เนื้อหาวันที่ : 2011-04-20 12:05:47 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1853 views

คลังเผย 6 เดือนรัฐกู้เงินแล้วกว่าสองแสนล้าน

ก.คลัง เผยเดือนมี.ค. 54 กู้เงินชดเชยขาดดุล 2.4 หมื่นล้านรวมแล้วกว่าแสนล้านบาท 6 เดือนกู้สองแสนล้านบาท ทุ่มงบเดินหน้าแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งไปแล้วกว่าแสนล้านบาท

ก.คลัง เผยเดือนมี.ค. 54 กู้เงินชดเชยขาดดุล 2.4 หมื่นล้านรวมแล้วกว่าแสนล้านบาท 6 เดือนกู้สองแสนล้านบาท ทุ่มงบเดินหน้าแผนปฏิบัติการเข้มแข็งไปแล้วกว่าแสนล้านบาท

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมีนาคม 2554
และรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมีนาคม 2554 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดังนี้

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
1. การกู้เงินภาครัฐ
1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล
การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือนมีนาคม 2554
ในเดือนมีนาคม 2554 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 24,500 ล้านบาท

แผนภาพที่ 1 การกู้เงินของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554

ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำการกู้เงินรวม 226,544.67 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 113,604.58 ล้านบาท
2. การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 112,940.09 ล้านบาท

1.2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนมีนาคม 2554
ในเดือนมีนาคม 2554 รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ รวมกันทั้งสิ้น 4,123.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4,123.02 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 14,325.59 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2 และแผนภาพที่ 2 ตามลำดับ

ตารางที่ 2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ เดือน มี.ค. 54

แผนภาพที่ 2 การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554

2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ
2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนมีนาคม 2554
ในเดือนมีนาคม 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างพันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 3) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 39,836 ล้านบาท

ตารางที่ 3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลเดือน มี.ค. 2554

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 128,436 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ FIDF 3 จำนวน 73,836 ล้านบาท และโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 54,600 ล้านบาท

แผนภาพที่ 3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนมีนาคม 2554
ในเดือนมีนาคม 2554 รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศรวมกันเป็นเงิน 5,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้า 2,154 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา มีจำนวนรวม 19,912.77 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4 และแผนภาพที่ 4 ตามลำดับ

ตารางที่ 4 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ เดือน มี.ค. 54

แผนภาพที่ 4 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 6 เดือนที่ผ่าน

3. การชำระหนี้ภาครัฐ

ตารางที่ 5 การชำระหนี้ภาครัฐเดือน มี.ค. 2554

ในเดือนมีนาคม 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 22,197.85 ล้านบาท ดังนี้
- ชำระหนี้ในประเทศ 22,147.38 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 229.53 ล้านบาท ดอกเบี้ย 21,917.85 ล้านบาท
- ชำระหนี้ต่างประเทศ 50.47 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 41.21 ล้านบาท ดอกเบี้ย 9.07 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 0.19 ล้านบาท

แผนภาพที่ 5 การชำระหนี้ภาครัฐในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554

ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมรวม 69,912.19 ล้านบาท ดังรายละเอียดตามแผนภาพที่ 5 และ 6

แผนภาพที่ 6 สัดส่วนการชำระหนี้ภาครัฐในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554

ตารางที่ 6 รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

*หมายเหตุ: 1. ประมาณการ GDP ปี 2553 และ 2554 เท่ากับ 10,103.00 พันล้านบาท และ 10,840.50 พันล้านบาท ตามลำดับ (สศช. ณ 21 ก.พ. 2554)
2. สบน. ได้ปรับวิธีการคำนวณ GDP ในแต่ละเดือน เพื่อให้สัดส่วน Debt/GDP สะท้อนค่าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด โดยได้คำนวณ GDP ของเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดังนี้ [(GDP ปี 53/12)*10]+[(GDP ปี 54/12)*2] เท่ากับ 10,225.92 พันล้านบาท

3. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน

4. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน 23,999.90 ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคารสัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ. แจ้งวัฒนะ

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 มีจำนวน 4,257,383.08 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.63 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,988,172.17 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,077,979.32 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 160,649.08 ล้านบาท

และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 30,582.51 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 5,613.90 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เพิ่มขึ้น 3,698.74 ล้านบาท ในขณะที่ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน(รัฐบาลค้ำประกัน) หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 7,884.32 ล้านบาท 1,427.33 ล้านบาท และ 0.99 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะ มีดังนี้

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง
1.1 หนี้ในประเทศ
หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 4,813.90 ล้านบาท โดยที่สำคัญเกิดจาก
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 21,083.63 ล้านบาท
- การไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 16,000 ล้านบาท

1.2 หนี้ต่างประเทศ
หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลงจากเดือนก่อน 1,115.16 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.85 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 800.73 ล้านเยน หรือคิดเป็น 9.80 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 3.59 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยมีรายละเอียดหนี้ต่างประเทศที่รัฐบาลกู้โดยตรงในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 7

ตารางที่ 7 การเปลี่ยนแปลงของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามแผนภาพที่ 7

แผนภาพที่ 7 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ในประเทศ
2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,067.86 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการรถไฟแห่งแห่งประเทศไทยได้ไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 67.86 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 262.90 ล้านบาท โดยเกิดจากรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 262.90 ล้านบาท

2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 2,209.40 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.86 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 399.24 ล้านเยน หรือคิดเป็น 5.08 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 8

ตารางที่ 8 การเปลี่ยนแปลงของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามแผนภาพที่ 8

แผนภาพที่ 8 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 2,344.16 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.74 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินยูโรได้มีการไถ่ถอนประมาณ 8.89 ล้านยูโร หรือคิดเป็น 10.21 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 769.69 ล้านเยน หรือคิดเป็น 7.72 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ไม่ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 9

ตารางที่ 9 การเปลี่ยนแปลงของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน)

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามแผนภาพที่ 9

แผนภาพที่ 9 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลง 1,270.00 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาว 2,270 ล้านบาท

3.2 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อน 157.33 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.02 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 121.95 ล้านเยน หรือคิดเป็น 1.46 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 0.87 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 10

ตารางที่ 10 การเปลี่ยนแปลงของหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามแผนภาพที่ 10

แผนภาพที่ 10 หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 0.99 ล้านบาท เนื่องจาก การลดลงของหนี้สินหมุนเวียน

หนี้สาธารณะ จำนวน 4,257,383.08 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 358,878.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.43 และหนี้ในประเทศ 3,898,504.71 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.57 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็น หนี้ระยะยาว 4,206,414.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.80 และหนี้ระยะสั้น 50,968.65 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.20 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 11 และ 12 ตามลำดับ

ตารางที่ 11 สัดส่วนหนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ

ตารางที่ 12 สัดส่วนหนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น

ที่มา : กระทรวงการคลัง (www.mof.go.th)