เนื้อหาวันที่ : 2011-02-10 10:28:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1558 views

โลกร้อน สภาพอากาศสุดขั้ว ข้อถกเถียงไม่รู้จบ

หากติดตามข่าวเกี่ยวกับสภาพอากาศที่สุดขั้วที่เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลก จะพบว่าแต่ละเหตุการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่น่าเสียดายที่มักจะมีการพูดวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาและมีคำถามเพียงระยะสั้น ๆ ในช่วงเกิดเหตุการณ์เท่านั้น

สภาพอากาศสุดขั้วและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: เราต้องถกเถียงกันไปอีกนานเท่าไหร่

Blogpost โดย ดร. พอล จอห์นสัน

เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วจะเกิดบ่อยขึ้นเมื่อโลกร้อนขึ้น

ใครก็ตามที่ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับสภาพอากาศสุดขั้วที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะมีความเข้าใจแต่ก็อาจจะปนความสับสนอยู่บ้างที่มีการพูดถึงความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่องต่างๆ เหล่านี้ ก็ดูจะมีน้ำหนักมากขึ้นทุกปี แต่ที่น่าเสียดายก็คือเป็นการพูดวนเวียนซ้ำๆอยู่อย่างเดิม มีแต่คำถามเพียงระยะสั้นๆในแต่ละช่วงที่เกิดเหตุการณ์โดยไม่คำนึงถึงสัญญาณอันตรายที่ใหญ่หลวงและน่ากลัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุทกภัยในออสเตรเลีย สื่อให้ความสนใจและทำข่าวอย่างมาก พูดถึงความเชื่อมโยงระหว่างลา นีน่า กับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ลา นีน่า เป็นเหตุการณ์ความหนาวเย็นรุนแรงที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและฝั่งตะวันออกในออสเตรเลีย (โดยเฉพาะทางออสเตรเลียตะวันออก) เหตุการณ์ลา นีน่า จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับสภาพฝน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าอุทกภัยที่รัฐควีนสแลนด์เป็นผลมาจากเหตุการณ์ลา นีน่าปีนี้ ซึ่งมีความรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

แต่สิ่งที่เรายังไม่แน่ใจนักก็คือ ระดับอันตรายระหว่างความรุนแรงของลา นีน่ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และในทำนองเดียวกัน เราก็ต้องหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างเหตุการณ์วิกฤตสภาพอากาศแต่ละเหตุการณ์ด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องรอไปเรื่อยๆจนเราสามารถเข้าใจถึงความเชื่อมโยงดังกล่าวอย่างถ่องก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการได้ สาเหตุและผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นในแต่ละเหตุการณ์ยากที่จะบอกได้อย่างชัดเจน

แต่เรารู้ว่ารูปแบบโดยรวมของเหตุการณ์ความรุนแรงและวิกฤตสภาพอากาศที่เราประสบในแต่ละปีนั้น มีความสอดคล้องกับการคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือผลกระทบจากโลกร้อนที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายแล้ว ถ้าเรายังคงรอพิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงให้แน่ชัดระหว่างเหตุการณ์วิกฤตอากาศกับโลกร้อน ในไม่ช้าเราก็จะเผชิญกับความสูญเสียที่ไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ถ้าตอนนี้เรายังไม่ถึงจุดๆนั้น

ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ เราต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นกับโลกเราแล้วในขณะนี้ และผลกระทบก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และก่อให้เกิดความสูญเสียในสังคมมากขึ้นด้วย ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่เราต้องเร่งดำเนินการในทุกหนทางที่จะทำให้เรามีโอกาสบรรเทาความถี่ของเหตุการณ์วิกฤตต่างๆลง แม้ว่าจะยังมีความไม่ชัดเจนถึงความเชื่อมโยงอยู่ก็ตาม

30 ตุลาคม 2549 พระภิกษุไทยเดินลุยน้ำที่ท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะบิณฑบาตรที่เกาะเกร็ด เกาะที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงต้นปีนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่า ประเทศไทยจะประสบกับสภาพอากาศสุดขั้วบ่อยครั้งขึ้น อันเป็นผลมาจากโลกร้อน

ในปี พ.ศ. 2545 เราได้ทำสารคดีเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์อุทกภัยในยุโรปตะวันออก หมอกควันที่รุนแรงในเอเชีย ภัยน้ำท่วมและภัยแล้งในอินเดียและจีน คลื่นความร้อนในแคนาดา สหรัฐฯ และออสเตรเลีย

เรื่องราวดังกล่าวได้อ้างถึงคำพูดของปิแอร์ เวลลิงกา (Pier Vellinga) ซึ่งเป็นนักอุตุนิยมวิทยาที่มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ว่า “อากาศที่ร้อนขึ้นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ในโลกนี้ มีไม่กี่แห่งที่จะรอดพ้นจากภัยจากสภาพอากาศสุดขั้วได้ เราสามารถพูดได้อย่างมั่นใจพอสมควรว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์นี้ กำลังส่งผลต่อความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว”

ในปี พ.ศ. 2546 เราได้พูดว่า “แม้จะไม่มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วซักครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การที่สภาพภูมิอากาศร้อนขึ้น ก็จะหมายถึงพายุที่มากขึ้น น้ำท่วมมากขึ้น และภัยแล้งรุนแรงขึ้น” เหตุการณ์คลื่นความร้อนและภัยแล้งในยุโรปปีนี้ ก็มีความสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ 2-3 ปีก่อนหน้านั้น ที่กล่าวว่า

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้อากาศร้อนขึ้นและมีฝนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้พืชเติบโตขึ้น แต่ก็จะตามมาด้วยความแห้งแล้งที่ ยาวนาน แล้วจะทำให้พืชตายลง” โดยมายน์ราต แอนเดรีย (Minerat Andreae) จากสถาบันเคมีแมกซ์ พลังค์ (Max Planck Institute for Chemistry) สิงหาคม ปี พ.ศ. 2544

ในปี พ.ศ. 2547 เราได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ที่กำลังกลายเป็นเหตุการณ์ปกติไปแล้วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ในปี พ.ศ. 2550 เราได้รวมรวบแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ที่คาดการณ์รูปแบบสภาพอากาศสุดขั้วและเปลี่ยน แปลงไป ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ฝนตกหนัก และ ภัยแล้งยาวนาน ในบางพื้นที่

นอกจากนี้ ยังมี การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้เผยแพร่ลงในวารสาร Journal ด้วย ซึ่งเป็นการศึกษาเปรียบเทียบฝนที่ตกตามที่ได้มีการบันทึกไว้กับที่มีการคาดการณ์จากแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็ได้ข้อสรุปว่า รูปแบบของสภาพอากาศสุดขั้วได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว

สำหรับผมแล้ว เวลากำลังจะหมดไปแล้ว เราสามารถพูดและถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างไม่รู้จบ แต่เหตุการณ์วิกฤตสภาพอากาศแต่ละครั้ง ไม่ว่าความรุนแรงนั้นจะเกี่ยวข้องกับโลกร้อนหรือไม่ อย่างไร ก็จะยิ่งย้ำเตือนถึงผลกระทบและความเสียหายด้านโครงสร้างและความสูญเสียต่อมนุษย์

อีกทั้งยังตอกย้ำให้เห็นถึงความสามารถที่มีอยู่อย่างจำกัดของเรา ทั้งๆที่เรามีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมากมายในการคาดการณ์ การบรรเทาเหตุการณ์ และการฟื้นฟู วิกฤตต่างๆเป็นเครื่องย้ำเตือนที่แสนจะเจ็บปวดถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต้องปฏิวัติพลังงาน (Energy Revolution) 

 


 

โดย ดร. พอล จอห์นสัน นักวิทยาศาสตร์หลัก แห่งสถาบันห้องค้นคว้าวิจัยกรีนพีซ มหาวิทยาลัยเอ็กเซ็ทเตอร์ และ หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์กรีนพีซสากล (Dr. Paul Johnston is principal scientist at the Greenpeace Research Laboratories at the University of Exeter and Head of the Greenpeace International Science Unit)

Image © Greenpeace / Vinai Dithajohn

แปลและเรียบเรียง สุรัจนา กาญจนไพโรจน์

 


 

ที่มา : กรีนพีซ