เนื้อหาวันที่ : 2007-03-22 09:29:28 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1247 views

คุมเข้ม 9 โรงปิโตรฯ มาบตาพุต หวัน "มลพิษก่อ" มะเร็ง

กลัวชาวบ้านก่อม็อบต้านอีก กรมควบคุมมลพิษ ประกาศคุมเข้มมลพิษ 9 โรงปิโตเลียมนิคมมาบตาพุดหวั่นขยายเฟสใหม่ก่อมลพิษเพิ่ม กลัวชาวบ้านรับไม่ไหว ขณะที่ผลวิจัยพบชาวระยองป่วยมะเร็งลูคีเมียเพิ่มขึ้น ชี้ขอให้ศึกษาหาระดับมลพิษมาบตาพุดก่อนตัดสินใจประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ

บอร์ดสิ่งแวดล้อมเล็งประกาศคุมเข้มมลพิษ 9 โรงปิโตเลียมนิคมมาบตาพุดหวั่นขยายเฟสใหม่ก่อมลพิษเพิ่มชาวบ้านรับไม่ไหว ขณะที่ผลวิจัยพบชาวระยองป่วยมะเร็งลูคีเมียเพิ่มขึ้น คพ. ชี้ขอให้ศึกษาหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระดับมลพิษมาบตาพุดก่อนตัดสินใจประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ด้านแพทย์ระยองหนุนศึกษาชี้เฝ้าระวังเพราะแนวโน้มสถิติพุ่ง

.

จากกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งมีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานประชุมครั้งที่ 1/2550 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา และมีมติให้ประเมินผลกระทบคุณภาพอากาศในบรรยากาศด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เรื่องการรองรับระดับมลพิษ บริเวณพื้นที่มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง อีก 1 ปี ส่วนการประกาศเขตควบคุมมลพิษนั้นได้ตั้งคณะอนุกรรมการอีก 2 ชุดเพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนจนทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็นการยื้อเวลาหรือไม่นั้น

.

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การที่ยังไม่ประกาศนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษได้นั้นไม่ได้เป็นการยื้อเวลาเพียงแต่คณะกรรมการฯในประชุมเห็นว่าถ้าหากจะนำเอาประเด็นการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจและสัดส่วนโรคมะเร็งที่มีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นของ จ.ระยอง มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาประกาศเขตควบคุมมลพิษ ก็ต้องหาความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงที่มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงที่ชัดเจนว่าเกิดจากมลพิษของนิคมฯ หรือไม่ระบุมลพิษมากเกินพื้นที่รับไว้

.

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ส่วนการศึกษาศักยภาพรองรับมลพิษในมาบตาพุดนั้น จากแบบจำลองที่คำนวณออกมาแล้วดูเหมือนกับความสามารถในการรองรับมลพิษของพื้นที่นิคมมาบตาพุดกำลังจะเต็มศักยภาพที่ไม่สามารถรองรับได้อีก แต่จากการตรวจวัด นั้นยังไม่ชัดเจนจึงต้องทำแบบจำลองที่ให้ค่าความแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากมีความพยายามที่จะประกาศเขตควบคุมมลพิษมาแล้วระยะหนึ่ง ภาคเอกชนก็พยายามหาทางลดปัญหามลพิษอยู่แล้วคุมขยาย 9 โรงปิโตรเคมีเฟส 3

.

นอกจากนี้ จะต้องศึกษาหาความสัมพันธ์การปล่อยมลพิษกับการขยายโรงงานปิโตรเคมีในเฟส 3 ที่เอกชน 9 รายกำลังอยู่ระหว่างการยื่นทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบริษัท ปตท. โรงแยกก๊าซโดยถ้าหากโรงงานใหม่จะขยายเพิ่มเติมในเฟตใหม่ โรงแยกก๊าซของ ปตท.เดิมที่ตั้งอยู่จะต้องมีการปรับลดไนโตรเจนไดออกไซด์ลง เพื่อแลกสัดส่วนการลดมลพิษ เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิมโดยการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ส่วนโครงการอื่นๆ ในอนาคตหากจะเข้ามาก็ต้องดำเนินการอย่างนี้เหมือนกันเป็นกรณี ๆ ไป

.

