1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 71.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า |
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 71.6 ลดลงจากระดับ 73.5 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทุกตัวปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน |
. |
โดยมีปัจจัยลบ ได้แก่ ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน และส่วนราชการ ตลอดจนเกิดความเสียหายทั้งในภาคเกษตร, ภาคอุตสาหกรรม, ภาคบริการ และภาคการท่องเที่ยว |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า การลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคดังกล่าว สะท้อนว่าการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 อาจมีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 53 และ ปี 54 การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 16.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณที่ร้อยละ 16.3–16.8 ต่อปี) และ ร้อยละ 5.9 ต่อปี (ช่วงคาดการณที่ร้อยละ 4.9- 6.9 ต่อปี) ตามลำดับ |
. |
2. สศก.ระบุจีดีพีเกษตรไตรมาส 3 โตแค่ 0.1% ผลกระทบแล้ง-แมลงศัตรูพืชตั้งแต่ต้นปี |
- เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร (GDP) มีอัตราการเติบโตลดลง 0.1% ต่อปี จากปัญหาภัยแล้งและแมลงศัตรูพืช โดยผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์และปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วงต้นปีต่อเนื่องมาถึงกลางปี โดยเฉพาะผลผลิตมันสำปะหลังที่ลดลงจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง |
. |
สำหรับพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น คือ ข้าวนาปรัง มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจด้านราคาในโครงการประกันรายได้ และผลผลิตข้าวนาปรังของภาคใต้ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากนัก ส่วนยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากพื้นที่เปิดกรีดใหม่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่าในครึ่งแรกของปี 53 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในภาคเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี จากปัจจัยด้านภัยแล้งและแมลงศัตรูพืชเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม จากราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 53 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 25.6 ต่อปี เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักให้รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี |
. |
โดยในช่วง 9 เดือนแรกปี 53 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (หักเงินเฟ้อชนบท) ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 ต่อปี ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง |
. |
3. อัตราเงินเฟ้อจีนเดือน ต.ค. 53 ปรับเพิ่มสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี |
- อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน ต.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 3.6 ต่อปี และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาในระดับที่สูงกว่าค่ากลางที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี |
. |
โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะอากาศที่ผันผวนและการนำเข้าเงินเฟ้อ (Imported inflation) ในหมวดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคามีการปรับตัวสูงตามการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในขณะเดียวกัน ประเทศจีนอาจเผชิญความเสี่ยงจากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์หลังจากที่ราคาบ้านปรับตัวขึ้นไปถึงร้อยละ 8.6 ต่อปีในเดือน ต.ค. 53 |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ธนาคารกลางของประเทศจีนอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ หลังจากที่ความเสี่ยงจากภาวะอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับการที่ Fed อาจจะมีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ (Quantitative Easing) อีกกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ |
. |
สรอ. อาจทำให้มีเงินไหลเข้ามาสู่เศรษฐกิจภูมิภาครวมถึงเศรษฐกิจจีนมากขึ้น และในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงราคาทองปรับตัวสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อของจีนด้วย ดังนั้น ทางการจีนอาจจำเป็นต้องคำนึงถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้เอื้อต่อเสถียรภาพทางด้านราคาให้ควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะถัดไปด้วย |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |