ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ตในด้านการส่งสินค้าออกเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่พัฒนาโดย กระทรวงการคลัง และกรมศุลกากร
ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ตในด้านการส่งสินค้าออกเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่พัฒนาโดย กระทรวงการคลัง และกรมศุลกากร เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ส่งสินค้าออกนอกเหนือจากการผ่านพิธีการศุลกากรผ่าน EDI VAN ที่กรมศุลกากรได้ให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ผู้ส่งออกหรือตัวแทนออกของสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละราย ในขณะนี้ เปิดให้บริการในด้านการนำสินค้าเข้าเพิ่มเติมแล้ว ทั้งนี้ให้ใช้ได้เฉพาะใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ใช่ของส่วนบุคคล และเอกสิทธิ์เท่านั้น |
. |
คำแนะนำการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ต |
หากท่านจะดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เมื่อท่านต้องการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ และ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็ตาม ท่านจะต้องดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร ตามระเบียบปฏิบัติที่กรมศุลกากรกำหนด ในปัจจุบัน ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ต เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่กระทรวงการคลังได้จัดทำขึ้น ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้นำเข้า / ส่งออก และตัวแทนออกของรายย่อย ประการสำคัญก่อนที่จะใช้ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ต ท่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร พิกัดอัตราศุลกากร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี รวมทั้งจะต้องทำความเข้าใจศึกษาข้อมูลคำแนะนำต่าง ๆ ที่บรรจุอยู่ในเว็บไซต์ทั้งหมดอย่างถ่องแท้เสียก่อน ท่านจึงจะสามารถตระเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ และหรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน |
. |
ขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสามารถส่งของออก และ หรือนำของเข้า มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ |
1. ทำบัตรผู้จัดการ 2. จัดเตรียมเอกสารทางการค้าต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผ่านพิธีการฯ ดูหัวข้อ "ขั้นตอนการเตรียมใบขนสินค้า" ประกอบ 3. ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมายังกรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบ 4. พิมพ์ใบขนสินค้าที่ได้รับเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว 5. ยื่นเอกสารใบขนสินค้า และเอกสารประกอบ ณ สถานที่ผ่านพิธีการที่ระบุไว้ในใบขนสินค้า กรณี Red Line เท่านั้น 6. ชำระอากร (ถ้ามี) 7. ยื่นเอกสารใบขนสินค้า และเอกสารประกอบ พร้อมกับสินค้า ณ. จุดตรวจปล่อย |
. |
1. ทำบัตรผู้จัดการ |
บัตรเจ้าของหรือบัตรผู้จัดการ (Owner or Manager Card) เป็นบัตรที่กรมศุลกากรออกให้กับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของหรือผู้จัดการบริษัท ห้าง ร้าน ที่นำของเข้า หรือ ส่งของออก ใช้ในการตรวจสอบว่าเจ้าของหรือผู้จัดการบริษัท ที่ลงลายมือชื่อในใบขนสินค้า และเอกสารประกอบในการผ่านพิธีการศุลกากร เป็นคนเดียวกับที่ลงลายมือชื่อไว้ในบัตรฯ ดังกล่าว การขอมีบัตรฯ (Smart Card) ผู้ขอมีบัตรฯ ยื่นคำร้องขอมีบัตร ณ ฝ่ายทะเบียนผู้ส่งออกและนำเข้า สำนักงานเลขานุการกรม กรมศุลกากร และลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตราบริษัท ห้าง ร้าน ในแบบตรวจเอกสารฯ ต่อเจ้าหน้าที่บริษัทผู้ให้บริการจัดทำ Smart Card ซึ่งเป็นบริษัท ที่กรมอนุมัติให้ดำเนินงานจัดทำบัตร เพื่อใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรในรูปแบบ Smart Cardเจ้าหน้าที่บริษัท ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อม วัน เดือน ปี กำกับ ออกใบเสร็จรับเงินค่าทำบัตร และออกหมายเลขลำดับการถ่ายรูป แล้วส่งแบบตรวจเอกสารฯ ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร สั่งพิมพ์บัตร บัตรประเภทต่าง ๆ มีอายุใช้งานไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันออกบัตร เว้นแต่บัตรผู้รับมอบอำนาจ ให้มีอายุใช้งานไม่เกินวันหมดอายุของบัตรเจ้าของหรือผู้จัดการ เจ้าของหรือผู้จัดการ ที่ประสงค์จะส่งลายมือชื่อและรูปถ่ายทางไปรษณีย์ ให้จัดส่งลายมือชื่อ พร้อมรูปถ่าย ถึงกรมศุลกากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ พร้อมทั้งชำระค่าทำบัตรและค่าส่ง คืนทางไปรษณีย์ ในวันที่ยื่นคำร้องขอมีบัตร |
. |
2. จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผ่านพิธีการศุลกากร ได้แก่ |
2.1 เอกสารที่ใช้ในการส่งออก |
2.1.1 ต้นฉบับใบขนสินค้าขาออก 1 ฉบับ 2.1.2 คู่ฉบับใบขนสินค้าขาออก เพื่อประโยชน์ทางราชการและเป็นหลักฐานแสดงการส่งออก ผู้ส่งของออกอาจขอเพิ่มคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ และให้ยื่นคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกตามที่ขอพร้อมกันกับต้นฉบับ ใบขนสินค้าขาออก 2.1.3 คู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกมุมน้ำเงิน เพิ่มเติมแล้วแต่กรณี เช่น ขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร, ส่งเสริมการลงทุน (BOI) โควต้าส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ ใช้แบบฟอร์มใบขนสินค้าขาออก กศก. 101/1 หาซื้อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น 1 ราคาชุดละ 5 บาท คลิกเพื่อดู 2.1.4 บัญชีราคาสินค้า 2 ฉบับ ผู้ส่งของออกต้องยื่นบัญชีราคาสินค้าสำหรับของส่งออกเพื่อประกอบการตรวจสอบ หากมิใช่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และให้ผู้ส่งของออกลงนามรับรองถูกต้อง 2.1.5 แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) (F.T.FOREIGN TRANSACTION) แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) คือ แบบพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ใช้สำหรับยื่นประกอบใบขนสินค้าขาออก ซึ่งสินค้าที่ ส่งออก มีมูลค่าเกินกว่า 500,000 บาท ผู้ส่งของออกจะต้องนำมายื่นพร้อมกับใบขนสินค้า ในขณะผ่านพิธีการ แบบฟอร์ม ธ.ต. 1 -- หาซื้อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น ราคาเล่มละ 100 บาท คลิกเพื่อดู 2.1.6 บัญชีรายละเอียดของที่บรรจุหีบห่อ (PACKING LIST) (ถ้ามี) 2.1.7 ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่น ๆ กรณีที่ของส่งออกนั้น เป็นของต้องกำกัดตามเงื่อนไขของ บทกฎหมายเกี่ยวข้อง 2.1.8 คำร้องประเภทต่าง ๆ (ถ้ามี) |
. |
2.2 เอกสารที่ใช้ในการนำเข้า |
2.2.1ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า 1 ฉบับ 2.2.2 คู่ฉบับใบขนสินค้าขาเข้า เพื่อประโยชน์ทางราชการและเป็นหลักฐานแสดงการนำเข้า ผู้นำของเข้าอาจขอเพิ่มคู่ฉบับ ใบขนสินค้าขาเข้าตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ และให้ยื่นคู่ฉบับใบขนสินค้า ขาเข้าตามที่ขอพร้อมกันกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า ใช้แบบฟอร์มใบขนสินค้าขาเข้า กศก. 99/1 หาซื้อได้ที่ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น 1 ราคาชุดละ 5 บาท คลิกเพื่อดู 2.2.3 บัญชีราคาสินค้า 2 ฉบับ ผู้นำของเข้าต้องยื่นบัญชีราคาสินค้าสำหรับของนำเข้าเพื่อประกอบการตรวจสอบ หากมิใช่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษและให้ ผู้นำของเข้าลงนามรับรองถูกต้อง 2.2.4 แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) (F.T.FOREIGN TRANSACTION) แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) คือ แบบพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ใช้สำหรับยื่นประกอบ ใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งสินค้าที่นำเข้า มีมูลค่าเกินกว่า 500,000 บาท ผู้นำของเข้าจะต้องนำมายื่นพร้อมกับใบขนสินค้า ในขณะผ่านพิธีการ แบบฟอร์ม ธ.ต. 2 - หาซื้อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น ราคาเล่มละ 100 บาท คลิกเพื่อดู 2.2.5 แบบแสดงรายละเอียดราคาศุลกากร (กศก.170) 2.2.6 บัญชีรายละเอียดของที่บรรจุหีบห่อ (PACKING LIST) (ถ้ามี) 2.2.7 ใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่น ๆ กรณีที่ของนำเข้านั้น เป็นของต้องกำกัดตามเงื่อนไขของบทกฎหมายเกี่ยวข้อง 2.2.8 คำร้องประเภทต่าง ๆ (ถ้ามี) |
. |
3. ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมายังกรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบศึกษาวิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตให้กรมศุลกากร ตรวจสอบ ในหัวข้อ "ขั้นตอนการเตรียมใบขนสินค้า" ประกอบ |
4. พิมพ์ใบขนสินค้าที่ได้รับเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ท่านต้องพิมพ์ข้อมูลที่กรมศุลกากรได้ตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ลงบนแบบฟอร์ม พร้อมประทับเลขที่ ใบขนสินค้าลงในเอกสารประกอบใบขนสินค้าทุกแผ่น |
5. กรณี Red Line ยื่นใบขนสินค้า และเอกสารประกอบ ณ สถานที่ผ่านพิธีการที่ระบุไว้ในใบขนสินค้า - กรณี Green Line และต้องชำระค่าภาษีอากร ให้ไปทำข้อ 6 - กรณี Green Line และไม่ต้องชำระค่าภาษีอากร ให้ไปทำข้อ 7 |
6. ชำระอากร (ถ้ามี) ท่านสามารถชำระค่าภาษีอากร ณ จุดที่ส่งของออก/นำของเข้า ให้เรียบร้อยเสียก่อน หากสินค้านั้นเข้าลักษณะประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี ดูรายละเอียดประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี |
7. ยื่นใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ พร้อมกับสินค้า ณ. จุดตรวจปล่อย นำใบขนสินค้าที่ได้ชำระอากรแล้ว (ถ้ามี) และเอกสารประกอบ พร้อมกับสินค้าไปยังจุดตรวจปล่อยที่ได้ระบุไว้ในใบขนสินค้า |
. |
ผังแสดงขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากร |
. |
. |
ก่อนตัดสินใจใช้ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ต |
ก่อนที่จะตัดสินใจหันมาใช้บริการระบบการผ่านพิธีการศุลกากรในด้านการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออกทางอินเทอร์เน็ตนั้นก็จะต้องทำความเข้าใจก่อนสักนิดเพื่อเป็นข้อคิดในการตัดสินใจก่อนใช้บริการเพื่อจะไม่เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง ซึ่งระบบนี้จะใช้ได้กับการนำสินค้าเข้า/ส่งสินค้าออกที่ไม่ใช่ของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์เท่านั้น โดยท่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพิธีการศุลกากร คือ การจัดพิกัดอัตราศุลกากร การจัดทำใบขนสินค้า ขั้นตอนและระเบียบการนำสินค้าเข้า/ส่งสินค้าออก ในกรณีที่ท่านมอบหมายผู้อื่นมาออกของแทน ท่านต้องมาติดต่อทำบัตรผู้จัดการที่กรมศุลกากร โดยดูขั้นตอนการจัดทำบัตรของผู้จัดการได้ที่เว็บไซต์ www.customs.go.th ระบบนี้ยังมีความจำเป็นต้องยื่นใบขนสินค้า ท่านสามารถซื้อแบบฟอร์มใบขนสินค้าได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริเวณห้องโถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 กรมศุลกากร ในราคาประมาณชุดละ 5 บาท ถ้ามูลค่าสินค้าที่ส่งออกมากกว่า 500,000 บาท ท่านจะต้องจัดทำเอกสาร แบบ ธต.1 หรือถ้ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามากกว่า 500,000 บาท ท่านจะต้องจัดทำเอกสารแบบ ธต.2 และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดทำใบขนสินค้า ขอให้ท่านศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก ขั้นตอนการเตรียมใบขนสินค้า |
. |
ลงทะเบียนขอใช้บริการ สิ่งจำเป็นที่จะต้องมีก่อนการลงทะเบียน 1.มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 2.เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งออกและหรือนำเข้าสินค้า 3.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากร 4.มีความรู้เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากร และการจัดทำใบขนสินค้า 5.มีเครื่องมือในการใช้ Internet (Web browser) เช่น Internet Explorer version 5.5 ขึ้นไป |
. |
สิ่งที่จะต้องดำเนินการ 1.ต้องบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ในแบบฟอร์มลงทะเบียนให้ถูกต้อง ครบถ้วน 1.1รายละเอียดต่าง ๆ ที่บันทึกในแบบฟอร์มลงทะเบียนจะถูกเก็บไว้เพื่อสร้างข้อมูลของผู้ใช้ (ผู้ส่งออก, ผู้นำเข้า, ตัวแทน) เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างใบขนสินค้า ต่อไป หากท่านบันทึกรายละเอียดข้อมูลในแบบฟอร์มฯ ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ หรือไม่ครบถ้วน เครื่องจะปรากฎข้อความ ให้ท่านทราบ เพื่อทำการแก้ไข หรือบันทึกเพิ่มเติมให้ถูกต้อง 1.2 ท่านต้องบันทึก หรือใส่รหัสประจำตัว(Login) และรหัสลับ(Password) พร้อมทั้งยืนยันรหัสลับ(Password) อีกครั้ง รหัสประจำตัว และ Password ที่บันทึกนี้ สำหรับ Login เข้าระบบ หลังจากที่ท่านผ่านการ อนุมัติจากกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว 1.3 ท่านจะต้อง "ยอมรับ" หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการใช้ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทุกข้อดู 2. ทำการคลิกปุ่ม "ลงทะเบียน" เพื่อส่งข้อมูลในแบบฟอร์มลงทะเบียนมายังกระทรวงการคลัง 3.รอการตรวจสอบและตอบกลับจากกระทรวงการคลัง หลังจากดำเนินการลงทะเบียนตามข้อ 2 แล้ว ระบบจะส่ง E-mail กลับมายังผู้ขอใช้บริการ โดยผู้ขอใช้บริการนั้น ๆ จะต้องทำการยืนยันการลงทะเบียนมายังกระทรวงการคลัง หลังจากนั้น กระทรวงการคลังจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ท่านได้ลงทะเบียน และดำเนินการต่อไป ตามแต่กรณี 3.1 กรณีบันทึกข้อมูล ถูกต้อง ครบถ้วนกระทรวงการคลัง จะแจ้งกลับมายังผู้ขอใช้บริการให้ทราบว่าการลงทะเบียนผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว โดยทางE-mail address 3.2 กรณีบันทึกข้อมูล ไม่ถูกต้อง เช่น เลขที่บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี กระทรวงการคลังจะแจ้งกลับมายัง E-mail address ของผู้ขอใช้บริการนั้น ๆ ผู้ขอใช้จะต้องทำการ ลงทะเบียนขอใช้บริการใหม่ และบันทึกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนระยะเวลาดำเนินการเพื่อตรวจสอบ อนุมัติ จะแจ้งให้ท่านทราบทาง E-mail address ของท่าน ไม่เกิน 2 วันทำการข้อควรระวัง : ท่านจะต้องเก็บรักษารหัสประจำตัว และPassword ไว้เป็นอย่างดี โดยไม่เปิดเผยแก่ผู้อื่น |
. |
เอกสารอ้างอิง www.mofedi.com |