เนื้อหาวันที่ : 2006-04-04 13:38:07 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2005 views

สามารถคอมเทคจับมือซิต้ารุกธุรกิจไอทีโซลูชันสนามบินแถบอินโดจีน

ซิต้าผู้นำด้านการให้บริการไอที แอพพลิเคชันสนามบิน หวังเจาะตลาดในแถบอินโอจีน ตั้งสามารถคอมเทค เป็นตัวแทนจำหน่าย

 

มร. บรูโน เฟรนท์เซล (ที่ 6 จากซ้าย) รองประธานอาวุโสฝ่ายขายและจัดจำหน่าย ซิต้า ผู้นำตลาดในด้านการให้บริการไอที แอพพลิเคชันแก่สนามบินชั้นนำทั่วโลก ร่วมลงนามกับนายเจริญรัฐ  วิไลลักษณ์ (ที่ 7 จากซ้าย)  ประธานกรรมการบริหาร และนาย วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ (ที่ 8 จากซ้าย)  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด  (มหาชน) ในสัญญาแต่งตั้งบริษัท สามารถคอมเทค จำกัดเป็นตัวแทนจำหน่ายหลัก (Strategic Reseller) ในการขายและให้บริการไอทีโซลูชั่น เพื่อบุกตลาดสนามบินในประเทศไทยและในภูมิภาคอินโดจีน โดยมีผู้บริหารของสามารถและซิต้าร่วมเป็นสักขีพยาน 

 

ซิต้า ผู้นำตลาดในด้านการให้บริการไอที แอพพลิเคชั่นแก่สนามบินชั้นนำทั่วโลก เซ็นสัญญาแต่งตั้งบริษัท สามารถคอมเทค จำกัดเป็นตัวแทนจำหน่ายหลัก (Strategic Reseller) ในการขายและให้บริการไอทีโซลูชั่น เพื่อบุกตลาดสนามบินในประเทศไทยและในภูมิภาคอินโดจีน

 

มร. บรูโน เฟรนท์เซล รองประธานอาวุโสฝ่ายขายและจัดจำหน่าย กล่าวในพิธีเซ็นสัญญาที่กรุงเทพฯ วันนี้ ว่า การเซ็นสัญญาแต่งตั้งให้สามารถคอมเทคเป็น Value Added Reseller ครั้งนี้  นับเป็นก้าวสำคัญของซิต้าในการขยายธุรกิจบริการระบบสนามบินในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในประเทศไทย และเมื่อพิจารณาความรู้และประสบการณ์ของกลุ่มบริษัทสามารถ เราจึงเชื่อมั่นว่า สามารถคอมเทคจะสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยของซิต้าไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสนามบินและสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่ผู้โดยสาร

 

จากสัญญาความร่วมมือดังกล่าว บริษัท สามารถคอมเทค จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทสามารถ ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบและติดตั้งระบบข้อมูลสารสนเทศ จะได้รับสิทธิในการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านสนามบินของซิต้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย กัมพูชา และลาว โดยสามารถคอมเทคจะได้รับการรับรองในฐานะ Certified Partner  ซึ่งจะสามารถให้บริการแก่สนามบินได้อย่างใกล้ชิด ด้วยทีมงานวิศวกรชาวไทยที่มีความชำนาญและความคล่องตัวในการดูแลและซ่อมบำรุง  

 

ผลิตภัณฑ์และบริการของซิต้าภายใต้ข้อตกลงครั้งนี้ ประกอบด้วย ระบบไอทีแอพพลิเคชั่นในการให้บริการแก่ผู้โดยสารและระบบจัดการสัมภาระต่างๆ  เช่น AirportConnect CUTE, AirportConnect Kiosk , BagManager และ BagMessage ซึ่งระบบสารสนเทศเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารสนามบินอีกด้วย โดยซิต้าจะให้การอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของสามารถคอมเทคอย่างเต็มที่ ทั้งยังพร้อมให้การสนับสนุนด้านบริการ ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

จากนโยบายของภาครัฐ ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในระดับภูมิภาค(Regional Hub) ก่อให้เกิดความจำเป็นในการพัฒนาระบบบริหารสนามบินอย่างเร่งด่วน ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพและคุณภาพในการรองรับผู้โดยสารจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องให้ความสำคัญกับการบริหารงบประมาณในการดำเนินงาน และการใช้ระบบและอุปกรณ์ต่างๆให้มีประสิทธิผลสูงสุด เราจึงเชื่อว่าโซลูชั่นทางด้านสนามบินของซิต้า ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลก จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้างมาตรฐานการบริการที่ดีให้กับสนามบินต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเขตภูมิภาคอินโดจีน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียตนาม เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ ล้วนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาสนามบินเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคตทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น ในการเป็นพันธมิตรกับซิต้า สามารถคอมเทคยังจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีระบบริหารสนามบินจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับทีมไอทีของเราได้อย่างเต็มที่ นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

 
การเซ็นสัญญาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพที่เหนียวแน่นขึ้นของทั้ง 2 บริษัท   ซึ่งได้ทำงานร่วมกันมาแล้วในโครงการพัฒนา และติดตั้งระบบเช็คอินผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งแก่ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ ระบบนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 50 ล้านคน โดยสามารถคอมเทค คือหนึ่งใน Airports Systems Integration Specialists (ASIS) Consortium  อันประกอบด้วย สามารถคอมเทค, ซีเมนส์, เอบีบี และ SATYAM
 
ภายใต้โครงการดังกล่าว ได้มีการติตตั้ง ระบบเช็คอิน ( SITA Cute ) จำนวนกว่า 600 จุดบริการ  รวมทั้งระบบในการดูแลผู้โดยสาร โดยได้มีการเตรียมคีออสสำหรับเช็คอินด้วยตัวเองอีก 50 เครื่อง เพื่อรองรับผู้โดยสารที่อาจเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัวจากการนำเครื่องบินแอร์บัส เอ380 มาให้บริการ
 

สำหรับกลุ่มการทำงานของทีมวิจัยนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทำงานและอีก 1 บริหารงาน ได้แก่ กลุ่มออกแบบและจัดสร้างโครงสร้างอากาศยาน หรือ AIR FRAME ซึ่งมี น.ต.ดร. ณัฐพล นิยมไทย หัวหน้ากลุ่มเล่าให้ฟังถึงการทำงานว่า ขณะนี้มีการพัฒนาโครงการไปถึงการสร้าง UAV แบบ Half Scale ซึ่งเป็นเครื่องบินย่อส่วนขนาดความยาวประมาณ 3 เมตรโดยจำลองมาจาก UAV ขนาดจริง ทั้งนี้เพื่อใช้ในการฝึกฝนการบินเพื่อเตรียมพร้อมให้นักบินเกิดความชำนาญจำนวน 4 ลำได้แก่ PUKSIN Prototype MKI ได้ออกแบบอย่างคร่าวๆเพื่อจะดูกระบวนการสร้างโดยผู้ช่วยนักวิจัยและนักวิจัยเป็นผู้ออกแบบและสร้างเอง ปรากฏว่ายังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขแต่ละส่วนตามทฤษฎี ทั้งนี้มุ่งความต้องการหาองค์ความรู้ในการออกแบบ ลำต่อมาจึงได้ว่าจ้างให้บริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องบินเล็กมาสร้างได้แก่ PUKSIN Prototype MKII-1 โดยพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และวางโครงสร้างตามแบบที่ทีมวิจัยคำนวณตามหลักทฤษฎีวิศวกรรมอากาศยาน และได้ทดสอบบินในเที่ยวบินที่ 7 เกิดสัญญาณรบกวนจึงทำให้เครื่องตก จากนั้นจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นลำที่ 3 ได้แก่ PUKSIN Prototype MKII-2 และส่งต่อให้กับกลุ่มออกแบบสร้างระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ  และลำที่สี่ได้แก่ PUKSIN Prototype MKII-3 ที่ทดสอบบินได้ 7 เที่ยวบินปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยประสิทธิภาพในการบินของ UAV แบบ Half Scale ทั้งสี่ลำจะมีความเหมือนกันทุกประการ เช่น บินได้ในระยะทาง 20กิโลเมตร ทั้งนี้การพัฒนาขึ้นมาใช้งานหลายลำเนื่องจากจะให้สามารถทดแทนกันได้ขณะปฏิบัติงาน

 
ต่อมาเป็น กลุ่มออกแบบสร้างระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ หรือ FLIGHT CONTROL โดยมีนาวาอากาศโท นวพันธ์ นุตคำแหง หัวหน้ากลุ่มกล่าวว่า ทีมวิจัยได้ออกแบบสร้างและพัฒนาระบบควบคุมการบินอัตโนมัติสำหรับอากาศยานไร้นักบินที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Flight Control Computer) ซึ่งติดตั้งอยู่บนเครื่องบิน UAV ที่ควบคุมเครื่องให้บินไปยังที่ต่างๆได้ แม้ว่า UAV จะไม่มีคนขับ แต่จะมีคนบังคับอยู่ที่สถานีภาคพื้นดิน(Ground Control Station)  โดยอาศัยระบบสื่อสารระหว่างตัวเครื่องบินกับสถานีภาคพื้นดิน รวมทั้ง Software ควบคุมการทำงานของระบบ ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากทีมวิจัยที่ได้พัฒนาเขียนโปรแกรมและทดสอบการบินขึ้นใช้ได้เองเกือบทั้งหมด รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพจนทำให้สามารถรักษาเสถียรภาพและท่าทางการบินได้ตลอดเวลา เช่น บินรักษาความเร็วในระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีระบบนำร่องกลับฐานอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุบกพร่อง หรือระบบเก็บข้อมูลการบินและปรับปรุงให้มีขนาดเล็กเบา ประหยัดพลังงานและไฟฟ้ามากขึ้น อีกทั้งทีมวิจัยยังมีการพัฒนาผลงานต่อเนื่อง เช่น ทดสอบการบินนำร่องอัตโนมัติในระยะไกลเพิ่มขึ้น
 

กลุ่มระบบสื่อสารการบิน หรือ COMMUNICATION โดยผศ.ดร.ทองทด วานิชศรีหัวหน้ากลุ่มระบบสื่อสารการบิน กล่าวว่า การออกแบบและพัฒนาระบบสื่อสาร เพื่อการควบคุมและส่งสัญญาณภาพ ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับตัวUAVและดาวโหลดสัญญาณจากUAV ส่งกลับมายังภาคพื้นดินแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ได้แก่ ย่านความถี่ UHF และย่านความถี่ C Band โดย UHFจะใช้เป็นระบบสื่อสารสำรอง ส่วน C Band นั้นจะเป็นระบบสื่อสารหลัก โดยกลุ่มนี้ได้ทดสอบระบบสื่อสารการบินหลายครั้ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนำมาติดตั้งใน UAV ขนาดจริง อาทิ ได้ทดสอบการส่งสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุจากตึกสูง โดยอาศัยการทำงานเหมือนการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องติดต่อถึงกันได้ตลอดเวลาจากภาคพื้นดิน และทีมวิจัยยังต้องคำนึงถึงขนาดน้ำหนักในอุปกรณ์ต่างๆที่เน้นขนาดเล็ก เบาบาง แต่แข็งแรง เพราะนำไปติดตั้งบนเครื่องบิน จะรับน้ำหนักมากเกินไปไม่ได้ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงการส่งสัญญาณ เนื่องจากภายใน UAV ลำเดียวกันจะมีระบบสัญญาณหลักๆที่แบ่งตามการทำงานถึงสี่กลุ่ม จึงทำให้ต้องใช้คลื่นความถี่ที่หลบหลีกกัน เช่น หากส่งสัญญาณความถี่สูงไปยังเครื่องบิน สัญญาณอีกระบบจะต้องเป็นสัญญาณที่ต่ำกว่า เพื่อไม่ให้รบกวนกัน  

