เนื้อหาวันที่ : 2010-12-22 09:53:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 737 views

ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐเดือน พ.ย. 2553

ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 และรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2553

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2553 ดังนี้

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ

1. การกู้เงินภาครัฐ1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 2553ในเดือนพฤศจิกายน 2553 กระทรวงการคลังได้เบิกเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 6,000 ล้านบาท และกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 20,020.95 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 19,900 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 120.95 ล้านบาท

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำการกู้เงินรวม 48,020.95 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 36,020.95 ล้านบาท2. การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 12,000 ล้านบาท

1.2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนพฤศจิกายน 2553ในเดือนพฤศจิกายน 2553 รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวมกันทั้งสิ้น 2,086.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,436.90 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 2,736.90 ล้านบาท

2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 2553ในเดือนพฤศจิกายน 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล โดยการปรับโครงสร้างหนี้ FIDF 3 ดังนี้1. การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรออมทรัพย์โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 2,000 ล้านบาท2. การออกพันธบัตรรัฐบาล 12,000 ล้านบาท โดยนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของ FIDF 3 จำนวน 4,011.81 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะนำไปชำระคืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF1 และ FIDF 3) ต่อไป ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้จำนวนดังกล่าวจะไม่ปรากฏในตารางที่ 3 เนื่องจากจะเป็นการ นับซ้ำกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้รายงานไปแล้วในเดือนสิงหาคม 2553

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ FIDF 3 จำนวน 2,000 ล้านบาท

2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนพฤศจิกายน 2553ในเดือนพฤศจิกายน 2553 รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศรวมกันเป็นเงิน 2,683.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 2,683.77 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนรวม 6,113.77 ล้านบาท

3. การชำระหนี้ภาครัฐในเดือนพฤศจิกายน 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 8,354.32 ล้านบาท ดังนี้- ชำระหนี้ในประเทศ 8,170.70 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 575 ล้านบาท และดอกเบี้ย 7,595.70 ล้านบาท- ชำระหนี้ต่างประเทศ 183.62 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 59.12 ล้านบาท ดอกเบี้ย 124.35 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 0.15 ล้านบาท

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมรวม 12,378.15 ล้านบาท 2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน3. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน 23,999.90 ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคารสัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ. แจ้งวัฒนะ

รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2553ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2553 มีจำนวน 4,201,323.70 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 42.01 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,891,655.40 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,072,375.84 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 175,200.26 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 62,092.20 ล้านบาท

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 29,421.04 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 15,826.91 ล้านบาท 11,606.73 ล้านบาท 1,979.17 ล้านบาท และ 8.23 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้น ไม่มีหนี้คงค้าง

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง1.1 หนี้ในประเทศ          หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 16,200.56 ล้านบาท โดยเกิดจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 37,290 ล้านบาท เป็นสำคัญ1.2 หนี้ต่างประเทศหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 373.65 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 54.91 ล้านเหรียญสหรัฐ- สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 1,229.05 ล้านเยน หรือคิดเป็น 15.23 ล้านเหรียญสหรัฐ- สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 3.65 ล้านเหรียญสหรัฐ

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน2.1 หนี้ในประเทศ2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5,674.64 ล้านบาท โดยเกิดจาก- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการเคหะแห่งชาติได้ไถ่ถอนพันธบัตรรวม 2,000 ล้านบาท รวมถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรและไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และ 2,400 ล้านบาท ตามลำดับ- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 2,274.64 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 8,372.36 ล้านบาท โดยเกิดจาก- การประปานครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และ 229.95 ล้านบาท ตามลำดับ- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 7,142.41 ล้านบาท

2.2 หนี้ต่างประเทศ2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3,424.51 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 184.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 186.78 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 169.29 ล้านเยน หรือคิดเป็น 2.10 ล้านเหรียญสหรัฐ- สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 0.25 ล้านเหรียญสหรัฐโดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 8ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 984.24 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 63.10 ล้านเหรียญสหรัฐ- สกุลเงินยูโรได้มีการไถ่ถอนประมาณ 13.15 ล้านยูโร หรือคิดเป็น 18.28 ล้านเหรียญสหรัฐ- สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 857.71 ล้านเยน หรือคิดเป็น 10.63 ล้านเหรียญสหรัฐ- สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 6.08 ล้านเหรียญสหรัฐโดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ไม่ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 9

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 3.1 หนี้ในประเทศหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลง 2,026.83 ล้านบาท เนื่องจากมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 2,026.83 ล้านบาท

3.2 หนี้ต่างประเทศหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 47.66 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก- ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.54 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 78.05 ล้านเยน หรือคิดเป็น 0.97 ล้านเหรียญสหรัฐโดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐหนี