ไต้หวันเน้นกลยุทธ์สร้างแบรนด์สากลประกาศศักยภาพขึ้นแท่น 1 ใน 5 ผู้นำนวัตกรรมโลก พร้อมขยายตลาดสู่อาเซียนและไทย ตั้งเป้า 5 ปีขึ้นเบียดญี่ปุ่น เยอรมัน
. |
ไต้หวันเน้นกลยุทธ์สร้างแบรนด์สากลประกาศศักยภาพขึ้นแท่น 1 ใน 5 ผู้นำนวัตกรรมโลก พร้อมขยายตลาดสู่อาเซียนและไทย ปักธง 5 ปีขึ้นเบียดญี่ปุ่น เยอรมัน |
. |
ไต้หวันประกาศศักยภาพขึ้นแท่นผู้นำประเทศผู้ผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ตั้งเป้าอีก 5 ปีผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักกลให้ได้ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่อันดับที่ 3 ของโลก รองจากญี่ปุ่นและเยอรมัน มุ่งเน้นบุกตลาดจีนและยุโรป พร้อมขยายฐานลูกค้าอาเซียนโดยเฉพาะในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาด้านการสร้างแบรนด์ระดับสากลภายใต้แนวคิด Branding Taiwan |
. |
มร. จัสติน ไท ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทย เปิดเผยว่าไต้หวันถือเป็นประเทศผู้ผลิตนวัตกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยยอดการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลของไต้หวันมีส่วนแบ่งในตลาดโลกมากถึงเกือบร้อยละ 75 ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลไต้หวันได้ทำข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ระหว่างไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ |
. |
โดยประเทศไทยจัดเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนสำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักกลของไต้หวัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – สิงหาคม 2553) ประเทศไทยนำเข้าสินค้าเครื่องมือเครื่องจักรจากไต้หวันสูงขึ้น 69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดการนำเข้าคิดเป็น 74.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,220 ล้านบาท โดยเครื่องกลึงและเครื่องตัดเหล็กถือเป็นสินค้าที่มียอดการเติบโตสูงที่สุด อยู่ที่ 224% |
. |
“กระทรวงเศษรฐกิจของไต้หวันได้มุ่งมั่นผลักดันอุตสาหกรรมของไต้หวันให้มีการพัฒนาด้านการสร้างแบรนด์ระดับสากล และสร้างบรรยากาศในการเจริญเติบโตแก่ภาคอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี 2549 ภายใต้แนวคิด Branding Taiwan โดยหลังจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลของผู้ประกอบการไต้หวันในงาน METALEX 2010 ที่ผ่านมา |
. |
ซึ่งผู้ประกอบการได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรแห่งไต้หวัน ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักร ปัจจุบันมีสมาชิก 2,376 รายในทุกกลุ่มธุรกิจหลัก |
. |
รวมถึงผู้แทนจำหน่ายและผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ทั้งยังได้สร้างความมั่นใจให้กับทางสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทยว่าทางประเทศไต้หวันมีสินค้าที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดประเทศไทย สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องมือและเครื่องจักกลของไต้หวันที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกคือเครื่องตัดเหล็ก เครื่องกลึง และเครื่องตั้งศูนย์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 70% ของยอดส่งออกทั้งหมด |
. |
ซึ่งเครื่องกลึง เติบโต 23% เครื่องตั้งศูนย์ เติบโต 16.5% ต่อปีตามลำดับ ในระหว่างปี 2553-2558 ไต้หวันคาดว่าจะสามารถส่งออกเครื่องตั้งศูนย์ได้ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องกลึง 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องหล่อโลหะ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเครื่องเจาะแบบหลายแฉก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ” มร.จัสติน ไท กล่าว |
. |
ทั้งนี้ในปี 2553 นี้ คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลของไต้หวันจะมีมูลค่ารวมการผลิตสูงถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวได้เกินร้อยละ 20 ซึ่งจะส่งผลให้ไต้หวันเป็นประเทศผู้ผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก |
. |
นอกจากนี้ ประเทศไต้หวันยังตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2558 จะสามารถผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักกลให้ได้มูลค่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบได้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจาก ญี่ปุ่นและเยอรมัน ทั้งนี้ในระหว่างปี 2553-2558 คาดว่าจะสามารถส่งออกผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักกลไปยังประเทศจีนได้ 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
เนื่องจากจีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ส่วนการส่งออกไปยังยุโรปตะวันตกถือเป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับสองโดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ ทางกลุ่มประเทศในแถบยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือและประเทศทางแถบภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทยก็ถือเป็นตลาดที่สำคัญที่จะสามารถส่งออกสินค้าไปได้โดยมีมูลค่ากว่า 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ |