สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผย เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชน คาดไตรมาส 3 ยังโตได้อีก
. |
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผย เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชน คาดไตรมาส 3 ยังโตได้อีก |
. |
เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชน แม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากการเริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง |
. |
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แม้จะแผ่วลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าเนื่องมาจากการปรับเข้าสู่ฐานปกติ สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวที่ร้อยล ะ 7. 1 ต่ อ ปี ส่ ง ผ ล ใ ห้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.0 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.2 ต่อปี |
. |
. |
สอดคล้องกับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกันยายน 2553 ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 13.9 ต่อปี ทำให้ทั้งไตรมาสขยายตัวที่ร้อยละ 20.9 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.3 ต่อปี |
. |
ในขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนปรับตัวดีขึ้นได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนได้จากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกันยายน2553 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 46.6 ต่อปีทำให้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 55.6 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณการจำ หน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.7 ต่อปี |
. |
. |
ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวในที่ร้อยละ 20.6 ต่อปีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงปรับตัวดีขึ้น ตามราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ระดับ 73.5 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น |
. |
2. การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นมากเช่นกันทั้งในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำ เข้าสินค้าทุนในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.1 ต่อปี |
. |
ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 27.8 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนกัน ย า ย น แ ล ะ ไ ต ร ม า ส ที่ 3 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 35.4 และ 42.2 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
. |
ส่วนเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 85.1 ต่อปีในเดือนกันยายน 2553 ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 58.9 ต่อปี สะท้อนถึงธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งทำธุรกรรมเกี่ยวกับการโอนและค่าธรรมเนียมอสังหาริมทรัพย์ที่มาตรการมีกำหนดสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2553 |
. |
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 พบว่า บทบาทนโยบายการคลังยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง สะท้อนได้จากรายจ่ายรัฐบาล โดยการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนกันยายน 2553 มีจำนวน 192.7 พันล้านบาท ทำให้ผลการเบิกจ่ายทั้งปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552-กันยายน 2553) เท่ากับ 1,784.4 พันล้านบาท |
. |
แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2 5 5 3 จำ น ว น 1,627.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 1,790.9 พันล้านบาท และ (2) รายจ่ายเหลื่อมปีจำนวน 156.5 พันล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในเดือนกันยายน 2553 เท่ากับ 18.7 พันล้านบาท |
. |
. |
ส่งผลให้มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เท่ากับ 234.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.0 ของกรอบวงเงินลงทุน 350 พันล้านบาท ทั้งนี้ สำหรับรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) ในเดือนกันยายน 2553 เท่ากับ 84.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี |
. |
ทำให้รายได้รัฐบาลในไตรมาสที่ 3 จัดเก็บได้ 448.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.5ต่อปี ทั้งนี้ รายได้รัฐบาลของปีงบประมาณ2553 (ตุลาคม 2552 – กันยายน 2553) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,678.9 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 328.9 พันล้านบาท และขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี ผลมาจากรายได้จัดเก็บจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตน้ำมันและรถยนต์ ที่จัดเก็บได้ในระดับสูง |
. |
4. การส่งออกในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวต่อเนื่อง แต่แผ่วลงจากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ขยายตัวที่ร้อยละ 21.2 ต่อปี |
. |
. |
ส่งผลใ ห้ทั้ง ไ ต ร ม า ส ที่ 3 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 50.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวที่ร้อยละ 21.9 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 41.5 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีมาจากปริมาณการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี และราคาสินค้าส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 ต่อปี โดยเป็นการชะลอลงของแทบทุกหมวดสินค้าและทุกตลาด ยกเว้นการส่งออกไปยังสิงคโปร์ แอฟริกาและไต้หวันที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง |
. |
สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะแผ่วลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากการปรับเข้าสู่ภาวะปกติโดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนกันยายนอยู่ที่ 15.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี ส่งผลให้ทั้งไตรมาสที่ 3 มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 47.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวที่ร้อยละ 30.5 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 46.0 ต่อปี |
. |
ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ชะลอลงมาจากปริมาณการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.1 ต่อปี และราคาสินค้านำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปีโดยเป็นการชะลอลงของการนำเข้าในแทบทุกหมวดสินค้า สำหรับดุลการค้าในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 เกินดุลต่อเนื่องที่ 3.1 และ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ |
. |
5. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะแผ่วลงจากช่วงก่อนหน้า ขณะที่ภาคเกษตรเริ่มฟื้นตัว สำหรับภาคบริการจากการท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง |
. |
. |
โดยดัชนีผลผลิตภ า ค อุต ส า ห ก ร ร ม( เ บื้อ ง ต้น ) ใ น เ ดือ นกันยายน 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี ทำให้ทั้งไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี ชะลอลงจากไ ต ร ม า ส ก่อ น ห น้า ที่ขยายตัวร้อยละ 17.7 ต่อปีสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2553 ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ระดับ 100.8 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.4 จุด |
. |
โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของค่าเงินบาท ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 100 จุด บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง |
. |
. |
สำหรับเครื่องชี้ภาคการเกษตรวัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนกันยายน 2553 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 หดตัวเพียงร้อยละ -2.5 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี สำหรับราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 3 ยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 30.2 ต่อปี ทำให้รายได้ของเกษตรกรที่แท้จริงยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี |
. |
ในขณะที่เครื่องชี้ภาคบริการจากการท่อ ง เ ที่ย ว ต่า ง ช า ติเ ดือ นกันยายน 2553 มีจำ นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่1.19 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 14.5 ต่อ ปี ทำ ใ ห้จำ น ว นนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 3.69 ล้านคน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคบริการจากการท่องเที่ยว |
. |
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ที่ขยายตัวสูงขึ้นเป็นหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี |
. |
สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคิดเป็นจำนวนคนว่างงานเท่ากับ 3.5 แสนคน สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 42.5 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 |
. |
สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 อยู่ในระดับสูงที่ 163.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3.9 เท่า |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |