ไอดีซี ชี้ ปี 2554 เป็นปีที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องกำหนดจุดยืนของตนเองในอุตสาหกรรมไอทีซีในภูมิภาค APEJ ผู้ให้บริการฯ ต้องยกระดับตนเองในการเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ
ไอดีซี ชี้ ปี 2554 เป็นปีที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องกำหนดจุดยืนของตนเองในอุตสาหกรรมไอทีซีในภูมิภาค APEJ ผู้ให้บริการฯ ต้องยกระดับตนเองในการเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ
การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อต้องการแย่งส่วนแบ่งตลาดนั้นได้เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ไอดีซีเชื่อว่าการแปลงสภาพของตนเองจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการแข่งขันที่ดุเดือดในขณะนี้ และในปี 2554 นี้จะเป็นปีแห่ง “การทดสอบความสามารถ” ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคนี้ เมื่อผู้ประกอบการทั้งหลายต้องเร่งปรับเปลี่ยนและใช้โอกาสทางธุรกิจที่ปรากฏขึ้นใน 10 อันดับการคาดการณ์ที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไอดีซี นำไปผนวกกับจุดแข็งของตนเอง
“โอกาสในปี 2554 จะช่วยให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนเองได้อย่างปลอดภัยและกําหนดให้เป็นสิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในประวัติศาสตร์ของไอซีที” กล่าวโดยนายเอเดรียน โฮ หัวหน้ากลุ่มวิจัย โทรคมนาคม, เมเนจเซอร์วิส และ อุปกรณ์เครือข่ายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “เรื่องต่าง ๆ ที่มีการเอ่ยถึงกันมากในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็น โมบิลิตี้ โซเชียลเน็ตเวิรค์ และ คลาวด์ ที่กำลังเริ่มให้บริการกันบ้างแล้วนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงจะเป็นการเปลี่ยนสภาพของอุตสาหกรรมไอซีที ทั้งในทศวรรษข้างหน้าเท่านั้นแต่มันยังส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานของพวกเราอีกด้วย”
เอเดรียนเสริมว่า “ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมก็ต้องผันตนเองเข้าสู่ตลาดไอที เมื่อพวกเขาไม่สามารถปฏิเสธความจริงในเรื่องของการรวมตัวอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมไอซีที” เอเดรียน ยังกล่าวอีกว่า “ผู้ให้บริการโทรคมนาคมบางรายในอดีตอาจจะมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีนักกับการให้บริการด้านไอที แต่เรายังเชื่อว่าการปรับ เปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ จะทำให้มีความสมเหตุสมผล สามารถวัดประสิทธิภาพได้และมีโอกาสที่จะทำให้ผู้นำทั้งหลายในตลาดไอทีปัจจุบันหวั่นไหวได้”
ตลาดบริการโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 283 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 หรือ มีอัตราการเติบโตร้อยละ 7.5 บริการการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พื้นฐานจะยังคงเป็นบริการที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับองค์กรคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 13.1 มีมูลค่าราว 15.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ปัจจัยที่เป็นแรงหนุนให้ตลาดเติบโตมาจาก การขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ การย้ายระบบการติดต่อสื่อสารไปเป็นไอพีทั้งหมด และ การขยายการลงทุนระบบเครือข่ายในส่วนของสำนักงานสาขา
“ด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชียต่าง ๆ กำลังจะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง และสิ่งนี้จะเป็นโอกาสอันพิเศษสุดและในขณะเดียวกันก็เป็นงานที่ท้าทายสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหลาย เราเชื่อว่าการติดต่อสื่อสารภายในภูมิภาคเอเชียจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับการเติบโตของบริการ IP VPN และบริการไอซีทีด้านอื่น ๆ” เอเดรียนให้ความคิดเห็น
เขายังได้ให้ข้อควรระวัง “ไม่ใช่ว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายจะมีความต่อเนื่องทางความคิด และ มีจุดแข็งพอที่จะให้เกิดการเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งต้องอาศัยความ สามารถในการทำงานที่เฉพาะด้าน รวมถึงความแตกต่างกันของพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นแรงขับทำให้ได้รับประโยชน์จากโอกาสในการเติบโตดังกล่าว”
การคาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญประจำปีของธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียโดย ไอดีซี นั้นได้จัดทำขึ้นจากงานวิจัยล่าสุดของไอดีซีและการระดมสมองของนักวิเคราะห์ที่ประจำอยู่ในแต่ละประเทศและในภูมิภาค สิ่งเหล่านี้จะแสดงถึงแนวโน้มที่สำคัญ ที่จะส่งผลกระทบทางการเงินที่สำคัญหรือผลกระทบต่อตลาดในระยะยาวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น
10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคไม่รวมญี่ปุ่นประจำปี 2554 มีดังต่อไปนี้
(1) แอพพลิเคชั่น Socialytic จะเปลี่ยนตลาดแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานร่วมกัน
ไอดีซี คาดว่า ในปี 2554 จะเป็นปีที่มีแนวโน้มของการรวมสื่อสังคมออนไลน์กับการวิเคราะห์ธุรกิจ จะมาบรรจบซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้กับบรรดาแอพพลิเคชั่นหลัก ๆ สำหรับองค์กรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ กำลังเริ่มที่จะฝังตัวเรื่องของ unified communications และ social media ไว้ในการทำงานในปัจจุบัน
แต่ ไอดีซีคาดว่าแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจทุกประเภท กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในระบบโครงการสร้างการทำงานโดยรวมเอาซอฟท์แวร์ด้าน social/collaboration และงานด้านการวิเคราะห์ เข้าไปเป็นหน่วยหนึ่งในแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่ใช้งานมาดั้งเดิมในปี 2554 นี้และปีถัด ๆ ไป แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ขององค์กรกำลังจะกลายเป็นทั้ง"สื่อสังคม" และ "การวิเคราะห์" ตามสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งไอดีซีกำลังหมายถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับองค์กรธุรกิจที่เรียกว่า "socialytic" แอพพลิเคชั่น
(2) Mobilution – แนวคิดโมบิลิตี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดไอที
ในเรื่องของการทำให้องค์กรเป็นโมบิลิตี้นั้นเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมาหลายปีแล้ว แต่ในความจริงมันก็ยังคงเป็นเรื่องที่เราทึกทักเอาเท่านั้น การที่เราสามารถที่จะเข้าถึงแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่สำคัญขององค์กรได้เมื่อเราจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายหรือไม่ได้อยู่ที่สำนักงาน นอกจากนี้เรายังทึกทักเอาเองว่าได้เข้าถึงในเรื่องแนวคิดของการเป็นโมบิลิตี้แล้วแต่ในความจริงมันเกิดขึ้นเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยที่การเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายของสำนักงานส่วนมากแล้ว ยังถูกจำกัดอยู่แค่ในเรื่องการเช็คอีเมลล์ผ่านมือถือ หรือ โซลูชั่นที่สามารถใช้ได้ทั้งเครือข่ายมือถือหรือโทรศัพท์บ้าน และ แอพพลิเคชั่นพื้น ๆ ที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟน
แต่ในวันนี้ ไอดีซี กำลังเห็น สิ่งที่เราจะเรียกได้ว่า “มหาพายุ” ที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีหลายประเภทที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการปฏิวัติในเรื่องของโมบิลิตี้ และท้ายที่สุดแล้ว มันจะทำให้ “ทุกสิ่งทุกอย่าง” กลายเป็นโมบายในที่สุด และไอดีซีเชื่อว่า ในปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เป็นตัวเร่งสำหรับเรื่องดังกล่าวนี้
(3) การสิ้นสุดของ ไอพี โฟน อย่างที่เรารู้กัน
วีดีโอยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจถูกพูดถึงอยู่เสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ เทคโนโลยี ที่ยังมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น สิ่งนี้ได้เริ่มเปิดให้บริการ เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ว่า สิ่งนี้จะมีการปฏิวัติรูปแบบสื่อสารด้วยการทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลงเป็นมาก และความสะดวกสบายของวิดีโอก็ได้มีความก้าวหน้าไปมาก ในฐานะที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น การเปิดตัว Telepresence โดยที่ วีดีโอนั้นได้เปลี่ยแปลงรูปแบบการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกระหว่างลูกค้าและผู้ค้า การใช้งานที่เพิ่มขึ้นบวกกับความนิยมของวิดีโอและอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่าง ๆ ในยุคของ mobilution จะนำไปสู่การสิ้นสุดของ ไอพี โฟน (IP Phone)
