ลดความผิดพลาด เพิ่มความแม่นยำ และลดต้นทุนด้านบุคลากรที่ไม่จำเป็น
|
. |
ภาณุมาศ ศรีศุข |
กรรมการผู้จัดการ |
บริษัท ซีเมนต์ไทยโลจิสติกส์ จำกัด |
. |
RFID (Radio Frequency Identification) นวัตกรรมเด่นแห่งปี 2007 ที่หลายองค์กรกำลังจับตาและอาจจะนำมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ แต่ที่ซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ได้นำอาร์เอฟไอดีมาใช้ในการจัดการระบบขนส่ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความผิดพลาด ลดการรอคอย และเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน ลดต้นทุนด้านบุคลากรที่ไม่จำเป็น รายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ |
. |
รู้จักซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ |
บริษัท ซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ จำกัด หนึ่งในผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ของประเทศไทย และเป็นหนึ่งบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย ที่มุ่งมั่นเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ล่าสุดประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำเอาเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี มาใช้ในการจัดการรถบรรทุกของซัพพลายเออร์ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเอกสารจำนวนมากและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง |
. |
ภาณุมาศ ศรีศุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของบริษัทซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ เกิดขึ้นในปี 1997 ครั้งที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ครั้งนั้นเราเป็นหน่วยงานปฏิบัติการของเครือซิเมนต์ไทย เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็มีการคุยกันเรื่องประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้สามารถ วัดผลได้ชัดเจน หน่วยปฏิบัติการขนส่งจึงได้แยกตัวออกมาจากบริษัทแม่ออกมาตั้งเป็นซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ เพื่อให้บริการขนส่งสินค้าให้บริษัทในเครือ รวมถึงบริษัททั่วไปด้วย |
. |
.. |
เดิมทีบริษัทได้มีพันธสัญญากับผู้รับเหมาซึ่งได้ออกรถบรรทุก เรือ จำนวนมาก ทำให้บริษัทฯ ต้องหาวิธีบริหารจัดการสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้รับเหมา เพราะฉะนั้น บริษัทซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ จึงมีนโยบายที่จะไม่มีรถและเรือ เพื่อไม่ไปแข่งกับผู้รับเหมา แต่จะทำหน้าที่บริหารรถ บริหารเส้นทาง ให้ผู้รับเหมา โดยอาศัยเทคโนโลยีไอทีเข้ามาช่วย เพราะผู้รับเหมารายใหญ่ของเราที่มีรถจำนวนมาก ยังไม่สามารถลงทุนระบบไอทีขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งเครือข่ายลูกค้าที่ใช้บริการของซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์มีมากพอที่จะป้อนงานให้กับผู้รับเหมาจำนวนหลายร้อยรายได้ |
