เนื้อหาวันที่ : 2011-02-02 10:32:20 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 657 views

ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยบวก 10 จุด ครองแชมป์ออมเงินสูงสุดในโลก

นีลเส็น เผยไทยจัดเป็นชาติที่มีมุมมองแนวโน้มทางเศรษฐกิจเป็นเชิงบวกมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก พร้อมครองแชมป์ผู้ออมเงินสูงที่สุดในโลก

           นีลเส็นเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยบวก 10 จุด ในครึ่งปีหลังของปี 2553 ไทยจัดเป็นชาติที่มีมุมมองแนวโน้มทางเศรษฐกิจเป็นเชิงบวกมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ประเทศไทยครองแชมป์อันดับหนึ่ง ผู้ออมเงินสูงสุดจากทั่วโลก

          จากผลการสำรวจล่าสุดทางออนไลน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยเพิ่มสูงถึง 10 จุด ในสิ้นปีที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขดัชนีอยู่ที่ 102 เพิ่มขึ้นจากระดับที่ 92 จากการสำรวจในเดือนมิถุนายนปี 2553 ในทางกลับกัน ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกลดลง 4 จุด จาก 101 ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 เหลือ 97 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553

          ผลสำรวจของนีลเส็นได้จากผู้บริโภคผ่านอินเตอร์เน็ตกว่า 29,000คน ใน 52 ประเทศ โดยการสำรวจครั้งล่าสุดถูกจัดทำในเดือนพฤศจิกายน 2553 ผลการสำรวจทั่วโลกพบว่า ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงใน 25 ประเทศ จาก 52 ประเทศ ที่นีลเส็นทำการสำรวจ เนื่องจากความกังวลใจกับปัญหาการว่างงาน การสร้างอาชีพ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ ที่ลบล้างความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

          ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากระดับมาตรฐาน 100 บ่งชี้ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคว่าอยู่ในเชิงบวกหรือเชิงลบ โดยภาพรวมตลอดปี 2553 สำหรับประเทศไทยมีตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นในสิ้นปีอยู่ที่ 102 ซึ่งยังคงสูงเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี ขณะที่ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นจากทั่วโลกยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากในไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่90 และลดลง 2 จุด จาก 92 ในไตรมาสแรกของปี 2553

          คุณแอรอน ครอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย กล่าว “ในครึ่งปีหลังของปี 2553 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยที่แข็งแกร่ง ตลอดปีที่ผ่านมาผู้บริโภคชาวไทยพยายามที่จะฟื้นตัวจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และอุปสรรคจากภัยทางธรรมชาติ

หลังจากเผชิญหน้ากับความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของประเทศ พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคปรับคืนสู่ภาวะปกติอย่างเหมาะสม ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อความรู้สึกของผู้บริโภคชาวไทยให้เชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นใน 6 เดือนต่อมา คือการแข็งค่าของค่าเงินบาท ตลาดหุ้น และราคาทอง ที่ปรับตัวไปทางทิศทางที่ดี ”

ไทยจัดเป็นชาติที่มีมุมมองแนวโน้มทางเศรษฐกิจเป็นเชิงบวกมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
          ไทยเป็นหนึ่ง ใน 14 ประเทศ (จาก 52 ประเทศที่สำรวจ) ที่มีตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงถึง 100 หรือสูงกว่า ในสิ้นปี 2553 ในจำนวนนี้ 9 ประเทศมาจากเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ อินเดีย(131), ฟิลิปปินส์(120), นอร์เวย์(119), อินโดนีเชีย(116), ออสเตรเลีย(112), สวิตเซอร์แลนด์(110), สิงค์โปร์(109) บราซิล(108), มาเลเซีย(107), ซาอุดิอาระเบีย(107), เวียดนาม(103), สวีเดน(103), ไทย(102), และจีน(100) หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ประเทศที่มีตัวเลขดัชนีถึง100 จุด มีเพียงแค่ 11 ประเทศ

ผู้บริโภคชาวไทยมีมุมมองในเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อความคาดหวังด้านอาชีพ สถานภาพทางการเงิน และความสามารถในการใช้จ่าย
          ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่าประเทศยังคงอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ( เมื่อเทียบกับเจ็ดสิบหกเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2) สามสิบสี่เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคเหล่านี้เชื่อว่าประเทศจะรอดพ้นจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายใน 12 เดือน (ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ มีความคิดเห็นดังกล่าวในไตรมาสที่ 2) ดังนั้นจึงสะท้อนว่าผู้บริโภคมีมุมมองในเชิงบวกต่อด้านอาชีพ สถานภาพทางการเงินและความสามารถในการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในระหว่าง 6 เดือนหลังของปี กล่าวคือ

          มุมมองเชิงบวกต่อความคาดหวังด้านอาชีพเพิ่มสูงขึ้นถึง 14 จุด จากผลสำรวจผู้บริโภคชาวไทยกว่าสี่สิบแปดเปอร์เซ็นต์เชื่อว่าความคาดหวังต่อด้านอาชีพของพวกเขาในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ในระดับ “ดี หรือ ดีเยี่ยม” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสามสิบสี่เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 ขณะที่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ห้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์เมื่อจบปี 2553

          ความพอใจในสถานภาพทางการเงินเพิ่มขึ้น 6 จุด เห็นได้จากสัดส่วนของผู้บริโภคที่รู้สึกว่าสถานภาพทางการเงินของตนอยู่ในระดับดีเยี่ยมหรือดีเ พิ่มขึ้นจากห้าสิบเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 เป็นห้าสิบหกเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกคือห้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์

          ความสนใจในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแปดจุด ซึ่งเป็นผลมาจากความรู้สึกในเชิงบวกโดยรวมทั้งความคาดหวังต่ออาชีพและสถานภาพทางการเงิน สี่สิบหกเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภครู้สึกว่าเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการซื้อสิ่งของที่พวกเขาต้องการเมื่อเปรียบเทียบกับสามสิบแปดเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2

พบชาวไทยออมเงินมากที่สุดของโลก : 7 ใน 10 คน เก็บเงินเพื่อการออม
          ประเทศไทยติดรายชื่อประเทศที่มีผู้ออมเงินสูงสุดจากทั่วโลก เห็นได้จากเจ็ดสิบสามเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคระบุว่าพวกเขาจะเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินออมหลังจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เทียบกับเจ็ดสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ห้าสิบเก้าเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553

          นอกเหนือจากจากออมผู้บริโภคนิยมใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยว(43 เปอร์เซ็นต์) การซื้อสินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ (30 เปอร์เซ็นต์) และการปรับปรุงที่อยู่อาศัย (26 เปอร์เซ็นต์) มากที่สุด ตามลำดับ

          “การเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของสัดส่วนของผู้บริโภคที่เก็บออมเงินอาจจะหมายถึงสัญญานที่ผู้บริโภคคาดการณ์ถึงปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ยังคงมีอยู่เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวอย่างถาวรของภาวะเศรษฐกิจ” คุณแอรอนกล่าวเสริม

          แม้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวนมากขึ้นที่ระบุว่ามีความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการใช้จ่ายของพวกเขา แต่ผลสำรวจของนีลเส็นยังเปิดเผยว่าแปดสิบแปดเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายเพื่อประหยัดการใช้จ่ายในครัวเรือนระหว่างไตรมาสที่ 4 ปี 2553 เทียบกับแปดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 ผู้บริโภคชาวไทยระบุว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายในประเภทต่างๆต่อไปนี้ (เรียงตามเปอร์เซ็นต์ของการตอบ)