นักวิเคราะห์ ฟันธง การเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการบิน จะช่วยเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นักวิเคราะห์ ฟันธง การเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการบิน จะช่วยเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการบินมีส่วนในการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นร้อยละ 3 ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นบนท้องถนนร้อยละ 10 และเกิดจากการเกษตรกรรมร้อยละ 13 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่สูงนัก แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นร้อยละ 3 นั้นเกิดขึ้นที่ระดับความสูงมาก ซึ่งต้นไม้และพืชธรรมชาติไม่อาจดูดซึมได้
มร. คูนัล ชินฮา นักวิจัยจากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก กล่าวว่า นอกจากก๊าซเรือนกระจกแล้ว ปัจจุบันสายการบินต่างเผชิญหน้ากับการบริบทของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป (Business Landscape) โดยหลักๆแล้วเกิดจากการผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งรายจ่ายด้านค่าเชื้อเพลิงคิดเป็นหนึ่งในสามของต้นทุนการดำเนินงานของสายการบิน
สายการบินต้องลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยลงทุนด้านเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยในการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ให้ความสนใจกับพลังงานทางเลือกมากขึ้น และดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดไปได้นับพันล้านดอลล่าร์สหรัฐแต่ยังเป็นการช่วยสายการบินให้ประสบความสำเร็จ ในกาปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตอีกด้วย
แม้ว่าปัจจุบันการผลักดันด้านมาตรการต่างๆของภาครัฐเป็นไปค่อนข้างล่าช้า แต่ผู้บริการสายการบินต่างๆก็ได้แสดงความต้องการที่จะพัฒนาให้การเดินทางทางอากาศเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น
สายการบินมีการลดการใช้เชื้อเพลิงซึ่งนับว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งบางส่วนของขั้นตอนการดำเนินงานสามารถปฎิบัติได้ในทันที อาทิ การดับเครื่องยนต์ขณะเครื่องดีเลย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ มร. คูนัลยังได้กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ อุตสากรรมการบินได้ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านต่างๆ ไม่เพียงเฉพาะประสิทธิภาพของอากาศยานโดยการพัฒนาเทคโนโลยี การใช้พลังงานทางเลือกใหม่ และการเพิ่มน้ำหนัก เท่านั้น แต่ยังได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management) อีกด้วย
นอกจากนี้การลงทุนด้านการวิจัยยังเป็นการพัฒนาอุตสาหกกรมและเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาการจราจรทางอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยโซลูชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรทางอากาศ ได้แก่ Flex Routes, Continuous Descent Approach เป็นต้น
“นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และการลดน้ำหนักของเครื่องบินลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการประหยัดการใช้เชื้อเพลิง โดยเทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ บางส่วนได้มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
การใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนเช่นโบอิ้ง และแอร์บัส เราเชื่อว่านี่เป็นโอกาสที่สำคัญที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆเพื่อการลดน้ำหนักให้มากขึ้น” มร.คูนัลกล่าว
ประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องบินมีอัตราการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70 และระดับเสียงลดลงร้อยละ 75 ในช่วงระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ๆอย่างโบอิ้ง 787 และแอร์บัส 350จะเพิ่มประสิทธิผลมากขึ้นอีกร้อยละ 20
เทคโนโลยีใหม่ๆยังจำเป็นต้องหาตัวเลือกใหม่ๆเพื่อลดการปล่อยก๊าซดังกล่าว ในขณะที่สายการบินต้องมีการริเริ่มสิ่งใหม่ๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้กฎระเบียบจากสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และหน่วยงานอื่นๆยังมีส่วนในการผลักดันให้เกิดการดำเนินการดังกล่าวอีกด้วย
แม้ว่าการจราจรทางอากาศจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.2 แต่การใช้เทคโนโลยี และการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นและเครื่องมือทางเศรษฐกิจก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเติบโตของแผนรักษ์โลกต่อไป