. |
โดยเริ่มแรกเราใช้ระบบ Transportation Management System บริหารรอบการเดินรถ มีการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตำแหน่งรถบรรทุกหรือจีพีเอส(GPS: Global Positioning System) เพื่อความปลอดภัยและทราบตำแหน่งของรถทุกคันว่าอยู่ตำแหน่งไหน การบริหารผู้รับเหมาแบบนี้จะช่วยลดความผิดพลาดได้มาก ส่งผลให้ภายในห้าปี เราสามารถทำรายได้จาก 1,700 ล้านบาท มาเป็น 7,000 ล้านบาท โตค่อนข้างต่อเนื่อง และจากนี้ต่อไป เราจะทำอะไร เมื่อจำนวนลูกค้ามากขึ้น จำนวนรถเยอะขึ้น เราก็ได้พบกับปัญหาว่า การที่เรามีระบบจีพีเอส เพื่อดูรอบรถให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เราติดที่รถขนปูนทุกคัน แต่เราพบปัญหาว่า รถมาถึงที่หมายพร้อมกันและมารอคิวอยู่ที่โรงงาน เหมือนกับไม่ได้บริหาร เรามีจีพีเอสแต่ไม่สามารถจัดคิวการเข้ามาของรถได้ แต่สามารถดูตำแหน่งรถได้ว่าอยู่ที่ไหน บริหารจัดการคนขับรถได้ว่าขับเร็วขับช้าเพียงใด |
. |
เมื่อเราทราบปัญหาของเราแล้ว จึงมาค้นหาดูว่ามีเครื่องมืออะไรที่จะสามารถระบุสินค้าในรถได้ น้ำหนักของสินค้า และจุดมุ่งหมายปลายทางที่จะไป รวมถึงสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาออกบิลเพื่อจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับเหมาได้ทันทีโดยไม่ต้องมากรอกข้อมูลด้วยวิธีแมนวลอีก คำตอบที่เราได้คือ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลและอ่านข้อมูลได้ระยะไกล รวดเร็ว เดิมผู้เชี่ยวชาญบอกว่าส่วนใหญ่ใช้ติดที่พาเลต ไม่นิยมติดที่รถบรรทุก แต่เราก็คิดว่าน่าจะทำได้ก็เลยทดลองดู |
. |
. |
กระบวนการก่อนติดตั้งอาร์เอฟไอดี |
เดิมกระบวนการขนส่งสินค้าลิกไนต์จากเหมืองมาสู่ปลายทางที่ เขาวง(KW) แก่งคอย(KK)และท่าหลวง(TL) เดือนละ4,000 เที่ยว กว่าแสนตันทุกวัน เราทำด้วยวิธีแมนวลหมด เวลาเราออกเอกสารให้ผู้รับเหมา ว่างเมื่อไรก็ไปขน เราจะไม่รู้เลยว่าผู้รับเหมาจะไปขนเมื่อไร พอสินค้ามาถึงหน้าโรงงาน ทางโรงงานจะรับเอกสารแล้วคีย์เข้าระบบ ต้องใช้เวลานานและมีโอกาสผิดพลาด เช่น รถหนักเท่าไร รถเบาเท่าไร นำมาหักกลบลบหนี้กัน เวลาจะทำบัญชีก็จะช้า ต้องมานั่งตรวจสอบข้อมูลกัน |
. |
เมื่อเจอปัญหาดังกล่าว ทีมงานก็มานั่งทบทวนดูว่า โรงงานต้องการอะไร แน่นอนว่าเราไม่ต้องการมาตรวจเอกสารเยอะๆ ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลมันอยู่ที่ตาชั่งโรงงานอยู่แล้ว เพราะรถหนักเข้าไป รถเบาออกมา หักลบกันก็เป็นสินค้าที่บรรทุกมานั่นเอง ซึ่งก็รู้อยู่แล้ว ทำอย่างไรให้ทุกอย่างเข้ามาอยู่ในระบบหมด เรามานั่งคุยกัน จะใช้จีพีเอสไหม จีพีเอสมันไม่ได้ทำอะไรเพียงแต่บอกตำแหน่งเท่านั้น เราก็มามอง RFID เขาบอกว่าไม่ใช้ที่รถ ใช้ที่พาเลต เราบอกว่าไม่เป็นไร เราลองมาออกแบบกันดู |
