Minitab โปรแกรมสำเร็จรูปใช้ประมวลผลข้อมูลทางด้านสถิติ โดยพัฒนาจากกลุ่มนักวิชาการทางด้านสถิติมากว่า 30 ปี
คงปฎิเสธไม่ได้ถึงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุปันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในการทำงานเลยก็ว่าได้ ประกอบกับความรู้และทฤษฏีที่มีการประมวลที่ซับซ้อนมากขึ้น
Minitab ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทเพื่อช่วยให้งานวิเคราะห์และประมวลผลของเราสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เรามาเริ่มทำความ รู้จักโปรแกรม Minitab กันเลยดีกว่า
Minitab คืออะไร
Minitab เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปใช้ประมวลผลข้อมูลทางด้านสถิติ โดยพัฒนาจากกลุ่มนักวิชาการทางด้านสถิติมากว่า 30 ปีแล้ว โดยปัจจุบันได้พัฒนาปรับปรุงมาจนถึงเวอร์ชัน 16 ซึ่งสามารถใช้กับระบบปฎิบัติการวินโดวส์
โดย Minitab เข้ามามีบทบาทสำหรับผู้ใช้สถิติในส่วนของการประมวลผลและการแสดงผลข้อมูลในลักษณะของตัวเลขและผลในลักษณะของกราฟ ประกอบกับเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาและมีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน
ดังนั้น Minitab จึงถูกเลือกใช้ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการ คือ
1. ความซับซ้อนในการประมวลผล (Complexity)
2. ความเที่ยงตรงและแม่นยำในการประมวลผลข้อมูล (Accuracy)
3. ความรวดเร็วและความสามารถในการทำซ้ำ (Repeatability)
Minitab เป็นโปรแกรมที่มีความโดดเด่นในด้านการใช้งานที่ง่ายและมีการพัฒนาปรับปรุงฟังก์ชันต่างๆ ให้สอดคล้องกับความรู้และทฤษฏีใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ทางด้านสถิติโดยเฉพาะในงานด้านคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น Minitab จึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับกลุ่มผู้ที่พัฒนาปรับปรุงคุณภาพด้วยหลักการ “ซิกซ์ ซิกม่า” เนื่องจาก Minitab เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะจำเพาะกลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้เท่านั้น Minitab ยังเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้ใช้สถิติทั่วไป
ถึงแม้ว่าโปรแกรม Minitab จะเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การทำงานของเราสะดวกขึ้นมาก แต่ความรู้ความเข้าใจในการทำงานของโปรแกรมก็ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้เสมอ ในบทนี้จะขออธิบายภาพรวมและการทำงานของโปรแกรมโดยทั่วไป
ลักษณะหน้าตาโปรแกรม Minitab
ภาพรวมการใช้โปรแกรม Minitab
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม MINITAB
ขั้นตอนที่ 1* การเปิดโปรแกรมหรือเริ่มต้นเข้าสู่การทำงานบนแฟ้มงาน
ขั้นตอนที่ 2* ป้อนข้อมูลเข้าสู่เวิร์คชีท เนื่องจากโปรแกรม Minitab เป็นโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ดังนั้นเมื่อเราเปิดแฟ้มงานแล้วสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการใช้งานโปรแกรมคือ ข้อมูลซึ่งจะเป็นการป้อนจากแป้นพิมพ์ การนำข้อมูลจากฐานข้อมูลชนิดอื่น เช่น Excel, Access หรือ Text เป็นต้นหรือการเปิดจากไฟล์เวิร์คชีทของ Minitab ก็แล้วแต่ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้เอง