 
ต่อมาจะเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนตาทิพย์ของ UAV ได้แก่ กลุ่มทำหน้าที่ออกแบบและจัดสร้างระบบประมวลผลการติดต่อสื่อสารและอุปกรณ์ภาพ หรือ PAYLOADS ซึ่งมี รศ.ดร. สมชาย จิตะพันธ์กุล เป็นหัวหน้ากลุ่ม โดยกลุ่มนี้ติดตั้งระบบกล้องบนเครื่องบิน UAV โดยบน UAV จะมีทั้งกล้องภาพนิ่งหรือวิดีโอภาพเคลื่อนไหว ระบบการภาพที่ทำหน้าที่ออกแบบระบบควบคุมกล้อง จัดการเอาสัญญาณภาพส่งกลับมาภาคพื้นดิน เพื่อแปลสัญญาณเหล่านั้นเป็นสารสนเทศ ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยได้พัฒนาระบบกล้องจากการนำเข้าระบบมาจากประเทศสวีเดน และได้ทำวิศวกรรมย้อนกลับโดยใช้เครื่องนำเข้าเป็นต้นแบบ ศึกษาทั้งระบบ เช่น ระบบ software มอเตอร์ สายพาน หรือสายไฟ และอยู่ในระหว่างเขียนแบบ คำนวณอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในเครื่อง UAV ขนาดจริง โดยภารกิจหลักของ UAV ได้แก่ การลาดตระเวนถ่ายภาพ ระบบกล้องจึงต้องมีฐานที่สามารถหมุนได้และพัฒนาควบคุมให้สามารถถ่ายภาพชัดเจน ตามมุมที่ต้องการ โดยจะมีระบบบังคับคล้ายรีโมตคอนโทรลในเครื่องบินบังคับวิทยุที่จะคอยบังคับกล้องให้หมุนไปตามความต้องการ ดังนั้นสัญญาณคำสั่งจากภาพพื้นดินจะต้องมีความชัดเจนด้วย เพื่อส่งผลให้การทำงานของกล้องบนเครื่องบินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
 
ด้านหัวหน้าสำนักระบบบริหารจัดการโครงการอากาศยานไร้นักบิน พล.ต. หญิง พงษ์รุจี ศิริวัฒนะ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากต้องบริหารจัดการโครงการวิจัยขนาดใหญ่ด้วยงบประมาณกว่า 90 ล้านบาท ที่มีเทคนิคซับซ้อน และเป็นการทำงานร่วมกันกว่า 100 ชีวิตจากหลายองค์กร จึงเป็นสิ่งท้าทายของโครงการนี้ที่จะลบคำสบประมาทที่ว่า คนไทยทำงานเป็นทีมไม่ได้ หากพัฒนาเทคโนโลยีด้าน UAV ขึ้นมาในประเทศจะทำให้สามารถเรียนรู้ทั้งการใช้งานจริง การนำมาฝึกฝนนักบิน และรวมถึงการบำรุงซ่อมแซม อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านการบินสำหรับเครื่องบิน UAV ซึ่งนักบิน UAV ต้องมีความเชี่ยวชาญในการฝึกบิน โดยจะต้องมีประกาศนียบัตรการบินจากประเทศอิสราเอล โดยต้องสอบผ่านทั้งข้อเขียนและการฝึกอบรม อาทิ ต้องผ่านการฝึกเครื่องบินเล็กประมาณ 200 ชม.เครื่องบิน Half Scale 50 ชม.และเครื่อง UAV (Full Scale)ประมาณ 20 ชม. ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีนักบิน UAV เพียง 4 คนเท่านั้น จึงมีแนวความคิดเรื่องการฝึกนักบิน UAV ต่อไปด้วย
 

รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. กล่าวว่า การทำงานวิจัยในโครงการนี้ต้องใช้ความพยายามมาก แต่ทีมวิจัยก็พร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่งานวิจัยที่ก้าวหน้า อุปสรรคสำหรับโครงการวิจัยนี้ได้แก่ การเป็นโครงการใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อนในการทำงานจึงเน้นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจและประสานการทำงานอย่างเป็นระบบในการพัฒนาโครงการวิจัยที่ซับซ้อน เพื่อความสำเร็จร่วมกันและเป้าหมายที่ชัดเจนของโครงการนี้คือ ได้ต้นแบบระบบอากาศยานไร้นักบิน(UAV) ใช้เองในประเทศที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ไปพร้อมๆกับความสำเร็จของบทพิสูจน์การทำงานร่วมกันเป็นทีมของคนไทย