บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขุดเจาะพบก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมอีก 2 หลุม จากแปลง M9 ในสหภาพพม่า มั่นใจแปลง M9 มีศักยภาพสูง เตรียมเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม และหลุมประเมินผลอีก 4-5 หลุม เพื่อยืนยันปริมาณสำรองปิโตรเลียมขั้นต้น
ปตท.สผ. ขุดเจาะพบก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมอีก 2 หลุม จากแปลง M9 ในสหภาพพม่า มั่นใจแปลง M9 มีศักยภาพสูง เตรียมเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม และหลุมประเมินผลอีก 4-5 หลุม เพื่อยืนยันปริมาณสำรองปิโตรเลียมขั้นต้น |
. |
นายมารุต มฤคทัต (Maroot Mrigadat) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยผลการเจาะหลุมสำรวจกอว์ตะกะ-1 (Gawthaka-1) และหลุมสำรวจกากอนนะ-1 (Kakonna-1) ในแปลง M-9 ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ สหภาพพม่าว่าประสบความสำเร็จในการเจาะสำรวจ พบก๊าซธรรมชาติ ทั้ง 2 หลุม |
. |
ปตท.สผ. ได้ทำการเจาะหลุมสำรวจกอว์ตะกะ-1 ในบริเวณตอนเหนือของแปลง M9 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 ถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 3,380 เมตร พบก๊าซธรรมชาติในชั้นหินกักเก็บ จำนวน 5 โซน มีความหนารวมประมาณ 56 เมตร ได้ทำการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Tubing Stem Test (TST) 2 โซน แต่เนื่องจากเครื่องมือในการทดสอบไม่สมบูรณ์ จึงสามารถยืนยันอัตราการไหลของก๊าซฯ ขั้นต่ำได้เพียงประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สำหรับหลุมสำรวจกากอนนะ-1 ได้เริ่มขุดเจาะเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 3,391 เมตร พบก๊าซธรรมชาติในชั้นหินกักเก็บ จำนวน 8 โซน มีความหนารวมประมาณ เมื่อต้นปี 2550 ปตท.สผ. ได้ทำการขุดเจาะหลุมสำรวจซอว์ติกะ-1 เอ (Zawtika-1A) และค้นพบก๊าซธรรมชาติในปริมาณสูง และเป็นการค้นพบก๊าซธรรมชาติครั้งแรกในแปลง M9 |
. |
ต่อมาได้ทำการเจาะหลุมสำรวจ กอว์ตะกะ-1 และหลุมกากอนนะ-1 และค้นพบก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมดังกล่าว ก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบทั้ง 3 หลุม ทำให้มีความมั่นใจในศักยภาพของก๊าซธรรมชาติทางด้านตะวันออกของแปลง M9 สำหรับแผนงานต่อไป ปตท.สผ. จะดำเนินการขุดหลุมสำรวจ Zawtika-2 อีก 1 หลุม และจะทำการเจาะหลุมประเมินผลอีก 4-5 หลุม เพื่อยืนยันปริมาณสำรองปิโตรเลียมขั้นต้น พร้อมกับเริ่มวางแผนที่จะพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในบริเวณดังกล่าว โดยมีเป้าหมายที่จะเริ่มการผลิตเพื่อใช้ในประเทศพม่าส่วนหนึ่ง และส่งเข้าประเทศไทยส่วนหนึ่งในปี 2554 หรือ 2555 |
. |
แปลง M9 ตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ สหภาพพม่า ห่างจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 300 กิโลเมตร ในปี 2546 ปตท.สผ.ได้รับสิทธิให้เข้าเป็นผู้ดำเนินการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม (Production Sharing Contract) และถือสิทธิ 100% ในแปลง M7 และ M9 ในสหภาพพม่า |