สศค. ชี้นโยบาย QE ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง รายได้และความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกลดลง ขณะที่ต้นทุนนำเข้าก็ถูกลง
บทวิเคราะห์เรื่อง นโยบาย Quantitative Easing ของสหรัฐฯ |
. |
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค |
. |
. |
บทสรุปผู้บริหาร |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า นโยบาย QE ของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยทำให้ 1) เงินบาทแข็งค่าขึ้นและมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. 2) รายได้และความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออกลดลง 3) ต้นทุนสินค้านำเข้าถูกลง อย่างไรก็ตาม ด้านการท่องเที่ยววิเคราะห์ว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวมากนัก |
. |
ข้อเสนอเชิงนโยบาย |
. |
ในระยะปานกลางและระยะยาว |
. |
1. บทนำ |
. |
โดยนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในสหรัฐฯ เป็นต้นมา ธนาคารกลางในหลายประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ใช้นโยบาย QE เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจ ผ่านการเข้าซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอื่นๆทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ผลกระทบ |
. |
จากนโยบาย QE ได้กระทบต่อภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในบทความนี้ จะได้กล่าวถึงการใช้นโยบาย QE ของประเทศสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆผลกระทบของนโยบาย QE ต่อเศรษฐกิจไทย และนัยเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ |
. |
2. การใช้นโยบาย QE ของสหรัฐฯ หลังวิกฤตเศรษฐกิจ |
. |
มาตรการ QE ระยะที่ 1 (Q4/2551 – Q3/2553) Fed ได้ใช้มาตรการ QE เพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องในระบบธนาคารและพยุงราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยได้ให้เงินกู้ระยะสั้นแก่สถาบันการเงินผ่าน Term Auction Facilitiesกว่า 430 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และได้เข้าซื้อตราสารที่หนุนหลังโดยสินเชื่อสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Backed Securities) ผ่านโครงการ Term Asset-Backed Securities Loan Facilities (TALF) |
. |
ส่งผลให้สินทรัพย์ในงบดุลการเงินของ Fed ได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากระดับประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ย. 2551 เป็นระดับประมาณ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ย. 2553 (ภาพที่ 1) อันเป็นการเพิ่มปริมาณเงิน (High Power Money) ในระบบเศรษฐกิจกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. |
. |
ภาพที่ 1 สินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐ |
ที่มา Federal Reserve คำนวณโดย สศค. |
. |
มาตรการ QE ระยะที่ 2 (Q4/2553 – ปัจจุบัน) แม้ว่ามาตรการ QE ระยะที่ 1 จะได้ช่วยประคับประคองให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ พ้นจากวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงิน โดยจีดีพีของสหรัฐฯ ได้กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2552 ที่ร้อยละ 0.4 จากไตรมากก่อนหน้า |
. |
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเปราะบาง โดยเฉพาะในภาคตลาดแรงงานที่ยังคงมีอัตราการว่างงานที่สูงถึงร้อยละ 9.6 กว่า 2 เท่าจากระดับปกติส่งผลให้เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2553 Fed ได้แถลงมาตรการ QE รอบที่ 2 เพิ่มเติมที่จะ 1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว (Longer-Term Treasury Securities) ในวงเงิน 600 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยจะทยอยการซื้อเดือนละ 75 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงระหว่างเดือน พ.ย. 2553 ถึง มิ.ย. 2554 และ 2) |
. |
ซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มเติมอีกประมาณ 250 ถึง 300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากเงินต้นที่ได้รับคืนจากการถือหลักทรัพย์ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐบาล (Agency Debt) และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับการค้ำประกันโดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgaged-Back Securities) ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ในปัจจุบัน โดยจะทยอยการซื้อเดือนละ 35,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในระหว่างเดือน พ.ย. 2553 ถึง มิ.ย. 2554 เช่นกัน |
. |
มาตรการ Quantitative Easing คืออะไร |
. |
1) มาตรการ QE จะเพิ่มปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserve) ผ่านการให้กู้เงิน (Term Auction Credit) แก่สถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Depository Institutes) เช่น Bear Stern และ AIG เพื่อเป็นการช่วยเหลือโดยตรงแก่สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ด้วยในขณะที่ ตามปรกติธนาคารกลางจะให้กู้เฉพาะแก่ธนาคารพาณิชย์ผ่าน Discount Window |
. |