(4) การเติบโตของบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชีย
บางทีหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องของตลาดซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในปี 2554 เท่านั้นแต่ยังเลยไปถึงอีกทศวรรษข้างหน้า ก็คือการเติบโตของบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชีย หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าเป็น ศตวรรษแห่งเอเชีย การจัดอันดับในโลกใหม่ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือตัวเรา และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชีย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดไอซีที ทั้งเรื่องของวิธีการทำงานและการปฏิบัติตัวของผู้นำตลาด "การปรับตัวหรือการล้มหาย" บางทีจะเป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับบรรดาผู้ค้าไอซีทีรายหลัก ๆ ทีกำลังเข้ามาแข่งขันในศตวรรษแห่งเอเชีย
(5) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะกลับมารุกตลาดไอทีอีกครั้ง
T-System เป็นบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เคยเปิดให้บริการทางด้านไอทีในยุกแรกๆ ซึ่งจัดอยู่ในเรื่องของไอทีเอ้าท์ซอร์สซิ่ง และในอีกหลายปีต่อมา ก็พบว่ามีผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายต่าง ๆ เริ่มเดินตามแนวทางนี้ เช่น Telstra, Telecom New Zealand, Singtel ในภูมิภาคนี้ และ BT และ Orange Business Services ในระดับโลก ซึ่งชื่อที่กล่าวมานั้นยังเป็นเพียงเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงผลักดันมาจากการชะลอตัวหรือการติดลบจำนวนมากของรายได้ จากการให้บริการโทรคมนาคมที่ทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจำเป็นต้องมองหาพื้นที่ใหม่ ๆ ในการขยายธุรกิจของตนเอง การเข้ามาเล่นในตลาดไอทีนั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดเมื่อบรรดานักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมจำนวนมากได้ส่งสัญญาณเตือนว่า ผู้ให้บริการบริการโทรคมนาคมจะไม่สามารถยกระดับของพวกเขาได้ดีพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อไอทีได้ทั่วโลก
ผลงานกว่าทศวรรษที่ผ่านมานั้นยังคงค่อนข้างชี้ชัดลำบาก อย่างดีที่สุดเท่าที่พบก็คือผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลายรายกำลังขาดทุนและถอนตัวจากงานที่ต้องใช้โปรไฟล์สูงซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารโครงการไอซีทีเอ้าท์ซอร์สซิ่งขนาดใหญ่ที่ไม่ดี ในภูมิภาคนี้ ตัวอย่างเช่น Telstra ได้ขายแผนกที่ให้บริการด้านไอทีไปแล้วคือ KAZ ซึ่งเป็นบริษัทที่เพิ่งซื้อมาได้ไม่กี่ปีเท่านั้น แต่ด้วยวิวัฒนาการของคลาวด์ โมบิลิตี้และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมาย นั้นกำลังจะหมายความว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะกลับมารุกตลาดนี้อีกครั้งในปี 2554
(6) เวอร์ชวลเดสก์ท็อปจะเป็นตัวปูทางให้กับ Workplace-as-a-Service
บริการเวอร์ชวลเดสก์ท็อปได้แสดงถึงความมีศักยภาพอย่างมากในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายสำหรับการเป็นเจ้าของเดสก์ท็อป แต่การเชื่อมต่อและการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานกันเป็นจำนวนมากนั้นจะยังคงเป็นเรื่องท้าทายหลักอยู่เสมอและอาจจะเปรียบได้เหมือนกับ "กำลังเดินลุยไฟ" ซึ่งอาจจะโดนไฟไหม้ได้ถ้าหากบริหารจัดการไม่ดี สิ่งหนึ่งที่ทุกคนยอมรับและเห็นด้วย
สำหรับเวอร์ชวลเดส์ก์ท็อปคือเรื่องของความซับซ้อนของมัน ด้วยความนิยมของ iPads ในโลกของ B2B และการมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกเช่น แท็บเล็ท สามารถใช้งานได้ตามที่คาดหวังและอุปกรณ์มือถือประเภทอื่น ๆ การทำเวอร์ชวลไลเซชั่นสำหรับอุปกรณ์ปลายทางเหล่านี้คาดว่าจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นการทดสอบเชิงทฏษฏีและความต้องการของตลาดในปี 2554 ด้วย
(7) พลังจากดาต้าเซ็นเตอร์จะเด่นชัดในโลกของผู้ที่สามารถให้บริการคลาวด์
จากบางส่วนของการคาดการณ์ของไอดีซี ได้ระบุว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งความสับสนสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการในภูมิภาคนี้ ขณะที่ไอดีซีได้เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้เกือบร้อยละ 90 ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้ กำลังจะให้เปิดให้บริการคลาวด์หรืออย่างน้อยได้ให้ความสนใจที่เปิดให้บริการคลาวด์และ คาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนอย่างมากสำหรับแนวโน้มนี้ในปี 2554