. |
. |
ภายหลังการติดตั้งอาร์เอฟไอดี |
เราเอาอาร์เอฟไอดีไปติดที่รถ(Active RFID) มีตัวอ่านที่เหมือง พอวิ่งผ่านก็บอกได้ว่ารถเบาเท่าไร พอออกมาก็อ่านอีกที ซึ่งจริงๆ แล้วไม่จำเป็น เพราะการจ่ายเงินจะจ่ายที่ปลายทาง เพียงแต่ทำให้สบายใจว่ามีการรับของมาเท่าไร ไปส่งก็ต้องเท่ากัน จริงๆ แล้วเราจะติดตัวอ่านไว้ก่อนทางเข้าเหมือง 3- |
. |
เดิมโรงงานต้นทางไม่ได้บริหารจัดการเลย พอลงมาถึงปลายทาง โรงงานเราได้แก่ แก่งคอย เขาวง ท่าหลวง เนื่องจากไม่ได้บริหารจัดการ พอมาถึงเขาวง ก็บอกว่าเต็มแล้ว ถ้าอยากได้ก็ไปแก่งคอย ก็ต้องวิ่งไป พอไปถึงบอกว่าเต็มแล้ว ไม่อยากได้แล้ว ทำให้เสียเวลาและยิ่งกว่านั้นเสียน้ำมันมากด้วย วิธีการแก้ปัญหาเราทำอย่างนี้ เราแจกบัตรคิวให้ที่ต้นทาง แต่ไม่รู้ปลายทางไปที่ไหน รู้เพียงแต่มีจุดหมายเดียวคือนครสวรรค์ (hub) พอมาถึงแล้ว ถึงจะรู้ว่าไปทางไหนต่อ ซึ่งเป็นจุดที่ห่างจากโรงงานปลายทางเพียง |
. |
พอมาถึงนครสวรรค์จะมีตัวอ่านอีกตัว เพื่อบอกว่าให้ไปที่ไหนต่อ และยังป้องกันการไปผิดโรงงานอีกด้วย เพราะถ้าไปผิดมันจะแสดงสถานะเป็นสีแดง เข้าไปก็ทำอะไรไม่ได้เพราะสัญญาณมันไม่ Flow ถ้าไปถูกโรงงาน ก็ไปผ่านเครื่องชั่ง หลังจากนั้นไปเทกอง เสร็จชั่งรถเปล่า ก็จะได้น้ำหนักที่ถูกต้อง จากนั้นข้อมูลก็จะส่งเข้าระบบคอมพิวเตอร์ SAP ของบริษัททันที งานเอกสารต่างๆ ไม่ต้องมี ลดคนต้องส่วนงานเอกสารได้มากเลย ความสูญเสียที่ไปโรงงานแล้วไม่รับ เสียเวลาเป็นวัน ก็จะหมดไป เพราะทุกคันที่ไปถึงก็จะพอดี ทุกรายก็เข้าสู่ระบบทั้งหมดเอกสารก็ไม่ต้องมี |
. |
แนวคิดในการตัดสินใจลงทุน |
เวลาในการพิจารณาไม่นาน เพราะเราทราบปัญหาของเราคือ ต้องการแก้ไขเรื่องเอกสาร ให้หมดไป แต่จีพีเอสแก้ไขไม่ได้ เราได้มาพบโซลูชั่นตรงนี้ ว่าทำได้ ก็เลยตัดสินใจได้เร็ว ทำอย่างไรให้การควบคุมรถทั้งหมดมาอยู่ที่เรา ผู้รับเหมาของเราได้ดีด้วย เราจึงมองว่าจีพีเอสไม่ใช่ทูล แต่เป็นอาร์เอฟไอดี การตัดสินใจก็ในที่ประชุมแต่เรานำมาวิเคราะห์ว่ามันเป็นไปได้ขนาดไหน ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อหาจุดอ่อนต่างๆ ที่อาจจะเกิด แล้วจึงตัดสินใจอิมพีเมนต์จริงๆ แล้วต้องทำช่วง pilot รวมเวลาราว 3 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าของเราเวิร์กจริง และที่สำคัญเราต้องเชื่อมต่อกับระบบ SAP ของเดิมด้วย ระหว่างโรงงานจะมีระบบของเขา cedar ตอนนี้คือติดตั้งทั้งหมด รอบรถก็ดีขึ้น จากเดิม 6-7 วันรอบ มาเป็น 4 วันรอบ การลงทุนส่วนใหญ่ระบบซอฟต์แวร์เป็นแบบเช่าใช้ เพื่อให้เกิดการอัพเดตตลอด และให้มีการคิดร่วมกับซอฟต์แวร์โพรวายเดอร์ เมื่อรวมกับฮาร์ดแวร์ลงทุนราว ๆ 3 ล้านบาท |
มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น |
ถ้าถามว่าช่วงติดตั้งมีปัญหาอะไร เรื่องที่ยากที่สุดคิดว่าอยู่ที่ business process และการบริหารความเปลี่ยนแปลง(change management ) เพราะเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ต้องชี้แจ้งว่า เราสร้างคุณค่าอย่างไรให้กับผู้รับเหมา และลูกค้าของเรา |
. |
สำหรับซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ ก็ได้ในเรื่องของความถูกต้องของข้อมูล รวดเร็ว ไม่ต้องใช้คนในส่วนนี้มาก ผู้รับเหมาได้ส่วนของการทำรอบได้ดีขึ้น โดยเราจะสร้างโมเดลให้เขาทดลองก่อน เพื่อให้เขาเชื่อว่ากระบวนการนี้ถูกต้อง |
. |
เริ่มแรกผู้รับเหมาบางราย อาจมองว่า ทางปูนซิเมนต์อยากรู้ทุกอิริยาบถของเขาเลยหรือ ซึ่งเขาคิดว่าไม่อิสระ แต่จริง ๆ แล้วเขาจะมีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น ดังนั้น เรื่องยากที่สุดคือ change management ที่จะทำอย่างไร ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นคุณประโยชน์ร่วมกัน จริงๆ แล้วเรามาช่วยในการลิงค์ของเชน (chain) จากเดิมที่ผู้รับเหมาบริหารเองก็มาให้เราบริหารให้ เพราะระหว่างลูกค้ากับผู้รับเหมาไม่สามารถ |
. |
ตำแหน่งในการติดตั้ง RFID คือ ติดบริเวณหน้าคอนโซลของรถบรรทุกเลย ซึ่งใช้แบบแอกทีฟ ระยะการอ่านประมาณ 20- |
. |
การจ่ายงานจากนครสวรรค์ให้กับผู้ขับรถแต่ละคัน เราจะมีสลิปให้ว่าไปที่ไหน ส่วนการตรวจสอบยอดต่าง ๆ ก็สามารถ ถ้าตรวจเจอว่าไม่ยอมไปส่งของตามนัด ก็จะมีการเรียกมาคุยเพื่อทำความเข้าใจถึงผลงาน รวมถึงต้องชี้แจ้งเหตุผลว่าทำไมถึงไม่สามารถไปส่งได้ เพราะทางปูนจะมีการให้คะแนนผู้รับเหมา เป็นประจำทุกปี |
|
. |
ก้าวต่อไป |
ถ้าถามว่าทุกวันนี้มีผู้รับเหมาที่ไม่ผ่าน KPI เยอะไหม จริงๆ แล้วเราจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงเขา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบมากเกินไป และพยายามให้ผู้รับเหมาเห็นคุณค่าของระบบ แล้วก็พยายามไล่ KPI เขาขึ้นมา และมีการฝึกอบรมให้เขาด้วย |
. |
ลูกค้าภายนอกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย กระทิงแดง แอมเวย์ น้ำตาลมิตรผล ดัชมิลล์ เชลล์น้ำมันเครื่อง อนาคตเราจะก้าวไปสู่ consolidated และ multi drop multi pick ลูกค้าบางรายเราก็อาจเปลี่ยนแปลงวิธีการส่งไปบ้างเช่น เบทาโกร เดิมเขาขนทางรถยนต์ไปทางใต้ (ลพบุรีไปถึงหาดใหญ่) เราไปเปลี่ยนเขา เป็นทางเรือและรถ จากลพบุรีขนทางรถไปท่าเรืออยุธยา จากเรือส่งไปทางใต้ แล้วไปส่งที่โรงงานที่หาดใหญ่ เพื่อให้ต้นทุนลดลง |
. |
ประสิทธิภาพการขนส่งที่ดีขึ้น |
เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ค่าขนส่งของเราลดลงสักกี่เปอร์เซ็นต์ การเปรียบเทียบค่อนข้างลำบากเพราะน้ำมันขึ้นมาเยอะ ส่วนของเราจะดูที่ต้นทุนการบริหารและยอดขาย เมื่อยอดขายเราขนาดนี้และต้นทุนเราเท่านี้ ถ้าโรงงานมาทำเองก็ไม่ได้ต้นทุนต่ำเท่ากับเรา และในอนาคตเราจะลดต้นทุนลงมาเรื่อยๆ ต่อการขายครั้งหนึ่งเราจะต้องทำให้ต้นทุนการบริหารน้อยที่สุด |
. |
ดังนั้นเรื่องราคาเราคิดว่าของเราน่าจะเหมาะสมในตลาด สำหรับคุณภาพที่ดีและเวลาในการส่งที่ตรงเวลา เพราะบางอย่างต้นทุนไม่ใช้เรื่องการขนส่ง อาจจะเป็นเรื่องของสินค้าคงคลัง เช่นเราอาจจะเพิ่มต้นทุนขนส่งนิดหน่อย แต่ไปลดส่วนของต้นทุนสินค้าคงคลัง ภานุมาศกล่าว |
. |
ปี 2549 นี้ยอดขายเรา 7,800 ล้านบาท ปี2550 เราตั้งเป้าที่ 9,000 ล้านบาท ทีมงานทั้งหมดมี 310 คน ซัพพลายเออร์ใหญ่เล็กรวมกันราว 300 ราย ส่วนงานไหนที่ยุ่งยากเราพยายามนำไอทีเข้ามาช่วย |
. |
นอกจากนี้เรายังมีโรงเรียนสอนขับรถบริการด้วย และสอนในเรื่องมรรยาท และการพูดกับลูกค้าที่เอาของไปส่ง และต้องต่อเนื่องให้เขาด้วยการเปิดโรงเรียนสอนขับรถ เอาคนขับรถมาทำ safety driver ซึ่งได้รูปแบบมาจากเชลล์ อย่างขั้นต่ำสุด เราต้องให้ดูวีซีดีว่าเขาจะต้องทำตัวอย่างไร หลังจากนั้นก็ให้เข้าคอร์ส safety driver โดยมีอาจารย์จากภายนอกมาสอนให้ เพื่อให้รู้ว่าขับอย่างไรจึงจะปลอดภัย ต่อมาให้เข้าไปเรียนในโรงเรียน จากนั้นคนที่ขับดี 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ก็จะได้อบรมในขั้นสูงขึ้น และอีก 20 เปอร์เซ็นต์ จะได้รับการยกย่องว่าเป็น The best driver โดยเราจะมีรางวัลตอบแทนให้ด้วย |
. |
ภานุมาศกล่าวว่า พนักงานขับรถในวันนี้ อาจจะดูว่าถูกทอดทิ้งมากที่สุด เขาไม่มีอนาคต เราพยายามสร้างให้เขามีความก้าวหน้า คนที่ขับรถดี ในอนาคตก็จะไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเช่น ตอนนี้ไปทำวิทยุทางอีสาน เพื่อสร้างสังคมที่ดีให้แก่เขา สำหรับระบบต่าง ๆ เหล่านี้ ทางซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์จ่ายให้ทั้งหมด ทั้งในเรื่องของ RFID tags และ GPSผู้รับเหมาไม่ต้องจ่ายเลย แต่ในอนาคตพอผู้รับเหมาได้ประโยชน์มาก ๆ อาจจะมาพิจารณากันใหม่ เราไม่ห่วงเรื่องติดตั้ง แต่เราห่วงเรื่องการรักษาของที่ติดไปมากกว่า ถ้าเสียหายผู้รับเหมาต้องจ่ายเอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีปัญหานี้เลย เพราะคนขับจะทราบว่าทั้ง GPS และ RFID ติดตั้งไว้ตรงไหน ซึ่งผู้รับเหมาจะต้องดูแลคนขับ รถของเขาเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสีย-หายแก่ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งไป ภานุมาศกล่าว |
. |
