปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเข้ามาจดสิทธิบัตรจุลชีพ หรือเปิดให้ญี่ปุ่นประกาศการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ 2.ปล่อยให้ขยะอันตรายและของเสียจากญี่ปุ่นทะลักเข้าไทยอย่างเสรี 3.ญี่ปุ่นขอความคุ้มครองนักลงทุนสูงกว่าที่ไทยปฏิบัติกับประเทศต่างๆ และเปิดโอกาสให้ฟ้องร้องต่อรัฐได้ 4.กระทบต่อการบังคับใช้สิทธิของไทย ซึ่งจะกระทบต่ออนาคตการใช้ยาและสาธารณสุขของไทย 5.เกิดการแย่งใช้บริการสาธารณสุขไทย |
. |
จากข้อตกลงให้คนญี่ปุ่นสามารถเข้ามารักษาและเบิกการรักษาพยาบาลได้ "มีการตั้งข้อสังเกตถึงการเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือธุรกิจด้วย รวมถึงความเป็นกลาง เหมาะสม และมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางวิชาการหรือไม่ ที่ให้หน่วยงานและบุคคลที่ทำการศึกษา และประเมินผลประโยชน์จากการเปิดเอฟทีเอกับญี่ปุ่น เป็นหน่วยงานเดียวกัน |
. |
ที่มา : มติชน |