Cleaner Technology หวังกระตุ้นผู้ประกอบการไทยพัฒนาศักยภาพการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน และลดของเสีย
สวทช. จัด โครงการเทคโนโลยีสะอาด หรือ Cleaner Technology นำร่องกลุ่มผู้ผลิตลำไยอบแห้ง หวังกระตุ้นผู้ประกอบการไทยพัฒนาศักยภาพการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด ด้าน ผอ.โครงการ iTAP ระบุ โครงการCT เป็นแนวทางช่วยผู้ประกอบการประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน และลดของเสีย ตั้งเป้าระยะเวลาโครงการ 3 ปี เริ่มแล้วตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงปี 2552 |
. |
ลำไย นอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย และมีแนวโน้มการส่งออกที่ดีแล้ว ผลิตภัณฑ์ ลำไยอบแห้ง ยังเป็นที่นิยมบริโภคในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดเฉพาะ จีน , ฮ่องกง ,ไต้หวัน รวมถึงเวียดนาม เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ไทยจะเป็นผู้ผลิตลำไยอบแห้งรายสำคัญ แต่ก็พบว่าประเทศคู่แข่งอย่างเช่น ไต้หวันมีการผลิตลำไยแห้งที่มีคุณภาพดีกว่าไทย เนื่องจากมีเทคนิคการผลิตที่ดีกว่าและสามารถจำหน่ายในราคาสูงได้ ขณะที่จีนมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกลำไยเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้ผลิตลำไยอบแห้งของไทยสามารถแข่งขันได้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัด โครงการเทคโนโลยีสะอาด หรือ Cleaner Technology (CT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และประหยัดพลังงานให้กับผู้ประกอบการแปรรูปลำไยอบแห้งในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือของไทย ขึ้นเป็นโครงการนำร่องมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 นี้ไปจนถึงปี 2552 |
. |
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า โครงการเทคโนโลยีสะอาด หรือ Cleaner Technology (CT) เป็นโครงการที่ดีช่วยผู้ประกอบประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนการผลิต และลดของเสียที่เกิดจากการใช้ที่ไม่เหมาะสม รวมถึงลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยทำให้วัตถุดิบแปรเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น และเปลี่ยนเป็นของเสียน้อยลง |
. |
. |
สถานการณ์ของโลกที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ประกอบกับเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตลำไยอบแห้งในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการลดการใช้ทรัพยากร และลดการใช้พลังงาน เนื่องจากการผลิตลำไยอบแห้ง ทั้งแบบอบทั้งเปลือก และอบเฉพาะเนื้อลำไย จะต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก หากสามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ จะช่วยลดต้นทุน และประหยัดการใช้พลังงานให้กับผู้ประกอบการได้ รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์มากขึ้น สวทช. จึงได้มอบหมายให้โครงการ iTAP ในฐานะหน่วยงานในสังกัดศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(TMC) ที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแก่อุตสาหกรรมไทยโดยตรงเป็นผู้ดูแลโครงการดังกล่าว โดยมีศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) ให้การสนับสนุนทางด้านผู้เชี่ยวชาญและทีมงาน ซึ่งโครงการเทคโนโลยีสะอาดนี้จะมีรูปแบบแตกต่างจากเดิมที่เป็นกิจการฝึกงานของนักศึกษา แต่สำหรับรูปแบบใหม่จะเป็นการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญและวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะเรื่องดังกล่าวเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการโดยตรง ผอ.โครงการ iTAP กล่าว |
. |
สำหรับแนวทางที่โครงการ iTAP จะเข้าไปให้การสนับสนุนดังกล่าว เริ่มตั้งแต่การจัดอบรมสัมมนา การให้ความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสะอาด , การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยวิเคราะห์และสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ และการสนับสนุนทางด้านค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสูงสุดไม่เกิน 70% ของงบประมาณโครงการทั้งหมด |
. |
. |
โดยภายในเดือนมีนาคมนี้ จะมีการจัดสัมมนาอีกครั้งให้กับกลุ่มผู้ผลิตลำไยอบแห้งเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเทคโนโลยีสะอาดมากขึ้น และคาดว่าจะขยายโครงการดังกล่าวไปยังคลัสเตอร์อื่นๆเพิ่มขึ้น อาทิ กลุ่มเซรามิกส์และกลุ่มสิ่งทอและฟอกย้อมซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญของเศรษฐกิจล้านนาต่อไป |
. |
ด้าน รศ.ดร.
|
. |
ที่มา : โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) |