ช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดและแพร่หลายไปทั่วโลก หลายประเทศต่างได้ประโยชน์จากการเป็น "ผู้คิดค้นและพัฒนา" ขณะที่ไทยยังอยู่ในฐานะ "ผู้ใช้" ที่ต้องลงทุนมหาศาลเพื่อนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
. |
ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดและแพร่หลายไปทั่วโลก หลายประเทศต่างได้ประโยชน์จากการเป็น “ผู้คิดค้นและพัฒนา” แต่อีกฟากหนึ่ง ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ยังอยู่ในฐานะ “ผู้ใช้” ที่ต้องลงทุนมหาศาลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ได้ชื่อว่า “ใหม่ล่าสุด” ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ |
. |
โดยเฉพาะส่วนของซอฟต์แวร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ไทยจึงจำเป็นต้องส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองให้มากขึ้นเพื่อลดการนำเข้า รวมทั้งมองหาตลาดซอฟต์แวร์ในต่างประเทศให้แก่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย |
. |
สิ่งแรกที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างเห็นตรงกัน คือ การพัฒนาคน นั่นคือการบ่มเพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงเสริมศักยภาพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งนี้ ทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต |
. |
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ในฐานะหนึ่งในหัวเรือใหญ่ในการพัฒนาวงการไอซีทีของไทย จึงได้จัดทำโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ภายใต้ “โครงการสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก” โดยในระยะแรกได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ในระดับนักเรียนและนิสิต/นักศึกษา ซึ่งก็ได้รับความสนใจมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเพิ่มขึ้นทุกปี |
. |
ต่อมาได้ขยายขอบเขตการดำเนินโครงการ โดยจัดให้มีเวทีการแข่งขันในระดับประเทศและใช้ชื่อเป็น “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย” (National Software Contest – NSC) ในปี พ.ศ. 2542 |
. |
เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนและนิสิต/นักศึกษามีโอกาสฝึกฝนทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้งนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีเงินทุนสนับสนุนเป็นแรงจูงใจ พร้อมความภาคภูมิใจจากการได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
. |
ตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าแนวทางส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ของเนคเทคนั้นประสบผลสำเร็จเกินความคาดหมาย เห็นได้จากจำนวนโครงการที่เสนอเข้ามาเพื่อขอรับทุนสนับสนุนเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี อีกทั้งยังมีคุณภาพ ความหลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นอีกด้วย นับถึงปัจจุบัน เนคเทคได้สนับสนุนโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปแล้วทั้งสิ้น 6,358 โครงการ |
. |
จากที่เสนอมาทั้งสิ้นกว่า 11,936 โครงการ จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศกว่า 150 สถาบัน ซึ่ง “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการคัดสรรผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ 2553 (TESCA 2010) โดย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานวงการซอฟต์แวร์ในประเทศไทย |
. |
เด็กไทยสร้างชื่อ |
นอกจากจัดการแข่งขันในประเทศแล้ว เนคเทคยังได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ส่งผลงานซอฟต์แวร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในงาน Asia Pacific ICT Awards (APICTA) อีกด้วย |
. |
งาน APICTA จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนำเสนอผลงานการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ รวมถึงมีศักยภาพทางธุรกิจและการตลาด โดยประเทศในภูมิภาคผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ |
. |
ประเทศไทยสามารถคว้ารางวัลจากเวทีดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปี ล่าสุด ผลงานชื่อ "ยุทธการพลิกชีวิต" (Destine Strategy) ซึ่งเป็นโปรแกรมเพื่อความบันเทิงประเภท Turn Base-RPG จากโรงเรียนระยองวิทยาคม รองชนะเลิศจากการแข่งขัน “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย” 2010 ประเภทโปรแกรมเพื่อความบันเทิง |
. |
ระดับนักเรียน สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศ (Merit Award) ประเภทนักเรียน จากงาน APICTA 2010 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2553 ผลงานของนักพัฒนารุ่นเยาว์ชิ้นนี้มีความโดดเด่นที่ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการเขียนโปรแกรมในระดับที่ผู้ใหญ่หลายคนต้องอาย |
. |
ทั้งนี้ สามารถกล่าวได้ว่าการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานที่ได้รับรางวัลหรือเกิดจากการประกวดเวทีหนึ่ง สามารถพัฒนาต่อยอดให้เสร็จสมบูรณ์แล้วนำไปประกวดในเวทีอื่นๆ ต่อไปได้ ถือเป็นการสร้างนักพัฒนาเพื่อป้อนเข้าสู่วงการซอฟต์แวร์ได้อย่างดีเยี่ยม |
. |
กลยุทธ์สู่เป้าหมาย |
สำหรับเป้าหมายการดำเนินงาน เนคเทคมีแผนสนับสนุนโครงการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากทั่วประเทศปีละไม่น้อยกว่า 400 โครงการ โดยตั้งเป้าให้มีนักเรียนและนิสิต/นักศึกษาเข้าร่วมในโครงการ ไม่น้อยกว่า 1,000 คน สร้างเวทีการแข่งขันด้านซอฟต์แวร์ระดับเยาวชนและระดับชาติ |
. |
ตลอดจนนำผลงานไปพัฒนาต่อยอดทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะประโยชน์ สร้างโอกาสและสนับสนุนนักพัฒนาโปรแกรมที่มีความรู้ความสามารถให้ก้าวไปสู่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพต่อไป รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source) และซอฟต์แวร์ฟรี(Freeware) |
. |
เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น เนคเทคได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ จัดตั้งหน่วยประสานงานของโครงการระดับภูมิภาคขึ้น โดยมีหน้าที่ประสานงานโครงการด้านต่างๆ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การมอบทุน การพิจารณาโครงการ รวมทั้งการสนับสนุนทางด้านเทคนิคและการฝึกอบรมระยะสั้น |
. |
โดยหน่วยประสานงานในภาคเหนืออยู่ที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
. |
ภาคใต้อยู่ที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคตะวันออกอยู่ที่คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคกลางอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคตะวันตกออยู่ที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
. |
สำหรับโครงการ NSC 2011 หน่วยประสานงานดังกล่าวช่วยให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงและสนใจเข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้ได้ประกาศผลข้อเสนอที่ผ่านการพิจารณาเข้ารอบที่สองแล้ว และทางโครงการฯ ได้มอบทุนสนับสนุน พร้อมจัดอบรมเสริมความรู้และทักษะการเขียนโปรแกรมให้ผู้เข้าแข่งขันระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ คาดว่าจะมีซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลายทยอยออกมาให้ได้เห็นในเร็วๆ นี้ |