ขณะที่ผู้นำรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก พยายามรื้อฟื้นชุบชีวิตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้กลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง โดยอ้างความมั่นคงทางพลังงาน อีกมุมหนึ่งพลเมืองทั่วโลกต่างขัดขืน ต่อต้าน เพื่อรักษาวิถีชีวิตของเช่นกัน
โดย ธารา บัวคำศรี |
. |
. |
แม้ว่าผู้นำรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงชนชั้นนำผู้วางแผนนโยบายพลังงาน ของประเทศไทยกำลังชุบชีวิต พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์) ให้กลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคงของการจัดหาพลังงาน(Security of Supply) แรงกดดันจากภาวะโลกร้อน(Climate Change) ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สูงขึ้นและต้นทุนการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ที่แข่งขันได้ เหตุผลต่างๆ เหล่านี้กำลังได้รับการท้าทายจากอารยะขัดขืนของพลเมืองทั่วโลก |
. |
ในอินเดีย รัฐบาลวางแผนสร้างสวนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชัยตาปัว ในอำเภอรัตนคีรีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐมหาราช สวนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ดังกล่าวนี้จะมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 8 หน่วยที่ซื้อมาจากบริษัทอารีวา อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส |
. |
นอกจากภัยคุกคามที่ซ่อนเร้นของพลังงานนิวเคลียร์ โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงนับหมื่นคน ต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ชุมชนท้องถิ่นนับพันได้ลุกขึ้นมาประท้วงโครงการ โดยอาสาตัวเองเพื่อเสี่ยงต่อการถูกจับกุมและการฟ้องร้องทางกฎหมายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
. |
สิ่งที่ชุมชนเกษตรกรรมและประมงแห่งชัยตาปัวนั้นชัดเจนคือ พวกเขาต้องปกป้องผืนดินและแหล่งประมงชายฝั่ง และยืนยันไม่รับเงินค่าชดเชยการอพยพจากอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ จากการลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้ ตำรวจได้จับกุมชาวบ้านทั้งหญิงและชายกว่า 600 คน ใส่รถบัสและส่งเข้าคุก ชาวบ้านอีกกว่า 700 คน ยังคงยืนหยัดประท้วงอย่างสันติและเสี่ยงต่อการจับกุม |
. |
. |
ผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายคนในอินเดียยังเข้าร่วมการประท้วงอย่างสันตินี้ เช่น อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา พี บี สวัน และพลเรือเอกรามดาสซึ่งเคยได้รับรางวัลแมกไซไซ มีรายงานว่าพวกเขาถูกจับกุมบนทางหลวงห่างจากพื้นที่ประท้วง 20 กิโลเมตร |
. |
ลักษณะของโครงการนิวเคลียร์ที่ชัยตาปัวเป็น “ความละเลยที่ต้องตกตะลึง” ไม่ว่าจะเป็นการเลือกพื้นที่ในเขตที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว พื้นที่ที่มีคุณค่าทางนิเวศวิทยา การกำหนดเวลาที่ไม่เพียงพอเพื่อทบทวนความเสี่ยงของการออกแบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งยังไม่เคยมีการดำเนินการที่ใดในโลกนี้ ด้วยเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้และความบกพร่องอื่น ๆ เตาปฏิกรณ์สามารถก่อให้เกิดความไม่เลี่ยงที่ไม่อาจยอมรับได้ |
. |
ชุมชนท้องถิ่นต่างก็คัดค้านหน่วยงานรัฐที่เข้ามากว้านซื้อที่ดิน พวกเขาคิดว่าผืนดินมีคุณค่ามากกว่างานที่อาจที่ได้ทำในสวนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และเงินอีกเล็กๆ น้อยที่เป็นค่าที่ดิน พวกเขาปฏิเสธการชดเชยที่เสนอโดยรัฐ สัตยาจิต สวาน นักกิจกรรมที่เข้าร่วมการประท้วงที่ชัยตาปัวกล่าวว่า “มันดูเหมือนเป็นรัฐตำรวจมากกว่า ตอนที่มีการประกาศมาตรการฉุกเฉินเพื่อคงไว้ซึ่งกฎหมายและระเบียบ รัฐบาลปฏิบัติการสวนทางกับความต้องการของพลเมืองของตนเอง” |
. |
รายงานที่จัดทำโดยกรีนพีซและผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์แห่งยุโรปชี้ให้เห็นว่า พลังงานจากแสงอาทิตย์สามารถจัดจ่ายไฟฟ้าในราคาที่แข่งขันได้ภายในปี ค.ศ.2015 ซึ่งเป็นเวลา 3 ปีก่อนที่เตาปฏิกรณ์หน่วยแรกจะเริ่มดำเนินการในชัยตาปัว พลังงานลมและชีวมวลนั้นสามารถแข่งขันในตลาดพลังงานได้เรียบร้อยแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องนำเข้าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่อันตรายและเป็นหายนะ |
. |
ในเยอรมนี การขับเคลื่อนพลังของประชาชนเพื่อคัดค้านการจัดเก็บกากกัมมันตรังสีและการยืดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่ 17 แห่งในประเทศ ออกไปอีกเป็น 12 ปีโดยเฉลี่ย ถือเป็นการรวมพลังพลเมืองครั้งใหญ่เพื่อยืนหยัดกับความบ้าคลั่งนิวเคลียร์ของรัฐบาล |
. |
. |
การประท้วงเพื่อต่อต้านการขนส่งและกักเก็บกากกัมมันตรังสี หรือ Anti-CASTOR (Cask for Storage and Transport of Radioactive material) ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน 2553 นี้ ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมา ผู้เข้าร่วมปฏิบัติการอารยะขัดขืนของพลเมืองครั้งนี้มีทุกเพศทุกวัย |
. |
เป็นทั้งเกษตรกรและนักการเมือง กลุ่มสิ่งแวดล้อมและกลุ่มเยาวชน เป็นการเคลื่อนไหวของประชาชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยพวกเขารวมตัวกันภายใต้เป้าหมายหนึ่งเดียว คือเปล่งเสียงว่า “ไม่เอานิวเคลียร์!!!” |
. |
การชุมนุมประท้วงครั้งนี้ยังเป็นการประท้วงของคนทุกรุ่น สมาชิกทั้งครอบครัวออกมาพร้อมเพรียงกันเพื่อแสดงสมานฉันท์กับชุมชนท้องถิ่นซึ่งทำการประท้วงการจัดการกากกัมมันตรังสีในช่วง 30 ปีท่ีผ่านมา การชุมนุมครั้งนี้ขยายวงกว้างอันเนื่องมาจากการตัดสินใจของนางเมอร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีและรัฐบาลของเธอที่ยกเลิกการกำหนดเส้นตายในการทะยอยปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่ออกไป |
. |
นายคูมิ ไนดู ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซสากล ซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมนี้ ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเมอร์เคลยุติความบ้าคลั่งนิวเคลียร์และให้เยอรมนีนึกถึงความเป็นผู้นำในการปฏิวัติพลังงานที่แท้จริงแทนที่จะย้อนกลับไปสู่ยุคปรมาณูที่ล้าหลังหมดสมัย สำหรับเยอรมนีแล้ว พลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่จำเป็น เยอรมนีคือผู้นำโลกในด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดซึ่งมีการจ้างงานนับหลายแสนคนในปัจจุบัน |
. |
การขนส่งกากนิวเคลียร์ CASTOR เป็นตัวอย่างหนึ่งของความบ้าคลั่งนิวเคลียร์ที่จำต้องยุติลง มันเป็นขบวนรถไฟขนส่งถังบรรจุกากนิวเคลียร์ 100 ตัน จำนวน 11 ถัง กากนิวเคลียร์เหล่านี้ได้รับการแปรรูปในฝรั่งเศสและถูกส่งกลับคืนมายังเยอรมนีทุกๆ ปี |
. |
. |
เพื่อจัดเก็บการวัดระดับรังสีของถังบรรจุกากนิวเคลียร์ดังกล่าวนี้ที่ทำโดยหน่วยงาน ANDRA (National Agency for Radioactive Waste Management) ระบุว่า รังสีในแต่ละถังมีระดับรังสีสูงกว่าที่มีการปล่อยออกมาจากเชอร์โนบิลในปี ค.ศ.1986 การขนส่งการนิวเคลียร์ CASTOR นี้จึงถือเป็น “เชอร์โนบิลเคลื่อนที่” โดยแท้ |
. |
จุดหมายสุดท้ายของขบวนรถไฟขนส่งกากนิวเคลียร์อยู่ที่เมืองกอร์เลเบน (Gorleben) เยอรมนี ซึ่งมันจะถูกนำไปเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บกากนิวเคลียร์ที่ไม่มีความเหมาะสมในทางธรณีวิทยา แน่นอน ไม่มีที่ใดที่เหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ไม่มีคำตอบแน่ชัดต่อปัญหากากกัมมันตรังสี และด้วยเหตุนี้เองที่ผู้คนในกอร์เลเบนจึงได้ลุกขึ้นมาชุมนุมประท้วงทุกปี และครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน |
. |
เกษตรกรในพื้นที่ได้เปิดบ้านของตนเองเพื่อรับผู้ชุมนุมจากพื้นที่อื่น ๆ ในเยอรมนีและจากประเทศข้างเคียงในยุโรป อารยะขัดขืนของประชาชนในกอร์เลเบนได้ส่งสารที่สำคัญและทั่วถ้วน นั่นคือ “เราจะไม่ก้มหัวให้กับรัฐบาลที่สมยอมให้กับผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์แทนผลประโยชน์ของประชาชน” |