เราไม่ได้จำกัดเรื่องโรงงาน แต่จำกัดเรื่องการระบายมลพิษ เราต้องการควบคุมระดับมลพิษ หากสามารถควบคุมได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่ย่ำแย่กว่าเดิม ขณะเดียวกันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ได้มีการพูดถึงด้วยว่า ควรมีการไปดูพื้นที่ใหม่ในการพัฒนาต่อไปในอนาคต เพราะถ้าพูดกันจริงๆ นิคมมาบตาพุดไม่ควรขยายพื้นที่หรือมีโรงงานเข้าไปอีกแล้ว ดร.สุรพัฒน์ กล่าว

.

นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ยังยืนยันว่าอยากให้รัฐบาลเร่งประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดไปก่อนโดยไม่ต้องรอจนกว่าผลการศึกษาอีก 1 ปีจะแล้วเสร็จเพราะสุขภาพของชาวบ้านคงรอไม่ได้ ซึ่งโดยหลักการก็สามารถศึกษาผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ และด้านศักยภาพการรองรับระดับมลพิษไปด้วยกันได้ เพราะไม่เชื่อมั่นว่านโยบายของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ที่จะมีมาตรการว่าต้องลดปริมาณระดับมลพิษในโรงงานเก่าในนิคมฯ ก่อนที่จะพิจารณาขยายโรงงานปิโตรเคมี เฟส 3 จะบังคับใช้ได้ ซึ่งในวันที่ 21 มกราคมนี้ ชาวบ้านจำนวน 10 คน จากระยอง จะไปพบนายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ไปปฏิบัติราชการที่ จ.จันทบุรี เพื่อติดตามทวงถาม ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวสถิติผู้ป่วยลูคีเมียระยองเพิ่มขึ้น

.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมครั้งพิเศษดังกล่าว ทาง คพ. ได้นำข้อมูลเรื่องสถิติการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเรลือดขาว (ลูคีเมีย) ใน จ.ระยอง ที่ศึกษาโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ภายใต้โครงการศึกษาระบาดวิทยาโรคมะเร็งในประเทศไทยของ จ.ระยอง ปี 2540-2544 ซึ่งทำโดย ดร.เพชรรินทร์ ศรีวัฒณากูล โดยพบว่าการเกิดมะเร็งใน อ.เมือง มีค่าเฉลี่ย 182.45 รายต่อ ประชากร 1 แสนราย และเมื่อโฟกัสเฉพาะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉลี่ย 6.25 รายต่อประชากร 1 แสนราย ขณะที่ อ.เขาชะเม จำนวน 4.4 รายต่อประชากร 1 แสนราย อ.บ้านค่าย 4.25 รายต่อประชากร 1 แสนราย ทั้งนี้ ดร.เพชรรินทร์ กำลังอยู่ในระหว่างการตามดูเป็นรายๆ และศึกษาแนวโน้มการเกิดมะเร็งเพิ่มเติม ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

.

ด้าน น..วิวัฒน์ วิริยกิจจา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง กล่าวว่า ขณะนี้ทางสาธารณสุข จ.ระยอง ได้เฝ้าระวังการเกิดโรงมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคทางเดินหายใจของประชากร จ. ระยอง โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองระยอง ที่พบมีสถิติสูงกว่าเขตอำเภออื่นๆ แต่ยอมรับว่าอัตราการเจ็บป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีความสัมพันธ์หรือเกิด      จากมลพิษทางอากาศใน จ.ระยอง ที่มาจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดโดยตรงหรือไม่ ซึ่งเห็นด้วยที่หน่วยงานทางด้านสิ่งแวดล้อมจะศึกษารายละเอียดเชิงลึก และสาธารณสุข จ.ระยอง พร้อมจะเป็นแนวร่วมเพื่อคุณภาพชีวิตของคนระยองดีขึ้น

.

นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจผลิตและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันระหว่างบริษัทเอกชน และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับปัญหามลภาวะบริเวณมาบตาพุดโดยมีข้อสรุปร่วมกันที่จะให้ทุกโรงงาน ช่วยกันลดการปล่อยมลภาวะ เพื่อให้โรงงานใหม่หรือการขยายกำลังผลิตสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณนี้

.

ที่มา :  กรุงเทพธุรกิจ