กรมสุขอนามัยจีนเตรียมออกประกาศห้ามใช้สารฟอกขาวแป้งมัน 2 ชนิด ได้แก่ benzoyl peroxide และ calcium peroxide เนื่องจากมีการใช้สารสองชนิดนี้ในปริมาณมากเกินจำเป็น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายและสร้างความวิตกกังวลต่อผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบัน คาดมีผลบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคมปีถัดไป
ประกาศฯได้เริ่มเสนอตั้งแต่ปี 2543 โดยสมาคมธัญพืชแห่งชาติจีน และสำนักงานธัญพืชแห่งชาติได้นำไปพิจารณาในปี 2547 ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ร่างประกาศฯในปี 2550 แต่ก็ได้ยกเลิกไป จนกระทั่งในครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมออกประกาศฯ
หลังจากจีนได้เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องกฎหมายความปลอดภัยทางอาหารประเทศตั้งแต่ปี 2552 เจ้าหน้าที่ประจำกระทรวงสารสนเทศจีน เผยว่า “จีนได้เริ่มอนุญาตให้ใช้ benzoyl peroxide ตั้งแต่ปี 2529 โดยให้ผสมในแป้งมันปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อแป้งจำนวน 1 กิโลกรัม ตามมาตรฐานของคณะกรรมการอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission)
ซึ่งได้กำหนดให้ใช้ในปริมาณ 75 มิลลิกรัม การออกประกาศฯในครั้งนี้มีผู้สนับสนุนแนวคิดให้ยกเลิกใช้สารฟอกขาวฯนี้ถึงร้อยละ 91 จากโพลสำรวจความเห็นในเวบไซต์จำนวน 36,600 คน ซึ่งคาดว่าหากร่างประกาศฯฉบับนี้ผ่านการอนุมัติ ก็จะมีผลบังคับใช้กับสินค้าแป้งมันนำเข้าด้วย ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วเช่นอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ก็ยังคงมีการอนุญาตให้ใช้ benzoyl peroxide”
นาย Sang Liwei นิติกรในปักกิ่ง ตัวแทนเข้าร่วมประชุมฟอรัมความปลอดภัยอาหารโลก กล่าวว่า “แป้งมันสีขาวที่ผู้บริโภคชาวจีนเคยซื้อ ในตลาดเกือบทั้งหมดผสมสารฟอกขาวที่ช่วยทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ถูกลง ”
Benzoyl peroxide และ calcium peroxide เป็นสารออกซิเดนท์ที่ช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงและฟอกสีขาวในแป้งสาลี แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวว่า สารชนิดนี้มีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีตัวออกซิเดนท์ที่ทำลายสารอาหารในแป้งมันเช่นสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคทางระบบไหลเวียนโลหิต
สำนักงานควบคุม ตรวจสอบคุณภาพ และกักกันโรคแห่งชาติจีน (AQSIQ) เผยว่า จากผลการสำรวจล่าสุด พบว่าผู้ผลิตมีการใช้สารเติมแต่งอาหารในปริมาณที่มากเกินจำเป็น เช่น เมือง Guanxian ในมณฑลซานตง พบว่ามีแป้งมันจำนวนกว่าร้อยละ 15 ถูกตรวจพบว่ามีสารเติมแต่งมากเกินกำหนด แต่ก็มีหลายฝ่ายที่กังวลว่า หากยกเลิกการใช้สาร 2 ตัวดังกล่าว จะทำให้ผู้ผลิตหันไปใช้สารตัวอื่น ซึ่งอาจมีผลเป็นพิษที่รุนแรงมากกว่าแทน