ปิยสวัสดิ์ พลิกลิ้นยันไม่เลิกขายเบนซิน 95 แล้ว ระบุผู้ใช้รถยังกังวลใช้แก๊สโซฮอล์ไม่มีมาตรฐาน เตรียมจับมือผู้ค้ารับประกันคุณภาพแก๊สโซฮอล์ ขณะที่ผู้ใช้รถเก่าอีก 2-3 แสนคันใช้น้ำมันอื่นแทนไม่ได้ เผยนัดหารือโรงกลั่นน้ำมัน ผู้ค้าน้ำมัน โรงงานเอทานอล หาทางออก
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานยังไม่แผนจะยกเลิกการใช้เบนซิน 95 จนกว่าจะมีผู้ใช้แก๊สโซฮอล์ มากขึ้นกว่าปัจจุบันก่อน จึงจะตัดสินใจยกเลิกใช้เบนซิน 95 เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้รถจำนวนมากยังวิตกกับการเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ โดยเกรงว่าเติมเครื่องยนต์จะสะดุดหรือได้รับความเสียหายแม้จะเป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์หัวฉีด ซึ่งสามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ก็ตาม รวมทั้งรถเก่าที่ใช้เครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ที่ไม่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ ซึ่งจะกล่าวโทษคนกลุ่มนี้ไม่ได้ที่ไม่เปลี่ยนไปใช้แก๊สโซฮอล์ |
. |
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เตรียมแผนจะดำเนินการสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้รถในเดือนมีนาคมนี้ ที่สำคัญคือ ให้บริษัทน้ำมันรับรองคุณภาพเหมือน บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย ที่รับประกันผู้เติมน้ำมันแก็สโซฮอล์ ซึ่งขณะนี้หลายบริษัทพร้อมที่จะรับประกันเพิ่มเติมแล้ว เช่น ปตท. บางจาก เอสโซ่ ส่วนคาลเท็กซ์ อยู่ระหว่างการหารือ รวมถึงการให้กรมธุรกิจพลังงานดูแลในเรื่องการล้างถังเก็บน้ำมันในปั๊ม เพื่อให้รักษาคุณภาพของแก๊สโซฮอล์ นายปิยสวัสดิ์ กล่าว |
. |
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีรถยนต์เก่า 2-3 แสนคัน ที่ไม่สามารถใช้น้ำมันอื่นได้นอกจากเบนซิน 95 จะลดลง ขณะที่จำนวนรถยนต์ใหม่ที่สามารถเติมน้ำมันออกเทนต่ำกว่า 95 และใช้แก๊สโซฮอล์จะเริ่มเข้าแทนที่ ซึ่งกระทรวงพลังงานจะให้จะปั๊มจำหน่ายเบนซิน 95 ทั่วประเทศประมาณ 100 แห่ง เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้รถ |
. |
ปัจจุบันส่วนต่างของราคาน้ำมันเบนซิน 95 แพงกว่าแก๊สโซฮอล์ 91 ประมาณลิตรละ 3 บาท เชื่อว่าจะจูงใจประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น ส่วนยอดการผลิตเอทานอลของผู้ประกอบการที่เสนอกระทรวงพลังงานว่าค่อนข้างสูงนั้น จากที่ส่งวิศวกรไปตรวจพบว่าตัวเลขแตกต่างจากที่ผู้ใช้เสนอมา โดยกระทรวงพลังงาน จะนับเฉพาะปริมาณที่ผลิตเอทานอลของเอกชนที่ออกมาจากโรงงานจริง นายพรชัย กล่าว |
. |
นายปิยวงศ์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานรวมกับกระทรวงมหาดไทยพลังงานชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยวางแผนจะทำให้ครบ 80 ชุมชนภายในปีนี้ และตั้งเป้าประหยัดพลังงานจากโครงการนี้กว่า 1,600 ล้านบาทต่อปี เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดหาพลังงาน รวมทั้งวางแผนใช้พลังงานในท้องถิ่น ซึ่งโครงการนี้กระทรวงพลังงานใช้กลไกของสำนักงานพลังงานภูมิภาค 12 แห่ง ร่วมกับองค์การพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาเพื่อลงพื้นที่วางแผนพลังงาน |