เนื้อหาวันที่ : 2011-05-03 13:48:56 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2078 views

LASELEC กับนวัตกรรมการทำเครื่องหมายแบบใหม่บนสายไฟอลูมิเนียม

Laselec โชว์ความสำเร็จการพัฒนานวัตกรรมแบบใหม่ในการทำเครื่องหมายแบบพิเศษสำหรับสายไฟอลูมิเนียม เพื่อทำพรี-มาร์คกิ้งจุดเชื่อมต่อด้วยเลเซอร์

Laselec โชว์ความสำเร็จการพัฒนานวัตกรรมแบบใหม่ในการทำเครื่องหมายแบบพิเศษสำหรับสายไฟอลูมิเนียม เพื่อทำพรี-มาร์คกิ้งจุดเชื่อมต่อด้วยเลเซอร์

Laselec (ลาเซอเลค) บริษัทชั้นนำจากฝรั่งเศส ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมแบบใหม่ในการทำเครื่องหมายหรือมาร์คกิ้งแบบพิเศษสำหรับสายไฟอลูมิเนียม สืบเนื่องมาจากการที่ทางบริษัทแอร์บัสได้ขอให้ทางบริษัทLaselec พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ทำเครื่องหมาย (พรี-มาร์คกิ้ง) จุดเชื่อมต่อด้วยเลเซอร์

สายไฟอลูมิเนียมมีจุดเด่นตรงที่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างแน่นหนา แต่ไม่สามารถเปิดเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยได้ในภายหลัง ดังนั้น การกำหนดจุดพรี-มาร์คกิ้งเชื่อมต่อจึงต้องมีความแม่นยำสูงมาก ซึ่งถือเป็นความท้าทายของบริษัท Laselec ซึ่งเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีการ marking บนสายไฟด้วยเลเซอร์

สายไฟอลูมิเนียมนั้นนำมาใช้ในเครื่องบินมากขึ้นเพื่อลดน้ำหนักตัวเครื่อง เครื่องบินแอร์บัส A380 ต้องใช้สายไฟที่มีหน้าที่และคุณสมบัติแตกต่างกันยาวกว่า 500 กิโลเมตร และสายไฟแต่ละเส้นจำเป็นต้องมีการทำเครื่องหมายระบุไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุง

ทางบริษัทแอร์บัสจึงขอให้บริษัท Laselec ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำมาร์คกิ้งบนสายไฟมาตั้งแต่ปี 1989 พัฒนาเทคโนโลยีการทำมาร์คกิ้งด้วยเลเซอร์อัลตร้าไวโอเล็ต เพื่อใช้ทำเครื่องหมายบนสายไฟอลูมิเนียม ส่วนสำคัญของการทำเครื่องหมายคือ การระบุตำแหน่งการเชื่อมต่อที่ต้องมีความแม่นยำสูง เพื่อทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เพราะสายไฟอลูมิเนียมนั้น เมื่อเชื่อมต่อแล้วไม่สามารถเปิดออกดูเพื่อตรวจสอบได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อจึงต้องถูกต้องแม่นยำที่สุด

“ทุกวันนี้ การกำหนดตำแหน่งจะใช้ปากกามาร์คเกอร์ทำเครื่องหมายด้วยมือ แต่ก่อให้เกิดปัญหาความไม่แม่นยำและรอยเครื่องหมายลบเลือนง่าย     ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบจุดเชื่อมต่อได้     การนำเครื่องทำเครื่องหมายด้วยเลเซอร์จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแม่นยำได้เป็นอย่างดี” เอริค ดูปงต์ ประธานบริษัท Laselec กล่าว เทคโนโลยีการทำเครื่องหมายนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรโดยแอร์บัสและ Laselec และคาดว่าจะเป็นที่สนใจของบรรดาบริษัทผู้ผลิตสายไฟสำหรับอากาศยาน

การใช้เลเซอร์ทำมาร์คกิ้งนั้นมีความถาวรและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฉนวนหุ้มสายไฟ การใช้เลเซอร์ทำ marking นั้นแพร่หลายอย่างยิ่ง ทั้งในวงการทหารและพลเรือน  ปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ในวงการยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ทั่วไป รถระดับสูง หรือกระทั่งรถแข่งแรลลี่ส์

ทั้งนี้ ทาง Laselec ได้พัฒนาเครื่องทำเครื่องหมายซีรีส์ ULYS Modena ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และสามารถอัพเกรดเครื่องได้ ไม่ว่าจะเป็นรุ่น ULYS 110 ที่ออกแบบมาให้รองรับงานที่มีปริมาณไม่สูงนัก

แต่สามารถปรับแต่งเพิ่มอุปกรณ์ให้กลายเป็นรุ่น ULYS 990 เพื่อรองรับการผลิตปริมาณมากด้วยการติดตั้งหัวยิงเลเซอร์คู่ รุ่น MRO 200 ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับงานในศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานโดยเฉพาะ ULYS Modena รวมถึง MRO 200 ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์พีซีและใช้ระบบอัตโนมัติ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ใช้งานง่ายและมีอัตราการผลิตสูง
 
บริษัท Laselec ยังพัฒนาเครื่องตรวจสอบตัวอย่างรุ่น MT 200 เพื่อตรวจสอบคุณภาพการทำมาร์คกิ้งยูวีบนสายเคเบิ้ลรุ่นใหม่ๆ และควบคุมคุณภาพ (QC) การผลิตสินค้า มาตรฐาน EN 4650 กำหนดไว้ว่าสายไฟจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติหรือส่วนประกอบเมื่อผ่านการมาร์ค์กิ้งด้วยเลเซอร์

เครื่อง MT 200 จึงหน้าที่สำคัญในการควบคุมตรวจสอบตามข้อกำหนดในมาตรฐาน เช่น ความเข้มของเลเซอร์ยูวีขณะทำมาร์คกิ้ง จากนั้น จึงนำมาตรวจสอบความคมชัดของมาร์คกิ้งด้วยเครื่อง COMET ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ด้วยการใช้กล้องดิจิตัลร่วมกับระบบให้แสงสว่างด้วยใยแก้วนำแสงคู่

เครื่องทำ marking ของ Laselec ได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายโดยบริษัทผลิตอากาศยานชั้นนำ เช่น  Agusta Westland, AIRBUS, BAE Systems, Bell Helicopters, BOEING, Bombardier Aerospace, Cessna Aircraft, Changhe Aircraft, EADS, Embraer, Eurocopter, Gulfstream Aerospace, HAL, Hawker Beechcraft, Honda Aircraft, I.A.I., MIG, Sikorsky Global Helicopters, Shanghai Aircraft และ Tusas Aerospace