PwC เผยซีอีโอในเอเชียแปซิฟิคมั่นใจเศรษฐกิจเอเชียรุ่ง หลังภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เชื่อเอเชียมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนนี้แน่นอน
PwC (พีดับเบิลยูซี) เผยผลสำรวจ CEO Survey ครั้งที่ 14 ซีอีโอในเอเชียแปซิฟิคมั่นใจเศรษฐกิจเอเชียรุ่ง หลังภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เชื่อเอเชียมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนนี้แน่นอน ชี้ควรให้ความสำคัญในประเด็นนวัตกรรมใหม่ บุคลากร
2 ปีหลังวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในขณะนี้ระดับความมั่นใจของซีอีโอทั่วโลกเกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจได้ดีดตัวกลับมาสู่ระดับช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2551 จากผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับประธานกรรมการบริหารทั่วโลกครั้งที่ 14 เกี่ยวกับความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของ PwC ประจำปี 2010
โดยซีอีโอในเอเชียที่มีระดับความมั่นใจ "มากที่สุด" เกี่ยวกับกำไรและรายได้ของตนใน 12 เดือนข้างหน้ามีอยู่ 54% ในขณะเดียวกันเมื่อเทียบอัตราส่วนกับซีอีโอทั้งหมดที่ตอบคำถามจากทั่วโลก พบว่าระดับความมั่นใจ "มากที่สุด" มีเพียง51% เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามระดับความมั่นใจของซีอีโอทั้งในเอเชียและทั่วโลกถือได้ว่าปรับระดับขึ้นจากปีก่อน โดยซีอีโอของเอเชียที่มีความมั่นใจในระดับ "มากที่สุด" มีเพียง40% และ48% ของซีอีโอทั่วโลก
ซีอีโอที่สามารถผ่านพ้นและเอาตัวรอดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดได้นั้น ต่างมองเห็นถึงโอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจแม้กระทั่งในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ นอกจากนั้นพวกเขายังตั้งใจที่จะหาประโยชน์จากสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และอุปสงค์ของลูกค้านับวันที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น" มร.เดนนิส เอ็ม เนลลี่ ประธานบริษัท PwC อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
ความมั่นใจของผู้บริหารระดับซีอีโอนั้นได้กระจายในทุกๆทวีป เพียงแต่ซีอีโอในเอเชียนั้นมีระดับความมั่นใจมากที่สุด ซึ่งนั้นรวมถึงผู้บริหารในประเทศอินเดีย จีน รวมทั้งผู้บริหารในประเทศไทยด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้บริหารในทวีปยุโรปตะวันตกที่มีมีระดับความมั่นใจน้อยที่สุด ในส่วนของทวีปเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 88 ของซีอีโอในอินเดียและร้อยละ 72 ของซีอีโอในจีน มีความมั่นใจนำประเทศอื่นๆเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งตรงกันข้ามกับซีอีโอในญี่ปุ่นที่มีเพียงร้อยละ 25 ที่มั่นใจในโอกาสทางธุรกิจของตน
จากการสำรวจยังพบว่า ทวีปเอเชียยังคงเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการลงทุนของบรรดาผู้บริหารจากทุกมุมโลก กว่า 90% ของ ซีอีโอทั่วโลกมุ่งที่จะขยายธุรกิจมาสู่ภูมิภาคเอเชียในอีก 1ปีข้างหน้า พวกเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าประเทศจีนเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าและมีความสำคัญกับธุรกิจของตนอย่างมาก และในอนาคตอันใกล้ประเทศอินเดียก็จะกลายเป็นตลาดสำคัญไม่แพ้ประเทศจีนเช่นกัน
จากการศึกษาพบว่าประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อันที่จริงในหนังสือที่ชื่อว่า "World in 2050" หรือ "โลกในปี 2050" ของ PwC ก็ได้ระบุเอาไว้ว่า ประเทศจีนจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจที่สามารถโค่นล้มประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาได้ภายในปี 2018 ซึ่งวัดจากปริมาณการจัดซื้อพลังงาน และประเทศอินเดียเองนั้นก็จะขึ้นนำมาเป็นอันดับ 2 ภายในปี 2050" นายประสัณห์ เชื้อพานิช ประธานกรรมการบริหาร PwC ประเทศไทย กล่าว
ในด้านกลยุทธ์การบริหารองค์กรนั้น สิ่งที่ซีอีโอมองว่าเป็นโอกาสสำหรับการเติบโตของธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้าคือ การพัฒนาในผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งการปกป้อง รักษาและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดจากกลุ่มลูกค้าเดิม อย่างไรก็ตามผลกระทบด้านบวกที่สะท้อนให้เห็นจากผลของความมั่นใจทางเศรษฐกิจของผู้บริหาร คือแผนการจ้างงาน โดยเฉพาะซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 62 % คิดว่าจะเพิ่มปริมาณการจ้างงานใน12เดือนข้างหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 13% คือ 49% ในปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพียง10%เท่านั้นที่คิดจะลดปริมาณการจ้างงานสำหรับปีนี้
จากแผนการจ้างงานดังกล่าว ได้เพิ่มอุณหภูมิและความตึงเครียดให้กับผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งพวกเขาให้ความสำคัญในเรื่องบุคลากรมาเป็นอันดับหนึ่งประจำปี 2511 ซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ระบุความท้าทายที่เกิดจากบุคลากรในช่วง 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพตรงกับความต้องการขององค์กร 63% การสูญเสียบุคลากรหลักที่สำคัญขององค์กรให้กับคู่แข่ง 47% และความยากลำบากในการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพตรงกับความต้องการขององค์กรจากระดับโลก 47%
จากผลการสำรวจ ผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังวางแผนเพื่อลงทุนเกี่ยวกับบุคลากรของตน โดยเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและไม่ใช่การลงทุนผ่านค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์พนักงานเป็นหลัก นอกจากนั้นยังพบว่าร้อยละ 65 ของผู้บริหารในภูมิภาคนี้ได้เริ่มดำเนินการสรรหาและว่าจ้างบุคลากรจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาปฏิบัติงานในหน้าที่สำคัญขององค์กร
ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารอีกร้อยละ 44 เริ่มขยายข้อจำกัดบางประการของบุคลากรให้กว้างมากขึ้น อาทิ การจ้างงานในผู้หญิงหรือผู้พิการแต่มีความสามารถและศักยภาพตรงกับที่องค์กรต้องการ และผู้บริหารอีกร้อยละ 49 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกบอกว่าได้ขยายเวลาเกษียณอายุงานให้ยาวขึ้น
89% ของซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงมีความกังวลใจในเรื่องทิศทางของเศรษฐกิจโลก โดยเกรงว่าหากสภาวะทางเศรษฐกิจยังคงมีความผันผวน ย่อมส่งผลกระทบต่อโอกาสในการเจริญเติบโตทางธุรกิจของตน นอกจากนั้นความไม่มีเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการเงินจากภาครัฐที่เข้ามามีบทบาทมากเกิน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัวที่จะมาฉุดรั้งอัตราการเจริญเติบโตของตนอีกด้วย
เกือบครึ่งของซีอีโอทั่วโลกบอกว่าภาคีระหว่างภาครัฐฯและเอกชนคือวิถีร่วมที่จะช่วยพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นซีอีโอทั่วโลก 47% ได้บอกว่าภาคีกับภาครัฐฯเป็นการผลิตและส่งเสริมเพื่อพัฒนาแรงงานป้อนภาคอุตสาหกรรมร่วมกัน 45%ของซีอีโอบอกกว่าการร่วมมือกับภาครัฐฯนั้นทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นผู้บริหารมากกว่า 60% มองว่าหากภาครัฐฯมีนโยบายในการลดหรือตัดงบประมาณในส่วนรายจ่ายสาธารณะหรือมีนโยบายในการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตช้าลง ซีอีโอทั่วโลกอีก 53% องค์กรของตนจะถูกการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเนื่องจากรัฐบาลกำลังดำเนินการในการบริหารกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากความกังวลใจในสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ซีอีโอได้ทำการค้นหากลยุทธ์หรือทำการปรับวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อรองรับกับปัจจัยดังกล่าว ผู้บริหารได้บอกกับเรา หากองค์กรใดก็ตามที่สามารถจับประเด็นปัญหาความท้าทายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ดึงดูดใจผู้บริโภคในตลาดที่ตนครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่แล้ว การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่องค์กรต้องการและรักษาบุคลากรเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กร รวมทั้งการสรรหาความร่วมมือจากคู่ค้าและทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาครัฐฯ องค์กรนั้นๆ ก็จะประสบความสำเร็จและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้เป็นอย่างดี? นายประสัณห์ ทิ้งท้าย