เนื้อหาวันที่ : 2010-11-12 15:31:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1337 views

เอเชีย บ่อทองของอุตฯ บัตรอัจฉริยะและระบบชำระเงิน

การเปลี่ยนมาใช้ระบบชิพมาตรฐาน EMV ในเอเชียมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากการที่ระบบได้รับการยอมรับในฐานะมาตรฐานโลก นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมบัตรอัจฉริยะและระบบชำระเงิน

.

การเปลี่ยนมาใช้ระบบชิพมาตรฐาน EMV ในเอเชียมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากการที่ระบบได้รับการยอมรับในฐานะมาตรฐานโลก นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมบัตรอัจฉริยะและระบบชำระเงิน

..

งานมหกรรมเทคโนโลยี CARTES in Asia ขยายโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมบัตรอัจฉริยะและระบบชำระเงิน

หนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอุตสาหกรรมบัตรอัจฉริยะทั่วโลก ยังคงได้แก่ ความสามารถที่ครอบคลุมบริการทางการเงิน (รวมถึงการค้าปลีกและการสร้างความภักดีต่อสินค้า) การเติบโตของตลาดบัตรชำระเงินทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปเอเชียแปซิฟิกนั้น ยังคงขับเคลื่อนการจัดส่งบัตรอัจฉริยะทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

.

บริษัทผู้ร่วมแสดงสินค้าในงาน CARTES in Asia 2011 จะได้รับประโยชน์จากทั้งเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตและความต้องการระบบรักษาความปลอดภัยแบบดิจิตอลในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก

.

การเปลี่ยนมาใช้ระบบชิพมาตรฐาน EMV (Europay MasterCard Visa) ในเอเชียมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลจากการที่ระบบได้รับการยอมรับในฐานะมาตรฐานโลก

.

ในเอเชียแปซิฟิก อัตราการเติบโตของการใช้บัตรชิพมาตรฐาน EMV ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่า 70% ในขณะที่อัตราการยอมรับของจุดให้บริการ EMV (POS) นั้นสูงกว่า 150%  ทั้งนี้ ปัจจัยเกื้อหนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบชิพมาตรฐาน EMV ในเอเชีย ได้แก่ ความพยายามป้องกันการทุจริต (ข้ามทวีป) และการมีกฎบังคับโดยภาครัฐในบางตลาด

.

เช่น มาเลเซีย (เมื่อปี 2006) เกาหลี (เมื่อปี 2008) และ อินโดนีเซีย (ปี 2010) นอกจากนี้ การที่ธนาคารต่างๆในบางตลาด เช่น ไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซีย ต่างใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างทางการแข่งขันนั้นยังเป็นปัจจัยผลักดันให้บัตรที่บรรจุแอพพลิเคชั่นได้หลากหลายถูกนำมาใช้ในทวีปนี้ ปัจจุบัน มีธนาคารหลายแห่ง มากขึ้นเรื่อยๆ ที่ปรับโครงสร้างสู่ตลาด EMV ใหม่อย่างเต็มตัว อาทิ ในฮ่องกงและออสเตรเลีย

.

เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่ภาครัฐได้ผ่านข้อบังคับ EMV ในปี 2005 ซึ่งบังคับให้บัตรต่างๆ ที่ธนาคารออกให้ต้องเป็นบัตรติดชิพที่รองรับระบบ EMV จึงไม่แปลกใจเลยว่า ภาคธนาคารมีสัดส่วนในตลาดบัตรอัจฉริยะใหญ่ที่สุดคิดเป็น 18.7 ล้านหน่วย หรือ 40% ของการจัดส่งบัตรทั้งหมดในปี 2009

.

ทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิกมีความต้องการระบบไร้สัมผัสเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอย่างมาเลเซียและเกาหลี ซึ่งมีการใช้ระบบไร้สัมผัสในการขนส่งและการทำธุรกรรมค้าปลีก แม้ว่าระบบควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขนส่งยังคงเป็นแอพพลิเคชั่นหลักในตลาดบัตรอัจฉริยะไร้สัมผัส

.

แต่ผู้ใช้หลายรายก็เริ่มศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีไร้สัมผัสเพื่อจะคิดค้นแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงบรรดาสมาคมผู้ผลิตบัตรและธนาคารสมาชิกที่ต้องการค่าโอนต่ำ รวดเร็ว และสะดวกสบาย ณ จุดให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการบัตรประจำตัวที่มีอายุการใช้งานยาวนานและเอกสารการเดินทางที่เพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายแก่ประชาชน

.

ในประเทศญี่ปุ่น ทุกวันนี้ 73% ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดมีชิพไร้สัมผัสแบบ Felica แล้ว โดยบริษัท Do Co Mo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ได้เปิดตัว “Osaifu-Keita” (โทรศัพท์มือถือพร้อมฟังก์ชั่นชำระเงิน) ที่สามารถเป็นได้ทั้งบัตรผ่านโดยสาร บัตรสมาชิก

.

ตั๋วกิจกรรมบันเทิง หรือบัตรส่วนลด กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และกุญแจควบคุมการเข้าออกเคหสถาน ขณะนี้ ความต้องการ “Osaifu-Keita” สูงเกิน 30 ล้านเครื่องแล้วและมีร้านค้าร้านอาหารจำนวนเกือบหนึ่งล้านแห่งใช้วิธีการชำระเงินแบบนี้

.

ทวีปเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดใหญ่สำหรับการชำระเงินบนโทรศัพท์มือถือ บริษัทวิจัย Gartner ได้เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดที่คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ใช้ในทวีปนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 50% จาก 41.8 ล้านรายเมื่อปีที่แล้ว เป็น 62.8 ล้านรายในสิ้นปี 2010

.

Sandy Shen ผู้อำนวยการวิจัยของ Gartner อธิบายว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของการชำระเงินบนมือถือ โดยเสนอทางเลือกในการชำระเงินตามความต้องการของผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็สร้างระบบนิเวศและโครงสร้างที่จะประคองและตอบสนองความต้องการในตลาด

.

ตัวเลขของ Gartner แสดงให้เห็นว่าบริการข้อความสั้น (SMS) เป็นเทคโนโลยีชำระเงินบนมือถือที่ใช้อยู่เป็นหลักในภูมิภาคนี้ แต่ขณะเดียวกัน บริษัทวิจัยแห่งนี้ยังได้กระตุ้นเตือนให้สถาบันการเงินอย่ามองข้ามเทคโนโลยี NFC ในฐานะทางเลือกที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต

.

ในประเทศจีน The Global Times คาดการณ์ว่าตลาดการชำระเงินบนมือถือจะเติบโตขึ้นอย่างมากมายในอีกสองปีข้างหน้า โดยจะมีจำนวนผู้ใช้เกิน 100 ล้านคนภายในปี 2011 ปัจจุบัน ประเทศจีนมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 785 ล้านคน ซึ่งนับเป็นเพียงครึ่งเดียวของประชากรทั้งหมด และหลายคนไม่คุ้นเคยกับการใช้บัตรธนาคารในการทำธุรกรรม

.

การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือจึงกลายเป็นทางเลือกนอกเหนือจากบัตรและเงินสด และเราน่าจะได้เห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งของตลาดนี้ในประเทศจีนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ในปีนี้ Watchdata ขายซิมชำระเงินบนมือถือไปแล้วมากกว่า 500,000 ซิม และคาดว่าจะจัดส่งอีก 700,000 ซิม ได้ภายในสิ้นปีนี้

.

ผู้แสดงสินค้ารายใหญ่เข้าร่วมงาน CARTES in Asia เพื่อผลประโยชน์จากตลาดที่มีพลวัตรสูงนี้

เมื่อต้นปีนี้ American Express ได้เข้าร่วมและบรรยายในวันเปิดของงานมหกรรม CARTES in Asia ในปีนี้ และวางแผนที่จะเข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน CARTES in Asia ปี 2011 ที่จะถึงนี้ Patricia Partelow รองประธานฝ่ายระบบชำระเงิน Emerging Payments ของ American Express กล่าวไว้ว่า “นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ และเอเชียก็จัดอยู่ในแถวหน้าของเทคโนโลยีการชำระเงินแบบใหม่

.

อาทิ ระบบไร้สัมผัสและระบบเคลื่อนที่ American Express ประสงค์จะร่วมกับผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้นำเสนอศักยภาพใหม่ๆ แก่ผู้ออกบัตรและผู้ใช้บัตรของเรา CARTES in Asia 2011 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมระบบชำระเงินทั่วเอเชีย”