เนื้อหาวันที่ : 2011-01-24 14:55:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1060 views

ม.บูรพา มุ่งมั่นสู่การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการศึกษาภาคตะวันออก

มหาวิทยาลัยบูรพาใช้โซลูชัน Gigabits Convergence Communications ก้าวเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการศึกษาภาคตะวันออกของประเทศไทย

 

มหาวิทยาลัยบูรพาใช้โซลูชัน Gigabits Convergence Communications ก้าวเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการศึกษาภาคตะวันออกของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยบูรพาประกาศใช้โซลูชันคอนเวอร์เจนต์ด้านการสื่อสารความเร็วสูงระดับกิกาบิตจาก อัลคาเทล-ลูเซ่น ในการสร้างโครงข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีความเร็วและเสถียรภาพสูง เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการศึกษาภาคตะวันออกของประเทศไทย รองรับการให้บริการบรอดแบนด์, Collaboration และ e-Learning ให้กับอาจารย์, นิสิต, นักวิจัย บุคลากรและ ผู้บริหาร รวมทั้งสถาบันการศึกษาในจังหวัดชลบุรี และภาคตะวันออก

โดยมี ผศ.ดร. วิโรจน์ เรืองประเทืองสุข รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา, อาจารย์เสรี ชิโนดม รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา, ผศ.ดร. สุรางคนา ธรรมลิขิต ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคุณเทิดศักดิ์ กิจจาธิการกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟิรส์วัน ซิสเต็มส์ จำกัด ให้เกียรติมาร่วมงาน

เนื่องด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมีแผนจัดทำโครงการ “เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก” ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง กำหนดเสร็จสิ้นภายในปี 2555 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยบูรพาได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบเป็นศูนย์กลางเครือข่าย (โหนด) สำหรับภาคตะวันออก และในฐานะที่อัลคาเทล-ลูเซ่นมีความเชี่ยวชาญในโซลูชันสื่อสารร่วมกับ บริษัท เฟิรส์วันส์ ซิสเต็ม จำกัด จึงได้นำเสนอโซลูชันการสื่อสารคอนเวอร์เจนต์ใหม่ให้แก่มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อรองรับความต้องการใช้แอพพลิเคชันสมัยใหม่ต่างๆ ให้มีความเสถียรและความปลอดภัยสูง

ในปัจจุบันนี้ รูปแบบการเรียนการสอนมีทิศทางที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวล้ำ ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ จากทั่วโลก เรียกได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย และด้วยความสามารถของเทคโนโลยีสื่อสารเหล่านี้ ก็เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็น การเรียนการสอนแบบออนไลน์, การประชุมผ่านโครงข่าย (VDO conference) ฯลฯ

มหาวิทยาลัยบูรพามองเห็นถึงทิศทางการเติบโตของจำนวนผู้ใช้โครงข่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัวในอนาคต จึงตัดสินใจยกระดับเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย, นิสิตนักศึกษา ตลอดจนประชาชนและชุมชนใกล้เคียง ด้วยโครงข่ายความเร็วสูง

ด้วยทิศทางการเติบโตของผู้ใช้งานโครงข่ายมีจำนวนสูงขึ้นอย่างมาก อีกทั้งความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการจะเป็นศูนย์กลางเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพสูง, รองรับการใช้งานจำนวนมาก, มีเสถียรภาสูง และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ซึ่งอัลคาเทล-ลูเซ่น มีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ได้ครบทุกด้าน และยังครอบคลุมถึงความต้องการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าร่วมกับบุคลากรที่เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีและนำศักยภาพของเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเต็มที่ จึงนับเป็นก้าวแรกที่ดีในการเริ่มต้นโครงข่ายในมหาวิทยาลัยและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งในอนาคตเมื่อโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพขยายตัวครอบคลุมทั่ว ก็จะกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญสำหรับพัฒนาบุคลากรในประเทศต่อไป