ก.คมนาคมโบ้ยให้ "ฉลองภพ" เจ้ากระทรวงคลัง แจง ครม. เอง กรณีปรับลดแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าจาก 5 สาย เหลือ 12 สาย ชี้ไม่ควรออกมาพูดทำให้สังคมเกิดความสับสน ส่วนธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว
กระทรวงคมนาคมโบ้ยให้ "ฉลองภพ" เจ้ากระทรวงคลัง แจง ครม. เอง กรณีปรับลดแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าจาก 5 สาย เหลือ 1 – 2 สาย ชี้ไม่ควรออกมาพูดเพราะทำให้สังคมเกิดความสับสน ส่วนธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ขอปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว |
ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ขอปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สายเท่าตัว จาก 0.75 % เป็น 1.5 % ต่อปี อ้างเป็นโครงการที่ไม่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ประเมินเงินกู้รอบสุดท้ายเดือนมีนาคมนี้ ขณะที่คลังยอมรับเงื่อนไขแม้ดอกเบี้ยเพิ่ม แต่อัตรายังต่ำเมื่อเทียบกับเงินกู้จากสถาบันการเงินอื่นสามารถเลือกผู้รับเหมาและผู้จัดซื้อเครื่องมือจากประเทศอื่นได้ |
รายงานข่าว เปิดเผยว่า เจบิค ได้แจ้งมายังกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการปล่อยกู้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจำนวน 3 สาย คือ สายสีแดง สายสีม่วง และสีน้ำเงิน ซึ่งกระทรวงการคลังได้ยื่นขอกู้ก่อนหน้านี้ โดยเปลี่ยนแปลงในส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่จัดเก็บ กล่าวคือ จะจัดเก็บไว้ในอัตรา 1.5% ต่อปี จากเดิม 0.75 % โดยให้เหตุผลว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่รัฐบาลมีแผนการจะก่อสร้างนั้นไม่ได้เป็นโครงการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว |
เจบิค ได้แจ้งเราด้วยวาจาว่า คงไม่สามารถให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อีก เนื่องจากขณะนี้ เจบิค ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการการปล่อยเงินกู้สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับทุกประเทศที่มีการปล่อยเงินกู้ในโครงการดังกล่าวหมดแล้ว โดยเห็นว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ไม่ได้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ได้ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมเช่นโครงการอื่น จึงไดแจ้งเพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของเงินกู้ดังกล่าว แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าว |
แม้อัตราดอกเบี้ยที่เจบิคคิดในอัตรา 1.5 % ต่อปี จะสูงกว่าเดิมถึง 1 เท่า แต่ก็ยังถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินอื่น โดยธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลก จะคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับโครงการเงินกู้ประเภทนี้ ในอัตรา 5 - 6 % ต่อปี ดังนั้นหากเจบิคจะคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าว จึงถือว่าเป็นอัตราที่รับได้ |
นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในระดับ 1.5 % ต่อปี เป็นเงื่อนไขที่ทางการไทยสามารถเลือกผู้ก่อสร้างโครงการ จัดซื้อเครื่องมือและว่าจ้างแรงงานที่เป็นของประเทศอื่น ๆ ได้ ขณะที่เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยที่ 0.75 % ต่อปี เป็นเงื่อนไขที่ไทยต้องใช่ผู้ก่อสร้างโครงการ เครื่องมือเครื่องจักร และการจ้างแรงงานที่มาจ้างประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น |
สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินกู้และดอกเบี้ยนั้น ทางเจบิคจะคิดอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่ที่เริ่มเบิกเงินเพื่อใช้ในโครงการ โดยหากเบิกจ่ายไปเท่าไรก็จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยในวงเงินที่เบิกจ่ายและระหว่างที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย ก็จะไม่คิดค่าธรรมเนียม ขณะที่สถานบันการเงินอื่น แม้จะมีการเซ็นสัญญาเงินกู้ไปแล้ว แต่หากว่ายังไม่มีการเบิกเงินกู้ก็จะถูกคิดค่าธรรมเนียมจากวงเงินกู้ทั้งหมด |
ขณะเดียวกัน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า จะไม่สามารถเบิกเงินกู้ได้ทันทีที่มีการเซ็นสัญญา เนื่องจากรัฐบาลต้องใช้เวลาในการเวนคืนที่ดินบริเวณที่จะมีการก่อสร้าง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งจะทำให้โครงการที่มีแผนก่อสร้างต้องเลื่อนออกไปตามระยะเวลาเวนคืนที่ดิน สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินต้นเท่านั้น ทางเจบิคได้ยกเว้นให้เป็นเวลา 7 ปี อัตราดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละปีก็ไม่สูงมากนักหรอก เพราะเราจะแบ่งการเบิกจ่ายเป็นงวด ๆ และชำระก็จะไม่เป็นภาระกับงบประมาณ เพราะตามแผนเราจะนำกำไรจากผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องมชำระหนี้คืนโดยโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นโครงการที่สร้างรายได้ ฉะนั้นเมื่อมีรายได้ ก็จะนำมาชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ทั้งนี้ ระยะเวลาการกู้เงินทั้งหมดคือ 25 ปี โดยวงเงินที่จะขอกู้เบื้องต้นสำหรับก่อสร้างในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 3 สาย จะอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสายละ 1 หมื่นล้านบาท |
ทั้งนี้ ขณะนี้ รัฐบาลได้กำหนดระยะเวลาในการเปิดให้นักลงทุนเข้าประมูล เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย เรียบร้อยแล้ว โดยรถไฟฟ้าสายแรก 5 สาย จะสามารถประกวดราคาได้เดือนมีนาคมปีนี้ โดยรถไฟฟ้าสายแรก คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง คือ เส้นทาง รังสิต – บางซื่อ – ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร วงเงินค่าก่อสร้างที่ตั้งไว้ 53,985 ล้านบาท โดยช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน จะเริ่มประกวดราคาในเดือนมีนาคมนี้ และช่วงบางซื่อ – รังสิต จะเริ่มประกวดราคาในเดือนพฤษภาคมนี้ สำหรับสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จะเริ่มประกวดราคาในเดือนพฤษภาคมนี้ |
โดยสารสีน้ำเงิน เป็นช่วงเป็นส่วนต่อขยายบางซื่อ – ท่าพระ – บางแค และหัวลำโพง – ท่าพระ รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างที่ตั้งไว้ 52 ,851 ล้านบาท และสายสีม่วง เป็นช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างที่ตั้งไว้ 29,160 ล้านบาท ส่วนสายสีเขียว ซึ่งมีสองเส้นทาง คือ เขียวเข้ม ช่วงรังสิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 14,737 ล้านบาท และเขียวอ่อนช่วงสะพานแบริ่ง ( อ่อนนุช ) – สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 14 , 939 ล้านบาท จะเริ่มประกวดราคาในเดือนตุลาคมนี้ ในแง่รูปแบบการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าทั้งห้าสายดังกล่าว รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนสร้างโครงการทั้งหมดส่วนการบริการเดินรถ จะว่าจ้างให้เอกชนที่มีประสบการเข้ามาเสนอตัวให้บริการ จะไม่เป็นลักษณะการให้สัปทานเดินรถไฟฟ้ามหานคร หรือ รฟม. ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย |