1. ก.อุตฯ ประสานคลังให้แบงก์รัฐทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าให้กับกลุ่มSME |
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเอสเอ็มอี (SME) จึงได้ประสานกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้ธนาคารของรัฐ เข้าไปช่วยป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า และเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกเอสเอ็มอี โดยปล่อยสินเชื่อเพื่อการส่งออก วงเงิน 5,000 ล้านบาท |
. |
และให้ บสย.ค้ำประกัน และวงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง 10,000 ล้านบาท โดยให้ บสย.ค้ำประกันร้อยละ 50 วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินร้อยละ 10 ของยอดส่งออก รวมแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยพิเศษ MLR-1.5 เป็นเวลา 2 ปี กำหนดชำระเงินคืนภายใน 5 ปี รวมทั้งโครงการสินเชื่อเป็นเงินเหรียญสหรัฐไม่เกิน 300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อราย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ค่าเงินบาทในปัจจุบัน แข็งค่าขึ้นจากต้นปี 2553 คิดเป็นร้อยละ 9.97 โดยเป็นการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 7.78 ในช่วงระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. ทั้งนี้ หากประเมินเป็นดัชนีค่าเงินบาท (NEER) จะพบว่า แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.8 |
. |
ดังนั้น รัฐบาล จึงได้มีมาตรการเพื่อชะลอผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นที่นอกเหนือจากมาตรการข้างต้น เช่น (1) การยกเลิกมาตรการยกเว้นภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับพันธบัตรที่ถือโดยนักลงทุนต่างประเทศ และ (2) มาตรการส่งเสริม Capital outflow เช่น การเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่ใช้เงินตราต่างประเทศ |
. |
2. ธ.ทหารไทยเตือนระวังสัญญาณฟองสบู่ตลาดคอนโดมิเนียม |
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย รายงานจากประสบการณ์ฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยหลังวิกฤตปี 2540 ทำให้คนไทยเริ่มระวังการเกิดฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ข่าวการเปิดตัวโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมใหม่มีให้เห็นบ่อยครั้ง |
. |
อีกทั้งราคาก็เพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วจนน่าตกใจ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพฯระดับกลางและระดับบนปัจจุบัน มีราคาสูงกว่ามูลค่าพื้นฐาน ร้อยละ 10 และคอนโดระดับล่างมีมูลค่าต่ำกว่าพื้นฐานประมาณร้อยละ 6 ซึ่งสอดคล้องกับคอดโดมิเนียมที่เกิดใหม่ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 53 จะชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคเร่งซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งแรกของ ปี 53 ก่อนมาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สิ้นสุดลงในช่วงเดือน มิ.ย.53 แต่ในเดือนก.ย. 53 พบว่าตลาดอาคารชุดยังคงขยายตัวต่อเนื่อง |
. |
สะท้อนได้จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 18 ต่อปี โดยเฉพาะอาคารชุดระดับกลางและล่าง ทั้งนี้ การที่อุปทานอาคารชุดระดับราคาปานกลางและต่ำเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในขณะนี้ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอุปทานส่วนเกินในบางทำเลได้ในระยะ ต่อไป |
. |
3. ดัชนียอดคำสั่งซื้อของสหรัฐ อังกฤษ และจีนปรับตัวดีขึ้นในเดือน ต.ค. 53 |
- สำนักข่าว Financial Times รายงานว่าภาคการผลิตในเดือนต.ค 53 ของสหรัฐเอมริกา สหราชอาณาจักร และจีน ขยายตัวได้ดีจากเดือนก.ย. 53 ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดีขึ้นดังกล่าวยังคงอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หยุดการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้นโยบายมาตรการการเงินแบบผ่อนคลาย (Quantitative easing) |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ภาคการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือนต.ค. 53 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 3 ประเทศยักษ์ใหญ่ โดยดัชนีคำสั่งซื้อ (Purchasing Managers' Index : PMI) ของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร จีน ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 54.4 53.5 และ 52.8 ในเดือนก.ย. 53 มาอยู่ที่ระดับ 56.9 54.9 และ 54.8 ในเดือนต.ค. 53 ตามลำดับ สะท้อนภาคการบริโภคภายในประเทศและภาคการส่งออกที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 |
. |
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงภายในประเทศที่ต้องติดตาม เช่น การจ้างงานนอกภาคการเกษตรในสหรัฐฯ ที่ยังปรับตัวลดลงกว่า 9.5 หมื่นตำแหน่งในเดือนก.ย. 53 และจีนยังมีความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ในปี 2553 เศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนจะยังคงสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.7 และ 10.3 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |