แอมด็อคส์ ชี้ 70% ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเห็นความสำคัญของช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
แอมด็อคส์ ชี้ 70% ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเห็นความสำคัญของช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
ช่วงเวลาเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์เฉลี่ยระหว่างปี 2551-2554 เร็วขึ้นเพียงเล็กน้อยและร้อยละ 70 ของผู้ให้การบริการด้านการสื่อสาร เน้นความสำคัญในการปรับสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานให้ทันสมัย เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น
แอมด็อคส์ (NYSE: DOX) ผู้นำตลาดในด้านนวัตกรรมระบบบริการลูกค้า เปิดเผยผลสำรวจรอบโลกเกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบทางธุรกิจของช่วงเวลาเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด (time-to-market) ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งสำรวจโดยบริษัทวิจัยโคล์แมน ปาร์คส์ (Coleman Parkes Research) ที่อิงผลสำรวจในปี 25511
จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเห็นความสำคัญของช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด (time-to-market) ซึ่งมากขึ้นจากเดิมที่มีเพียงร้อยละ 59 ในปี 2551 อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจยังพบว่า ช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเฉลี่ยระหว่างปี 2551-2554 เร็วขึ้นเพียงเล็กน้อย
ในความเป็นจริง ผู้ให้การบริการที่สามารถเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดภายใน 6 เดือนมีจำนวนน้อยลง ในปี 2551 ร้อยละ 67 ของผู้ให้การบริการ กล่าวว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนในการเตรียมผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ท้องตลาด เมื่อเทียบกับปัจจุบันซึ่งมีจำนวนร้อยละ 65
ผลสำรวจที่น่าสนใจ:
• ผู้ให้การบริการไม่สามารถเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ตรงตามเป้าหมาย : ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในสามของผู้ให้การบริการไม่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ภายในเวลา 6 เดือน โดยมีผู้จัดหาบริการจำนวนหนึ่งในสามเช่นกัน ที่รายงานว่าระยะเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมีการปรับตัวเร็วขึ้นถึงร้อยละ 21
โดยเฉลี่ยผู้ให้การบริการร้อยละ 45 ระบุว่าสาเหตุที่ถ่วงเวลาการเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด คือความต้องการด้านบริการสนับสนุนสำหรับบุคคลที่สามที่มีระยะเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดที่เพิ่มขึ้น อาทิ แอพพลิเคชั่นสโตร์ หรือ IPTV รวมถึงอุปกรณ์เสริมเพื่อการเชื่อมต่อ
นอกจากนี้ ผู้ให้การบริการร้อยละ 59 เห็นว่าความซับซ้อนทางเทคโนโลยีเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการถ่วงเวลาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ร้อยละ 58 ระบุว่าความไม่คล่องตัวของขั้นตอนและระบบการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นปัญหาหลักที่สำคัญ แม้ว่าผู้ให้การบริการพยายามหาแนวทางปรับใช้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ปัญหาดังกล่าวยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ
• ช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดส่งผลกระทบต่อความเสียหายในวงกว้าง: ร้อยละ 68 ของผู้ให้การบริการเชื่อว่าความเร็วในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นตัวชี้วัดความแตกต่างทางธุรกิจที่สำคัญ โดยร้อยละ 95 ของกลุ่มผู้ให้การบริการนี้กล่าวว่าช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมีผลต่อรายได้
นอกจากนี้ ร้อยละ 95 ของกลุ่มผู้ให้การบริการนี้เชื่อว่าช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมีผลต่อภาพลักษณ์ของตราผลิตภัณฑ์ และร้อยละ 94 เห็นพ้องว่าระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่ายที่รวดเร็วกว่าจะช่วยให้บริษัทได้รับความภักดีจากลูกค้ามากขึ้น ดังนั้น กลุ่มผู้ให้การบริการที่ไม่สามารถย่นระยะเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ก็จะมีความเสี่ยงต่อการยกเลิกการใช้บริการ กระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า รวมทั้งพลาดโอกาสในการสร้างรายได้
• การลงทุนในระบบเสริมการปฏิบัติงานมีผลโดยตรงต่อการย่นระยะเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด: ร้อยละ 70 ของกลุ่มผู้ให้การบริการเชื่อว่าการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ทันสมัย เป็นสิ่งจำเป็นในการเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ให้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ร้อยละ 76 ในบรรดากลุ่มผู้ให้การบริการที่รายงานว่าสามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็ว ระบุว่าเป็นผลเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างการทำงาน
ในขณะที่ร้อยละ 76 กล่าวว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนและระบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ ร้อยละ 81 ชี้ว่าเป็นผลจากการปรับปรุงระบบการควบคุมและการจัดการโครงการที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว นอกจากนี้ ร้อยละ 65 กล่าวว่าเป็นผลจากการบรูณาการด้านระบบเสริมการปฏิบัติงานและธุรกิจเข้าด้วยกัน (business and operational support systems integration).
“ช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมีความสำคัญเนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ของลูกค้าและความต้องการอยู่เหนือคู่แข่งของผู้ให้การบริการ ผู้ให้การบริการต่างตระหนักถึงผลกระทบของช่วงเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจและการสร้างผลกำไร อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาพการตลาดใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ผลสำรวจพบว่ามีผู้ให้การบริการจำนวนมากที่ยังมีปัญหาไม่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้” รีเบ็กก้า พรูฮอม รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น แอมด็อคส์ กล่าว “การสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ให้การบริการที่ลงทุนแก้ปัญหาด้านการปฏิบัติงานสามารถลดระยะเวลาเตรียมผลิตภัณฑ์ให้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อประสบการณ์ของลูกค้า และสร้างผลดีให้กับธุรกิจในวงกว้าง”
การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยทำการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพกับผู้บริหารระดับสูง จำนวน 125 คนของบริษัทผู้ให้การบริการด้านการสื่อสารไร้สาย 50 ราย ผู้ให้การบริการผ่านคู่สาย 50 ราย และผู้ให้การบริการด้านการสื่อสารผ่านสายเคเบิ้ล 25 รายในทวีปยุโรป ละตินอเมริกา อเมริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิค
______________________________
http://www.amdocs.com/News/Pages/Service%20Provider%20Survey.aspx, June 08, 2008
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
• อ่านข้อมูลการสำรวจฉบับสมบูรณ์ ได้จากเว็บไซต์ http://www.osstransformation.com/improve-your-time-to-market.aspx
• อัพเดทข่าวสารของแอมด็อคส์ ได้ที่เว็บไซต์บริษัทโดยคลิกที่นี่ website
• สมัครเข้าร่วม RSS Feed ของแอมด็อคส์และติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้บน Twitter, Facebook และ LinkedIn
เกี่ยวกับแอมด็อคส์ในเอเชีย แปซิฟิก
แอมด็อคส์ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มานานกว่า 12 ปี และมีสำนักงานกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค รวมถึงในเวียดนาม สิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลูกค้าของแอมด็อคส์ในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ VTN ในเวียดนาม Globe ในฟิลิปปินส์ China Mobile ในจีน Telstra ในออสเตรเลีย VSNL ในอินเดีย CSL ในฮ่องกง True Corporation ในไทย และ FarEasTone ในไต้หวัน เป็นต้น
เกี่ยวกับแอมด็อคส์
แอมด็อคส์เป็นผู้นำตลาดในด้านนวัตกรรมระบบจัดการประสบการณ์ลูกค้า (customer experience system) โดยบริษัทผสานระบบสนับสนุนธุรกิจและการดำเนินงาน แพลตฟอร์มการให้บริการ บริการที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพแล้ว และความชำนาญในอุตสาหกรรมเชิงลึก เพื่อให้ผู้ให้บริการโครงข่ายและลูกค้าของพวกเขาสามารถสื่อสารได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ผลิตภัณฑ์และบริการของแอมดอกซ์ช่วยให้ผู้ให้บริการโครงข่ายพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ สร้างความแตกต่างด้วยบริการที่ออกแบบเฉพาะตามความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน แอมด็อคส์เป็นบริษัทระดับโลกที่มรายได้ราว 3.0 พันล้านเหรียญสหรับในปีการเงิน 2010 มีพนักงานรวมกว่า 19,000 คน และให้บริการแก่ลูกค้าในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ Amdocs ที่ www.amdocs.com
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
ฤทัยวรรณ ศิลปาจารย์ และภาวัช อนุวงศ์
เวเบอร์ แชนด์วิค ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2343-6000 ต่อ 067 หรือ 062
อีเมล์ ruthaiwan@webershandwick.com หรือ bhawat@webershandwick.com