และปีถัดไป ไอดีซี คาดว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้ยังคงทุ่มเงินอีกหลายพันล้านในการสร้างและพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง เพื่อรับรองการเปิดให้บริการคลาวด์ ไอดีซี ยังคาดว่าจะมีกิจกรรมทางการตลาดที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้น เมื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มที่จะสร้างความแตกต่างในบริการคลาวด์โดยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมเป็นเจ้าของเองทั้งหมด
(8) การหาพันธมิตรของผู้ค้าไอทีจะลดปัญหาในการเข้าตลาด SMB ที่มีขนาดใหญ่
บริษัทด้านไอทีต่าง ๆ กำลังมองหาแนวทางการเป็นพันธมิตรธุรกิจกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด SMB ซึ่งยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของจำนวนรวมของผู้ที่จะใช้บริการตลาด SMB ได้ถูกเรียกว่า เป็นตลาด Long tail (ตลาดที่มีกำลังซื้อน้อยแต่ก็ยังมีอัตราซื้ออย่างต่อเนื่อง) และจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายมากที่ว่าทำไมบริษัทไอทีต่าง ๆ ต้องการส่วนแบ่งในตลาดนี้ให้ได้มากที่สุด มันเป็นตลาดที่ท้าทายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหากพิจารณาจากตัวเลขที่เกี่ยวข้องเช่น – การพิจารณาตัวเลขของจำนวนประเทศในภูมิภาคนี้ และยังรวมไปถึงความยากลำบากในการติดต่อกับลูกค้าแต่ละรายในแต่ละแห่ง
(9) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มที่จะลงมือทำคลาวด์คอมพิวติ้งแล้ว
นอกจากเรื่องเดิม ๆ ที่พูดถึงว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตกำลังเปิดให้บริการคลาวด์ให้กับผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไปหรือองค์กรธุรกิจ แต่กลับมีกลุ่มธุรกิจย่อยที่กำลังเกิดใหม่และน่าจับตามองซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการไอที โดยผู้จัดหาอุปกรณ์เครือข่าย (NEP) ที่กำลังขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคม ได้ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีของตนเองหรือการให้บริการเหล่านี้ไปสู่การให้บริการคลาวด์ที่ทำเงินได้
โดยรูปแบบการให้บริการคลาวด์ที่จะนำเสนอในลักษณะที่ไม่ใช่เป็นแบบ “ผู้ให้บริการหนึ่งรายต่อลูกค้าหลายราย” ซึ่งมักจะเป็นเรื่องคาใจอยู่เสมอ เมื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ให้บริการคลาวด์จะต้องไปแชร์เซิฟเวอร์เดียวกันกับคู่แข่งของเขา เพื่อขจัดปัญหาเช่นนั้น NEP กำลังมองหาแนวทางในการนำเสนอบริการเหล่านี้ในลักษณะ hosted private cloud ซึ่งจะมีการจัดสรรโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการของผู้ให้บริการโทรคมนาคมแต่ละราย ด้วยทิศทางในอนาคตที่จะมุ่งไปสู่การมีโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ที่เสมือนจะแยกกันอย่างชัดเจนจะทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหลายจะรู้สึกสบายใจมากขึ้นในเรื่องของแนวคิดการใช้งานร่วมกัน
(10) ไฟเบอร์ออปติคยุคใหม่ 100G จะเป็นสิ่งจำเป็นในตลาดรับส่งข้อมูลที่ปริมาณสูง
ในเดือนมีนาคม 2550, การศึกษากลุ่มที่ 15 (SG 15) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ได้อนุมัติให้ขยายมาตรฐานของ G.709 OTN เพิ่มมากกว่า 43 Gb/s ที่ใช้ในปัจจุบัน (เรียกว่า"40G") และสเปคใหม่นี้จะเรียกว่า OTU-4 ข้อกำหนดสำหรับการส่งสัญญาณ OTN ใหม่ได้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมาและอัตราการรับส่ง OTU 4 ผ่านสายได้ถูกกำหนดไว้ที่ 112 GB/s ซึ่งสามารถนำมาใช้สำหรับการเชื่อมต่อ 100 Gps อีเทอร์เน็ตได้
ไอทียู ยังได้กำหนดกรอบและอัตราการรับส่งผ่านสายเสร็จสมบูรณ์สำหรับเครือข่ายรับส่งข้อมูลระยะไกลหรือไกลมาก (DWDM) ขนาด 100G ไอทียูยังได้ตัดสินใจแล้วที่จะใช้วิธี Dual Polarization Quadrature Phase Shift-Keying (DPQPSK) Modulation และเป็นจุดเชื่อมโยงกันกับการใช้เครือข่ายรับส่งระยะทางไกลขนาด 100G ได้ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายเช่น Ciena, Alcatel - Lucent และ Infinera ได้เริ่มที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในเชิงพาณิชย์แล้วสำหรับตัวรับส่งข้องมูลระยะทางไกลแบบ DWDM 100G ซึ่งคาดว่าจะมีการวางจำหน่ายกันอย่างเป็นทางการในปี 2554 นี้