นีลเส็น เผยไตรมาส 3 ปี 53 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี ชี้คนไทยมีมุมมองทางบวกต่อโอกาสในงานและการเงินมากขึ้น ระบุการเมืองไม่ใช่ปัญหาสำคัญอันดับหนึ่ง
.มั่นของผู้บริโภคชาวไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี ชี้คนไทยมีมุมมองทางบวกต่อโอกาสในงานและการเงินมากขึ้น ระบุการเมืองไม่ใช่ปัญหาสำคัญอันดับหนึ่ง |
นีลเส็น เผยไตรมาส 3 ปี 53 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี ชี้คนไทยมีมุมมองทางบวกต่อโอกาสในงานและการเงินมากขึ้น ระบุการเมืองไม่ใช่ปัญหาสำคัญอันดับหนึ่ง |
. |
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยพุ่งสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2548 ที่นีลเส็นทำการสำรวจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นถึง 25 จุดจาก 92 เป็น 117 จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกล่าสุดจากนีลเส็น |
. |
รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกจากนีลเส็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่น ความกังวลหลักของผู้บริโภค และความตั้งใจในการจับจ่ายใช้สอย ในหมู่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 26,000 คน จาก 53 ประเทศ โดยการจัดเก็บข้อมูลล่าสุดถูกจัดทำระหว่าง 3 กันยายน ถึง 21 กันยายน 2553 |
. |
คุณแอรอน ครอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย กล่าวว่า “การฟื้นตัวด้านความเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญของชาวไทยเป็นข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงการคืนกลับสู่สภาวะปกติของประเทศอย่างชัดเจน หลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 |
. |
จากผลการสำรวจออนไลน์ของนีลเส็นอีกรายงานหนึ่งที่จัดทำในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ระบุว่า เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของชาวไทยคาดหวังให้การดำเนินชีวิตกลับสู่สภาวะปกติในทันทีหรือภายใน 1 เดือน หลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม” “เศรษฐกิจและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นทันทีที่เหตุการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย นอกจากนี้ความแข็งแกร่งของค่าเงินบาทและการปรับตัวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังส่งผลให้เกิดมุมมองที่เป็นทิศทางบวกในผู้บริโภคด้วย” |
. |
เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความเชื่อมั่นสูงสุดในโลก |
เอเชียแปซิฟิกกลายเป็นภูมิภาคที่มีความเชื่อมั่นสูงที่สุดในโลกด้วยดัชนีความเชื่อมั่นที่ระดับ 98 ตามมาติดๆคือตะวันออกกลางและแอฟริกา ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 97 จุด ทั้งนี้ 9 ใน 10 ชาติทั่วโลกที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงสุดมาจากประเทศในเอเชียแฟซิฟิก ได้แก่ อินเดีย ( 129 ) ประเทศไทย (117) ออสเตรเลียและอินโดนีเชีย (115) ฟิลิปินส์ (114) สิงคโปร์ (113) จีน (104) มาเลเซียและฮ่องกง (103) (ตาราง 2) |
. |
ในระดับโลก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคตกลง 3 จุดในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ระดับที่ 90 เนื่องจากความคาดหวังของผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ ลดลงในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน 19 ประเทศ จาก 53 ประเทศ ลดลง ในไตรมาสที่ 3 นี้ |
. |
ผู้บริโภคชาวไทยคาดหวังถึงงานและโอกาสทางด้านการเงินที่สดใส สำหรับปีหน้า |
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สูงกว่า หรือต่ำกว่า ระดับค่ากลางในการวัดที่ 100 สามารถบ่งชี้ระดับมุมมองในทิศทางบวกและลบได้ ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยที่ 117 สะท้อนความจริงที่ว่าผู้บริโภคชาวไทยมีมุมมองในเชิงบวกที่ดีขึ้นมากเกี่ยวกับโอกาสทางด้านการงาน สถานภาพทางการเงิน และความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่ตนต้องการในปีหน้า |
. |
เจ็ดสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ ของผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่าโอกาสทางด้านการงานในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ในระดับ “ดีและดีมาก” เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นจากสามสิบสี่เปอร์เซ็นต์ ของไตรมาสที่ 2 โดยทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกค่าเฉลี่ยอยู่ที่ห้าสิบหกเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 3 |
. |
สัดส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อว่าสถานะทางการเงินของพวกเขาอยู่ในระดับดีมากหรือดีเพิ่มขึ้นจากห้าสิบเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 เป็นเจ็ดสิบสามเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 3 นี้ ด้วยเหตุนี้ผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่ง (52%) จึงรู้สึกว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่พวกเขาจะซื้อสิ่งของที่ตนต้องการในอีก 12 เดือนข้างหน้า |
. |
ความตั้งใจของผู้บริโภคต่อการออมเงินยังคงสูงแม้ว่าการรัดเข็มขัดจะเริ่มคลายตัวลง |
หลังจากที่ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ผู้บริโภคชาวไทยยังคงให้ความสำคัญอันดับแรกกับการออมเงิน แม้ว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคที่ระบุว่าพวกเขาประสงค์จะออมเงินจะลดลงจากเจ็ดสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 มาที่ หกสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์จากการสำรวจในรอบล่าสุด |
. |
ความรู้สึกที่มั่นใจและมีความหวังต่ออนาคตของผู้บริโภคชาวไทยดูเสมือนจะส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวและการซื้อสินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้บริโภคจำนวนสี่สิบแปดเปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าพวกเขาต้องการใช้จ่ายเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต กับ การท่องเที่ยว (เพิ่มขึ้นหนึ่งเปอร์เซ็นต์จากไตรมาสที่ 2) |
. |
ขณะที่ผู้บริโภคอีกสามสิบสี่เปอร์เซ็นต์ วางแผนจะซื้อสินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ (เพิ่มขึ้นหกเปอร์เซ็นต์) และผู้บริโภคจำนวนสามสิบสามเปอร์เซ็นต์ ตั้งใจจะใช้เงินที่เหลือเพื่อ การชำระหนี้ การจ่ายค่าหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ เป็นอันดับที่ 4 (เพิ่มขึ้นแปดเปอร์เซ็นต์) (ตาราง 3) |
. |
ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจของประเทศเข้ามาแทนที่ความกลัวในเรื่องปัญหาทางการเมือง |
ผู้บริโภคชาวไทยมากกว่าครึ่ง (53%) เชื่อว่าประเทศกำลังตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งลดลงจาก 76 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 2 ที่มีความคิดดังกล่าว ในผู้บริโภคกลุ่มนี้ ห้าสิบเปอร์เซ็นต์คาดหวังว่าประเทศไทยจะหลุดพ้นจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำภายใน 12 เดือนนี้ |
. |
แม้ว่ามุมมองด้านเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น แต่เศรษฐกิจของประเทศยังคงเป็นเรื่องที่ชาวไทยกังวลมากที่สุด อันดับหนึ่ง แทนที่ความกังวลในเรื่องปัญหาทางการเมือง สิบหกเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามอ้างว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่พวกเขากังวลสูงสุด |