2) มาตรการ QE มีความผ่อนปรณเกี่ยวกับตราสารที่ Fed จะรับซื้อมากกว่านโยบายการเงินปกติ กล่าวคือ นอกจากจะรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ยังรับซื้อตราสารที่หนุนหลังโดยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Backed Securities) เพื่อผลในการเพิ่มปริมาณเงิน และเพื่อพยุงภาคธุรกิจบางประเภท |
. |
เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน ในขณะที่ ภายใต้นโยบายการเงินปรกติธนาคารกลางจะรับซื้อพันธบัตรผ่าน Open Market Operation เฉพาะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารกลางและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ |
. |
. |
ที่มา: Bank of England |
. |
กลไกการส่งผ่านของมาตรการ QE ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ |
. |
นอกจากนี้ การเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นการลดปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนได้คล่องตัวขึ้น (Higher Supply for Loanable Funds) |
. |
อย่างไรก็ตาม พบว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมามิได้ตอบสนองต่ออัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ซ้ำยังได้ลดลงต่อเนื่องนับจากเดือน ต.ค. 2551 ถึงเดือน เม.ย. 2553 เป็นต้นมา และยังไม่สามารถกลับไปสู่ระดับก่อนวิกฤตได้ (ภาพที่ 3) |
. |
ภาพที่ 2 ผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ |
ที่มา US Department of Treasury และ CEIC |
. |
ภาพที่ 3 สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ |
ที่มา Federal Reserve Board และ CEIC |
. |
2) ผลกระทบผ่านกลไกอัตราแลกเปลี่ยน ปริมาณเงินดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นจากนโยบาย QE ของ Fed ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม จากภาพที่ 4 จะพบว่า ดุลการค้าของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ขาดดุลที่ 131,175 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 95, 224 ล้านดอลลาร์ สรอ. |
. |
ภาพที่ 4 ดุลการค้าของสหรัฐฯ |
ที่มา Bureau of Economic Analysis และ CEIC |
. |
3. การใช้นโยบาย QE ในประเทศอื่นๆ |
. |
ตารางที่ 1 มาตรการ QE ในต่างประเทศ |
ที่มา: รวบรวมโดย สศค. |
. |
นโยบาย QE ของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น ได้ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเงินเฟ้อที่มากเกินในระยะต่อไป และจะเป็นผลอันตรายต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม หากไม่สามารถควบคุมหรือดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ (Sterilization Process) 2 ได้อย่างเพียงพอและทันท่วงที |
. |
นอกจากนี้ นโยบาย QE ยังได้สร้างปัญหาให้แก่ประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ในปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เนื่องจากปริมาณเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาจากนโยบาย QE ในประเทศพัฒนาแล้วดังกล่าว มีการเคลื่อนย้ายไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย |
. |
3. ผลกระทบของนโยบาย QE ต่อเศรษฐกิจไทย |
. |
3.1 ผลกระทบต่อภาคการเงิน |
. |
และจากการติดตามสถานการณ์เงินทุนที่ไหลเข้านับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 พบว่าเงินทุนที่ไหลเข้ามา ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตลาดพันธบัตรมากกว่าในตลาดทุน ดังแสดงในแผนภาพที่ 6 ซึ่งพบว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิถึง 2.76 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 4.6 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลงอย่างมาก |
. |
ภาพที่ 5 เงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. |
ที่มา CEIC |
. |
ภาพที่ 6 การซื้อพันธบัตรสุทธิโดยนักลงทุนต่างชาติ |
ที่มา ThaiBMA รวบรวมโดย สศค. |
. |
3.2 ภาคเศรษฐกิจจริง |
นโยบาย QE ทำค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกใน 2 ด้าน กล่าวคือ 1) ทำให้รายได้ของผู้ส่งออกลดลงทันทีเมื่อแปลงเป็นเงินบาท โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายย่อยที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก และ 2) ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออกลดลง และอาจทำให้ปริมาณการส่งออกลดลงในระยะต่อไปโดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศมาก |
. |
ทั้งนี้ ความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาสามารถพิจาณาได้จากตารางที่ 2 ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนถ่วงน้ำหนัก (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) ณ สิ้น ต.ค. 2553 ซึ่งพบว่าแข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละ 5.5 นับจากสหรัฐฯ เริ่มทำ QE ในเดือน ต.ค. 2551 และร้อยละ 6.6 จากต้นปี พ.ศ. 2553 |
. |
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าว จะยังไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนจากยอดการส่งออก ณ ปัจจุบันเนื่องจากสัญญาค้าขายระหว่างประเทศมักจะทำไว้ล่วงหน้า สำหรับผู้นำเข้า การแข็งค่าของเงินบาท จะทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้าถูกลงเมื่อแปลงเป็นเงินบาท อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่อง ก็จะชะลอการนำเข้าสินค้าออกไป ทำให้ประโยชน์จากการนำเข้ายังไม่เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน |
. |
ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้น ต.ค. 2553 |
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: REER เป็นการเปลี่ยนแปลงนับถึงสิ้น ก.ย. 2553 |
. |
ภาพที่ 7 สัดส่วนนักท่องเที่ยว ม.ค. – ก.ย. 2552 |
ที่มา สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ CEIC |
. |
ด้านการท่องเที่ยววิเคราะห์ว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวมากนัก ดังแสดงในภาพที่ 7 พบว่า ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.ย. 2553 นักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยนั้นร้อยละ 57.4 เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย หรือคิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 6.43 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.7 ต่อปี แม้ว่าค่าเงินโดยเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการแข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับประเทศไทย |
. |
4. บทสรุปและนัยเชิงนโยบาย |
. |
อย่างไรก็ตาม จากที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการ QE มากว่า 2 ปี ผลกระทบที่ได้จากมาตรการดังกล่าว กลับมิใช่ตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯที่ลดลง ในทางตรงกันข้าม ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นได้ส่งต่อผลกระทบไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกผ่านปริมาณของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทยแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
. |
แม้ว่ามาตรการ QE จะเป็นปัจจัยภายนอกที่ประเทศไทยไม่สามารถควบคุมได้ แต่ผลกระทบในด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยจากมาตรการดังกล่าว สามารถบรรเทาลงได้ด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสม นอกจากนี้ อาจถือเป็นจังหวะและโอกาสอันดีที่ไทยจะพิจารณาใช้ประโยชน์จากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า กล่าวคือ |
. |
ในระยะสั้น |
1. รัฐบาลดำเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายย่อยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการการประกันความเสี่ยงได้ หรือมีต้นทุนสูงในการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งกระทรวงการคลังได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกรายย่อยไปแล้ว ผ่านกระบวนการให้สินเชื่อและค้ำประกันของสถาบันการเงินของรัฐ ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนควรพิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินในการประกันความเสี่ยงจากเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ด้วยเช่นกัน |
. |
2. ภาครัฐควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนควรใช้โอกาสจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ในการนำเข้าเครื่องจักรและสินค้าทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตในอนาคต |
. |
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลการแข็งค่าของเงินบาทไม่ให้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงหรือเร็วเกินไป เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม |
. |
ในระยะปานกลางและระยะยาว |
1. ภาครัฐเร่งเสริมสร้างอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการจ้างงาน อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศในอนาคต |
. |
2. ภาครัฐควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีสินค้าคุณภาพที่มีตรายี่ห้อของตนเองแทนการเป็นฐานการผลิตสินค้าราคาถูก เพื่อลดผลกระทบจากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาท |
. |
3. ภาครัฐเร่งเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อติดตามและร่วมกันบริหารจัดการเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในภูมิภาค |
. |
1 ผู้เขียน ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร ดร.สิริกมล อุดมผล และนายณพัชร หวังรุ่งวิชัยศรี ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคสำหรับคำแนะนำ |
. |
2 ในเดือน พ.ค. 2553 ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (European Central Bank: ECB) ได้ดำเนินนโยบาย Security Market Program เพื่อช่วยเหลือภาคการเงินของยุโรป โดยการซื้อสินทรัพย์รัฐบาล และปล่อยกู้ระยะสั้นให้แก่สถาบันการเงิน |
. |
ทั้งนี้การดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้งบดุลของ ECB เพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนล้านยูโร อย่างไรก็ตาม งบดุลของ ECB ณ ปัจจุบัน ได้ลดลงมาสู่ระดับก่อนเริ่มมาตรการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ECB ได้ทำการ Sterilization อย่างชันเจน จึงไม่ถือว่าเป็นนโยบาย QE |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |