เนื้อหาวันที่ : 2010-11-12 14:36:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1301 views

แกรนท์ ธอร์นต้น ชี้เศรษฐกิจไทยอนาคตสดใส

แกรนท์ ธอร์นต้น คาด GDP ไทยปี 53 โต 5.5% รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว การนำเข้าโตเฉียด 15% เหตุอุปสงค์ภาคการผลิตและการบริโภคภาคเอกชนพุ่ง

.

แกรนท์ ธอร์นต้น คาด GDP ไทยปี 53 โต 5.5% รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว การนำเข้าโตเฉียด 15% เหตุอุปสงค์ภาคการผลิตและการบริโภคภาคเอกชนพุ่ง

.

แกรนท์ ธอร์นต้น เปิดเผยรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติ หรือ “International Business Report: Thailand Country Focus” โดยเป็นการเปรียบเทียบประเทศไทยกับอีก 35 ประเทศในหลายมุมมอง อาทิ ทัศนคติด้านบวกต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน ความคาดหวังต่อรายรับ ข้อจำกัดในการเติบโตของธุรกิจ ความคาดหวังต่อความสามารถในการทำกำไร การสนับสนุนของหน่วยงานที่ให้กู้ยืมเงิน การควบรวมกิจการ และทักษะของบุคลากร

.
มุมมองจากทั่วโลก

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ The Grant Thornton International Business Report (IBR) 2010 เป็นรายงานประจำปีที่สำรวจทัศนคติของผู้บริหารระดับอาวุโสในธุรกิจเอกชน (Privately Held Businesses: PHBs) กว่า 7,400 ราย ใน 36 ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2009 แล้ว ผลการสำรวจของปีนี้เผยว่าธุรกิจในเกือบทุกประเทศมีทัศนคติด้านบวกสูงขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้า

.

นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ที่ประเทศชิลีนำประเทศอินเดียในฐานะประเทศที่มีทัศนคติด้านบวกสูงสุด ด้วยดุลยภาพสุทธิ ที่ +85% (-24% เมื่อปี 2009) ตามด้วยอินเดียที่มีค่าดุลยภาพใกล้เคียงกันที่ +84% ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงอยู่อันดับท้ายสุดด้วยดุลยภาพที่ -72%

.

ทั้งนี้ โดยรวมแล้ว ทัศนคติด้านบวกของธุรกิจทั่วโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นจากปี 2009 โดยในปีนี้ ค่าดุลยภาพที่ +24% จากธุรกิจในทุกประเทศนั้นแสดงทัศนคติด้านบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศของตน เปรียบเทียบกับค่าดุลยภาพที่ -16% เมื่อปี 2009

.

สำหรับประเทศไทย รายงานของปีนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับประสบการณ์และทัศนคติของผู้บริหารธุรกิจเอกชน ตลอดจนผลกระทบของความผันผวนของเศรษฐกิจต่อธุรกิจ และการรับมือกับการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจของประเทศ

.
มุมมองภายในประเทศ

ประเทศไทยมีอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้นสำหรับโอกาสทางธุรกิจและการฟื้นตัวจากการส่งออก แม้ว่าเกิดความไม่สงบทางการเมืองและการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 1-2 ก็ตาม

.

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวมในปี 2010 นั้นปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมาก แม้ว่าความไม่สงบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้จะส่งผลให้รายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวลดลง ในส่วนของ GDP ก็ขยายตัวอย่างไม่คาดฝันที่ 0.2% ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งตรงข้ามกับคาดการณ์ที่ว่า GDP จะหดตัวลง 3.5% เนื่องมาจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ

.

ทั้งนี้ รายงานของเราแสดงให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศไทยมีทัศนคติด้านบวกสูงขึ้นอย่างมากในปีนี้ เมื่อมองเศรษฐกิจโดยรวม แม้ว่าธุรกิจจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวอยู่ในขาขึ้นในปลายปี 2010 ยิ่งไปกว่านั้น ในด้านความคาดหวังในการทำกำไร ค่าดุลยภาพ (ของธุรกิจในประเทศไทยที่คาดหวังจะเพิ่มผลกำไร) สูงขึ้น 50% ในปีนี้เป็น +30%”

.

The Grant Thornton IBR 2010 รายงานว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2010 มีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาโดยเป็นผลจากการส่งออก อย่างไรก็ตาม การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือนมีนาคม 2010 ได้ฉุดรั้งการเติบโตและส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

.

ในขณะเดียวกัน การแข่งขันที่สูงขึ้นในระดับนานาชาติ บ่งบอกว่าประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับทักษะแรงงานและความสามารถในการผลิตเพื่อให้แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

.
นอกจากนี้ มีสัญญาณบ่งชี้ที่สำคัญประการอื่นๆ ได้แก่: 

          การส่งออกเดือนมิถุนายนสูงขึ้น 46% เป็นมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 40% เป็น 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

.

          ธุรกิจในประเทศไทยมีทัศนคติด้านบวกสูงขึ้นอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในปี 2010 โดยมีค่าดุลยภาพทิศนคติด้านบวก/ลบสูงขึ้นอย่างมาก จาก -63% เมื่อปี 2009 เป็น +12% ในปี 2010

.

          ค่าดุลยภาพของธุรกิจในประเทศไทยที่คาดหวังว่าการจ้างงานจะขยายตัวในปี 2010 อยู่ที่ +28% เปรียบเทียบกับ -1% เมื่อ 12 เดือนก่อนหน้า ส่วนค่าเฉลี่ยสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสูงขึ้น 25% จาก +8% เมื่อปี 2009 เป็น +33% 

.

          ความคาดหวังต่อรายรับสูงขึ้น 53% เป็น +39% ในปีนี้ จาก -14% เมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมา
          ความคาดหวังต่อความสามารถในการทำกำไรนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิก (26%)

.
มองไปภายภาคหน้า

คาดการณ์ระบุว่า GDP ของประเทศไทยน่าจะเติบโตในอัตรา 5.5% ในปี 2010 โดยเป็นผลจากการขยายตัวของคู่ค้าของประเทศไทย โดยเฉพาะในเอเชียที่คาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตเป็น 11.3% ในปี 2010 นอกจากนี้ คาดว่าการนำเข้าจะมีการเติบโตใกล้เคียง 15%

.

เนื่องด้วยอุปสงค์จากอุตสาหกรรมการผลิตและการบริโภคจากภาคเอกชนสูงขึ้น ส่วนการท่องเที่ยว คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปีเนื่องจากเชื่อว่าการฟื้นตัวจากผลกระทบของการชุมนุมทางการเมืองที่ใช้เวลา 6 เดือน

.

อุตสาหกรรมการจัดการประชุมและสัมมนาก็เป็นอีกหนึ่งที่น่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่แล้วการจัดอีเว้นท์จะมีการวางแผนล่วงหน้าประมาณ 18 เดือน – 2 ปี และเนื่องจากประเทศไทยมีความไม่สงบทางการเมืองเกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงทำให้ทางผู้จัดงานต่างยกเลิกและมองหาประเทศอื่นในเอเชียเป็นสถานที่จัดงานแทน ดังนั้น เราจึงคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการจัดประชุมสัมมนาน่าจะใช้เวลาค่อนข้างนาน

.

ในปี 2011 มีการคาดการณ์ว่า GDP จะขยายตัวช้าลงเนื่องจากการส่งออกไม่น่าจะเติบโตในอัตราเดียวกันกับในปี 2010 เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกาและยุโรป

.

ส่วนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2011 นั้น หากมีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นอีกครั้ง ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคการลงทุนจะมีการเติบโตเพียงแต่ไม่อยู่ในระดับเดียวกันกับปี 2010