ขั้นตอนที่ 3 เป็นส่วนการจัดการข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สามารถข้ามไปยังขั้นตอนต่อไปได้ ถ้าหากว่าข้อมูลที่อยู่ในเวิร์คชีทมีความพร้อมและอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องสำหรับการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Minitab แต่ถ้าหากไม่เราจำเป็นต้องจัดการข้อมูลดังกล่าวก่อนอาจใช้ฟังก์ชันที่มีใน Minitab หรือการจัดการจากโปรแกรมอื่นก่อนนำเข้าสู่เวิร์คชีทใน Minitab ก็ได้แล้วแต่ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัญหาและประสบการณ์ในการจัดการข้อมูลของผู้ใช้งานโปรแกรม ตัวอย่างขั้นตอนนี้ คือ การรวมข้อมูล (Stack) การเปลี่ยนทิศทางการเรียงข้อมูล (Transpose Data) การคำนวณข้อมูล (Calculate) การสร้างชุดข้อมูลย่อย (Subset) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4* เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ทางสถิติโดยเราจะเลือกฟังก์ชันหรือตัวสถิติที่เราจะทำการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การออกแบบการทดลอง (DOE) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5 เป็นส่วนในรายละเอียดของการวิเคราะห์ใดๆที่เราเลือก โดยปกติแล้วถ้าเราใช้การตั้งค่าเริ่มต้นของโปรแกรม (Default) ซึ่งเป็นค่าที่มีการใช้ทั่วไปแล้ว เมื่อเราใส่ข้อมูลครบถ้วนตามที่โปรแกรมต้องการแล้ว เราสามารถข้าม
ขั้นตอนนี้ไปได้ แต่ในบางครั้งเราต้องการปรับเปลี่ยนค่าดังกล่าว เช่น ค่าความเชื่อมั่น 95% เป็น 99% การสั่งสร้างกราฟ หรือจะเป็นการสั่งให้โปรแกรมแสดงค่าหรือเก็บค่าใดๆที่เราต้องการ เป็นต้น
หมายเหตุ – ขั้นตอนที่ 6* เป็นการจัดการกับผลการประมวลผลที่โปรแกรม Minitab ดำเนินการให้ซึ่งจะออกมาใน 2 รูปแบบคือ ผลทางตัวเลขหรือตัวอักษรและกราฟ ตัวอย่างของการทำงานในขั้นตอนนี้ เช่น การสร้างรายงาน ตัดข้อมูลผิดปกติ การเปลี่ยนสีกราฟ เป็นต้น
จากขั้นตอนโดยรวมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ โดยปกติผู้ใช้งานสามารถที่จะทำซ้ำหรือการวนหรือย้อนกลับขั้นตอนต่างๆได้ตลอดเวลา ตราบใดที่เรากำลังทำงานบนแฟ้มงาน และขั้นตอนที่มีสัญลักษณ์ * จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นในการใช้งานโปรแกรม
ความสามารถด้านฟังก์ชั่นทางสถิติและกราฟ
- Basic Statistics เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานทางสถิติซึ่งประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณา (descriptive) และสถิติเชิงอนุมาน(inferential) เช่น การหาค่าพารามิเตอร์ทางสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย (mean), ค่าความแปรปรวน (variance), ค่าพิสัย (range) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชุดคำสั่งในการหาช่วงความเชื่อมั่นและการทดสอบสมมติฐาน (confidence interval และ hypothesis testing) โดยผลการคำนวณจะให้ทั้งผลลัพธ์บน Session และกราฟ
- Regression Analysis เป็นฟังก์ชั่นการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นได้ทั้งรูปแบบสมการเส้นตรง (linear) และสมการกำลัง (polynomial) หรือรูปแบบอื่นๆที่ต้องการ รวมถึงการเก็บค่าเศษเหลือ (residual) และกราฟประกอบการวิเคราะห์
- ANOVA เป็นฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยสามารถวิเคราะห์ปัจจัยตั้งแต่ 1 ปัจจัย (one-way) 2 ปัจจัย(two-way) หรือมากกว่า (genera) รวมถึงการแสดงผลกราฟปัจจัยอิทธิพลหลัก (main effect plot) และปัจจัยอิทธิพลร่วม (interaction effect plot) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- Statistical Quality Tools เป็นฟังก์ชั่นสนับสนุนงานทางด้านการวิเคราะห์ด้านคุณภาพ ประกอบด้วยหัวเรื่องหลัก 4 เรื่อง คือ Quality Tools สามารถทำการสร้างกราฟพาเรโต (pareto), รันชาร์ต(run chart) เป็นต้น ,Control Charts ชุดคำสั่งสร้างแผนภูมิควบคุมมากมายหลากหลายครอบคลุมข้อมูลทุกประเภท รวมถึงคำสั่งเพิ่มเติมช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลผิดปกติ,
Capability Analysis เป็นคำสั่งวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการโดยการนำเอาความผันแปรข้อมูลเทียบกับข้อกำหนด (specification) ซึ่งสามารถจัดการได้ทั้งกรณีข้อมูลเป็นปกติ (normal)หรือไม่ปกติ (non-normal) และ Measurement System เป็นคำสั่งวิเคราะห์และประเมินความสามารถกระบวนการวัด เช่น Stability Bias Linearity และ Gage R&R
- Design of Experiment เป็นชุดคำสั่งในการออกแบบการทดลองประกอบด้วย factorial, response surface, mixture และ taguchi สำหรับคำสั่งการออกแบบการทดลองในโปรแกรม Minitab จะช่วยเหลือตั้งแต่การออกแบบการทดลอง การจัดเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ผลที่ได้และกราฟประกอบการแปลผล รวมถึงการหาการตั้งค่าเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ (response optimizer)
- Reliability เป็นฟังก์ชั่นสำหรับวิเคราะห์ค่าความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์โดยอาศัยหลักกการทางสถิติ โดยมีฟังก์ชั่นช่วยในการหาฟังก์ชั่นความน่าจะเป็น (fit distribution) แบบต่างๆ และทำการวิเคราะห์ผ่านฟังก์ชั่นโดยอาศัยหลักการความน่าจะเป็น
- Power and Sample Size เป็นฟังก์ชั่นเพื่อช่วยในการหาขนาดทดสอบ (sample size) หรือความเชื่อมั่นในการทดสอบ (power) สำหรับการทดสอบสมมติฐานแต่ละแบบ
- Multivariate Analysis เป็นฟังก์ชั่นสำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวแปร เช่น คำสั่ง Principal Component, factor analysis, cluster analysis เป็นต้น
- Time Series and Forecasting เป็นฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ข้อมูลแปรผันตามเวลาเพื่อดูแนวโน้ม ลักษณะกราฟหรือทิศทาง เพื่อใช้ในการทำนาย
- Nonparametric เป็นฟังก์ชั่นการวิเคราะห์โดยไม่ใช้พารามิเตอร์
- Tables เป็นฟังก์ชั่นที่จัดการข้อมูลที่เป็นอยู่ในรูปแบบของตารางของข้อมูลนับจำนวนความถี่ พร้อมคำสั่งการวิเคราะห์ Chi-square
- Simulation and Distribution เป็นคำสั่งช่วยในการสุ่มชุดข้อมูลผ่านฟังก์ชั่นความน่าจะเป็น (distribution) เพื่อประโยชน์ในการทำการทดสอบโมเดลหรือการวิเคราะห์ที่ต้องการ
- EDA (explore data analysis) เป็นหมวดฟังก์ชั่นในการเประเมินข้อมูลเพื่อดูลักษณะการกระจายของข้อมูล เช่นคำสั่ง Stem-and leaf หรือ boxplot เป็นต้น
ถึงเวลาเรียนรู้ทางลัดของการใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์และประมวลผลสถิติ แบบคล่องตัว แม่นยำชัดเจน เพื่อลดต้นทุนเวลาในการทำงาน เพื่อให้ได้ประโยช์สูงสุดกับ Minitab16 กันแล้ว ในยุคการแข่งขันที่เร็วติดจรวดแบบนี้