นอกจากนี้เรายังจัดอบรมในเรื่องอื่น ๆ เช่นการทำ TQM และเรื่องของความปลอดภัย หรือการจัดซื้อเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) เราก็สามารถแนะนำ และช่วยผู้รับเหมาให้จัดสิ่งต่าง ๆ เรานี้เป็น ส่วนในเรื่องความปลอดภัยเรายังมีการทำแผนงานร่วมกับผู้รับเหมาด้วย ส่วนการดูแลรักษาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เราก็จะมีการมอนิเตอร์ตลอดว่า เกิดข้อผิดพลาดอะไรบ้าง แล้วนำมาแก้ไข เพราะตอนนี้ที่เหมืองเราจะไม่มีคนเลย ให้ระบบอ่านอัตโนมัติแล้วส่งข้อมูลผ่านทางอีเมล์เข้ามา ด้านความปลอดภัยจะเป็นของบริษัทบ้านปู จริงๆ เราจ่ายเงินปลายทาง เราสนใจแค่ใครจะไปทำความเสียหายตัวอ่าน RFID เท่านั้นเอง ซึ่งตอนนี้เราใส่กล่องป้องกันไว้อยู่แล้ว นอกจากนั้น เรายังมีแผนสำรองหากระบบเหล่านี้เสีย เราจะกลับมาใช้ระบบแมนวลได้อย่างไร เช่น คอมพิวเตอร์เสีย เราจะทำอย่างไรต่อ และเราจะป้อนข้อมูลกลับอย่างไร |
. |
การติดตั้ง RFID เราเลือกใช้บริษัท Identify ซึ่งการอิมพีเมนต์เราใช้คนรับผิดชอบเพียง 3 คน เท่านั้น ซึ่งน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะติดอาร์เอฟไอดีหรืออะไรก็แล้วแต่ ให้ดูว่าเราต้องการอะไรก่อน เพราะบางรายอาจจะตามเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจว่าเกิดประโยชน์คุ้มค่ากับองค์กรหรือไม่ บางทีติดแล้วไม่ได้ใช้ เพราะฉะนั้น อย่างแรกคือ ตอบโจทย์ให้ได้ก่อนว่าเราต้องการอะไร อย่างของซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์ โจทย์ของเราคือ document เยอะมาก |
. |
คำแนะนำส่งท้าย |
ในเรื่องของโลจิสติกส์สิ่งสำคัญคือ ต้นทุน ความเชื่อถือ/แม่นยำ และตรงต่อเวลา อย่างไรก็ดี หากส่งของตรงเวลาแต่แพงก็ไม่มีใครใช้ หรือส่งของมีคุณภาพบ้าง ไม่มีบ้างก็ไม่มีใครใช้ ของเสียหายระหว่างการขนส่งบ้าง สามเรื่องนี้สำคัญมากที่สุดกับโลจิสติกส์ เราต้องดูว่าอะไรมาตอบโจทย์ ซึ่งตรงนี้คือ RFID ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในเรื่องของคน เอกสาร ความแม่นยำ |
. |
ดังนั้น ก่อนติดตั้ง RFID ต้องหาปัญหาให้ได้ก่อน แล้วพิจารณาว่า RFID สามารถตอบโจทย์ได้หรือไม่ จากนั้นดูว่ากระบวนการเป็นไปได้ไหม แล้วค่อยไปเพิ่มส่วนของไอที บางครั้งเอาไอทีมาลง ไม่ได้ตอบ ถ้ากระบวนการไม่แม่น ซึ่งเราเห็นได้อยู่ทั่วไป ที่ลงไอทีแล้วล้มเหลว เราจะตามกระแสให้ทัน แต่จะเลือกอะไรมาใช้ต้องดูว่าเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ ปัญหาคนละปัญหา ก็จะใช้โซลูชั่นต่างกัน |
. |
เรื่องที่ยากที่สุดคิดว่าอยู่ที่ business process และการบริหารความเปลี่ยนแปลง(change management ) เพราะเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ต้องชี้แจ้งว่า เราสร้างคุณค่าอย่างไรให้กับผู้รับเหมา และลูกค้าของเรา |