ฐานะการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม–กันยายน 2553) และ2553 (ตุลาคม 2552–กันยายน 2553)
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยฐานะการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. (Government Finance Statistics : GFS) ในไตรมาสที่ ๔ เกินดุลกว่า ๖ หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ดุลการคลังภาครัฐขาดดุล ๑.๙๘ แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ ๔๕.๙
ในไตรมาสที่ ๔ ของปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓) ดุลการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เกินดุลจำนวน ๖๔,๐๒๐ ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุล ๕๑,๔๘๐ ล้านบาท โดยมีรายได้ทั้งสิ้น ๗๕๗,๐๙๓ ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๑๗๖,๗๔๔ ล้านบาท หรือร้อยละ ๓๐.๕ จากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนรายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน ๖๙๓,๐๗๓ ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๖๑,๒๔๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๗
ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ภาครัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น ๒,๕๗๐,๔๒๕ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๗ ของ GDP) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ๔๐๘,๙๓๖ ล้านบาท หรือร้อยละ ๑๘.๙ ขณะที่รายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน ๒,๗๖๘,๙๖๓ ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว ๒๔๐,๔๕๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๕ เนื่องจากมีการเบิกจ่ายจากเงินกู้ (รวมการเบิกจ่ายจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕) สูงกว่าปีที่แล้ว ๒๐๔,๔๖๔ ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลขาดดุลจำนวน ๑๙๘,๕๓๘ ล้านบาท ขาดดุลลดลงร้อยละ ๔๕.๙ (ปีที่แล้วขาดดุล ๓๖๗,๐๒๑ ล้านบาท)
นายนริศ ชัยสูตร สรุปว่า “การที่ดุลการคลังของภาครัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ขาดดุลลดลงในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและรายได้ของ อปท. ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้บนฐานภาษีของรัฐบาลเพิ่มขึ้นในอัตราสูง”
ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค.
ในไตรมาสที่ ๔ และปีงบประมาณ ๒๕๕๓
หมายเหตุ
๑ ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) หักด้วยรายได้ของ อปท.
๒ รายจ่ายเงินกู้ เป็นรายจ่ายเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ของรัฐบาล (รวมเงินอุดหนุน อปท.) และรายจ่ายเงินกู้จาก
ต่างประเทศ