เนื้อหาวันที่ : 2010-12-07 15:09:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1493 views

มาตรการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกระทบเศรษฐกิจอาเซียน

World Growth ชี้มาตรการลดโลกร้อนเพื่อจำกัดการใช้ที่ดินและแผืนป่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอาเซียน แถมช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้เพียงเล็กน้อย


World Growth ชี้มาตรการลดโลกร้อนเพื่อจำกัดการใช้ที่ดินและแผืนป่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอาเซียน แถมช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้เพียงเล็กน้อย


ยุทธศาสตร์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของยูเอ็นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาเซียนมาตรการต่างๆจะจำกัดขอบเขตอุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
 
World Growth ซึ่งเป็นองค์กรเอ็นจีโอที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน เปิดเผยว่า ข้อเสนอเรื่องการลดโลกร้อนที่ยื่นต่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อจำกัดการใช้ที่ดินและแผืนป่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จะส่งผลกระทบในระดับที่เป็นอันตรายต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้เพียงเล็กน้อย
 
World Growth ซึ่งเป็นเอ็นจีโอที่สนับสนุนการพัฒนานั้น ระบุถึงงานวิจัยฉบับใหม่ที่ว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอีกครึ่งหนึ่งจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เห็นข้อสรุปว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าร้อนชื้นนั้น ไม่ใช่สาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก


นอกจากนี้ ทางองค์กรยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในปัจจุบันของตัวแทนเจรจาของยูเอ็นที่ได้สนับนุนโครงการต่างๆ ว่า อาจจะทุ่มเงินในโครงการลดโลกร้อนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แทนการมุ่งเน้นเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของโลก


อลัน อ็อกซ์ลีย์ ประธาน World Growth และอดีตประธาน GATT (ซึ่งกลายเป็นองค์การการค้าโลกในปัจจุบัน) กล่าวในที่ประชุมโลกร้อนที่เมืองแคนคูนว่า “ตัวแทนเจรจาจากประเทศร่ำรวย ผู้บริจาค และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังอ้างว่า ข้อตกลงว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม หรือ REDD (reduced emissions from deforestation and forest degradation) จะช่วยความยากจน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน่าอัศจรรย์ นี่เป็นข้ออ้างที่ไม่ตรงกับความจริง


งานวิจัยฉบับใหม่จาก Winrock International ซึ่งเผยแพร่ในที่ประชุมครั้งนี้ ได้ลดการประมาณการการลดก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าลงครึ่งหนึ่ง จากระดับ 17% เป็น 8% และคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงอีกเมื่อการดูดซับก๊าซคาร์บอนด้วยการเพาะปลูกต้นไม้เริ่มต้นขึ้น


นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมยังได้ให้ความกระจ่างว่า ภาคการเกษตรเป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่าในกลุ่มประเทศยากจน ข้อเสนอ REDD เพื่อจำกัดการใช้ที่ดินและผืนป่า ถือเป็นคำสั่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อกลุ่มประเทศยากจน ในการควบคุมป่าไม้และการผลิตทางการเกษตร


มาตรการเหล่านี้เพิกเฉยต่อความจำเป็นในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย รวมทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก และภูมิภาคอเมริกาใต้ ในการขยายพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อสร้างงาน อาหาร และลดความยากจน


หน่วยงานด้านการบริจาคและยูเอ็นให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบเงินจำนวนมากถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการเหล่านี้ และสัญญาว่าจะบริจาคมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น ข้อตกลง REDD ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่ได้ช่วยขจัดความยากจนให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง”