เนื้อหาวันที่ : 2011-04-05 16:08:29 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1256 views

การตรวจค้นละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ตำรวจเข้าตรวจค้นละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในโรงงาน กิจการออกแบบ และ รับเหมาก่อสร้าง พบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงขึ้น

ตำรวจเข้าตรวจค้นละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในโรงงาน กิจการออกแบบ และ รับเหมาก่อสร้าง พบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงขึ้น

เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมผลิตสินค้า อุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดให้อยู่ในกลุ่มที่พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงจากสถิติที่ผ่านมา

องค์กรธุรกิจที่ถูกตรวจค้นในครั้งนี้ประกอบด้วยบริษัทรับเหมาก่อสร้าง พบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 47 เครื่อง และโรงงานสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหลายสิบเครื่อง คิดเป็นมูลค่า 378,000 บาท

องค์กรธุรกิจที่ถูกตรวจค้นนี้ มีรายรับเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 266.5 ล้านบาท ตามรายงานที่ปรากฏต่อสาธารณะ จากสถิติของกองบังคับการปราบปรามและการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.     ปอศ.) โรงงานผลิตสินค้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่พบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุด ตามด้วยอุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมก่อสร้างและออกแบบ โดยในปีพ.ศ. 2553 อุตสาหกรรมโรงงานผลิตสินค้ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 179.5 ล้านบาท                                                                                                                                   

“ตำรวจกำลังเร่งตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์” นางสาว วารุณี  รัชตพัฒนากุล โฆษกของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์กล่าว “เราเริ่มเห็นการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมโรงงานผลิตสินค้า อุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง  ตลอดจนกิจการอื่นๆ ด้วย นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม และเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวกับนวัตกรรมที่สร้างธุรกิจให้เติบโตจากทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง

นวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา คือ รากฐานสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งใช้นวัตกรรมเป็นตัวผลักดัน หรือสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน รวมถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของกิจการ และการจ้างงาน

“แม้ว่าอาจมีเสียงบ่นบ้างในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ความเป็นจริงคือซอฟต์แวร์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ลองคิดดูว่าในแต่ละวันองค์กรธุรกิจใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ มากมายขนาดไหน แล้วจะบอกว่าองค์กรธุรกิจในประเทศไทยไม่พร้อมที่จะลงทุนในซอฟต์แวร์ได้อย่างไร ในเมื่อซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจมากกว่าสิ่งอื่นๆ องค์กรธุรกิจไม่อาจดำเนินกิจการได้หากปราศจากซอฟต์แวร์ ไม่มีข้ออ้างใดๆ เลยที่องค์กรธุรกิจจะหยิบยกมาเป็นเหตุผลในการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนได้”  
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจบก. ปอศ. กล่าวว่าอุตสาหกรรมที่มีสถิติการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง คือ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ก่อสร้าง ออกแบบ จัดจำหน่าย ขายสินค้า และสถาปนิก ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ากิจการของตนไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 

 ตั้งแต่ต้นปีนี้ ตำรวจเข้าตรวจค้นโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนเกือบ 20 แห่ง ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในการดำเนินกิจการ

ในปีพ.ศ. 2553 ก็เช่นเดียวกัน โรงงานอุตสาหกกรมจำนวนเกือบ 50 แห่ง ถูกสอบสวนและถูกตรวจค้นในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ กิจการด้านออกแบบเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มาก ในปีพ.ศ. 2553 บริษัทออกแบบและสถาปนิกกว่า 40 แห่ง ถูกสอบสวนและถูกตรวจค้นในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ย้ำว่า องค์กรธุรกิจคือเป้าหมายหลักของการตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ผู้ที่แจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านทางสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 0-2714-1010 หรือผ่านทาง เว็บไซต์ มีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้แจ้งจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.stop.in.th

เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) มีสมาชิกที่ประกอบด้วยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการอีคอมเมิร์ส  สมาชิก  บีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, แอปเปิ้ล, อควาโฟล, เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิค เทคโนโลยี, ออโต้เดสค์, เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี/มาสเตอร์แคม คอเรล,  แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, เมนทอร์ กราฟฟิกส์ ครอป, ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ, เน็ดกราฟฟิกส์, ออร์โบเทค, พีทีซี, โปรเกรส ซอฟต์แวร์, เควสท์ ซอฟต์แวร์, โรเซ็ตต้า สโตน, ซีเมนส์,  ไซเบส, ไซแมนเทค, เทคล่า, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส  และ เดอะ แมธเวิร์กส์