เนื้อหาวันที่ : 2010-12-20 14:59:19 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1329 views

ดัชนีอุตฯ ฟื้น หวั่นราคาน้ำมันฉุด แนะรัฐแก้ปัญหาแรงงาน

ส.อ.ท. เผยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน ฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ 99.7 จากเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และภาคการผลิตขยายตัว คาดสามเดือนข้างหน้าความเชื่อมั่นยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

.
ส.อ.ท. เผยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน ฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ 99.7 จากเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และภาคการผลิตขยายตัว คาดสามเดือนข้างหน้าความเชื่อมั่นยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้
.

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,030 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของ สภาอุตสาหกรรมฯ ว่า

.

ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 99.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 98.7 ในเดือนตุลาคม โดยค่าดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบของดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ  

.

โดยมีปัจจัยที่ทำให้ระดับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน คือ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี ภาคการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ ยกเว้นในพื้นที่ภาคใต้ อีกทั้งปัญหาทางการเมืองที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี

.

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 113.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.1 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะปรับตัวเพิ่มขึ้น

.

ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ ดัชนีความเชื่อมั่นของ อุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลางปรับตัวลดลง โดยอุตสาหกรรม ขนาดย่อม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 92.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับระดับ 84.0 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

ซึ่งการผลิตของอุตสาหากรรมขนาดย่อมส่วนใหญ่เพื่อการจำหน่ายในประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมก๊าซ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์          

.

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 112.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.3 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 110.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.9 ในเดือนตุลาคม โดยมีองค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเลียม

.

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 112.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.8 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลาง เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 101.7 ในเดือนตุลาคม

.

องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง 

.

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 115.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 111.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคใต้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม เนื่องจากภาคใต้เกิดอุทกภัยและดินถล่มในหลายจังหวัด

.

ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 102.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.9 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ภาวะน้ำท่วมได้คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น                

.

อุตสาหกรรมสำคัญในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (เครื่องประดับประเภทเครื่องเงินมียอดขายในประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ชิ้นส่วนโทรทัศน์ หลอดไฟ แผงวงจรมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเครื่งปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (ยอดส่งออกตู้เย็น ไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น)

.

อุตสาหกรรมอาหาร (ยอดการส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ไปอาเซียนเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมยา (ยอดขายยาสามัญประจำบ้านภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน) อุตสาหกรรมก๊าซ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.1 ลดลงจากระดับ 111.9 ในเดือนตุลาคม โดยมีองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมและผลประกอบการ

.

ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 101.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 92.7 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ ภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน             

.

อุตสาหกรรมสำคัญในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (ยอดขายหินก่อสร้าง หินประดับในประเทศเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมสมุนไพร ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 118.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 112.1 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 93.9 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ จากภาวะน้ำท่วมที่คลี่คลาย ปริมาณวัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขี้น ส่งผลต่อค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับเพิ่มขึ้น        

.

อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (ยอดขายกระเบื้องมุงหลังคา แผ่นฝ้าในประเทศเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 126.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.7 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 108.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.0 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมและผลประกอบการ ทั้งนี้ภาวะน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคตะวันออกกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก (ยอดขายโครงเหล็กและเหล็กเส้นเพิ่มขึ้น)     

.

อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (ยอดการส่งออกน้ำมันเตาไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.5 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

ส่วนภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 83.0 โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 97.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ เนื่องจากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดและเกิดดินโคลนถล่มในบางพื้นที่ สร้างความเสียหายให้กับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ 

.

อุตสาหกรรมสำคัญในภาคใต้ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและไม่มีไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง (ผลผลิตน้อยลงจากฝนที่ตกตลอดทั้งเดือนและเกิดดินโคลนถล่มในบางพื้นที่) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.6 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ

.

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลง โดยกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 100.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 98.0 ในเดือนตุลาคม

.

องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ?ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ดี อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่

.

อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 115.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.8 ในเดือนตุลาคม

.

องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ และผลประกอบการ และดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 96.6 ปรับลดลงจากระดับ 101.2 ในเดือนตุลาคม

.

องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ อุตสาหกรรมสำคัญที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ

.

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 107.8 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

.

สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันมากที่สุด รองลงมา คือ อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ทางการเมือง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามลำดับ โดยมีความกังวลเพิ่มขึ้นในปัจจัย สถานการณ์ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

.

และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนด้านการลงทุนของอุตสาหกรรมขนาดย่อม และขนาดกลาง ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพของแรงงาน พร้อมแก้ปัญหาราคาพลังงานไม่ให้สูงมากเกิน และสนับสนุนให้มีการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล