กพร. เผยได้ทำการรังวัดเขตเหมืองแร่โปแตชอุดรฯ สำเร็จ หลังยืดเยื้อมากว่า 7 ปี พร้อมยืนยันไม่มีการปะทะกับมวลชนอย่างที่เป็นข่าว |
. |
นายสมเกียรติ ภู่ธงชัยฤทธิ์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ดำเนินการรังวัดกำหนดเขตพื้นที่คำขอประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 |
. |
โครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานีเป็นโครงการที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ประกาศเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาสำรวจและผลิตโปแตชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2523 ต่อมาบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ทำสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2527 |
. |
จากการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่ามีปริมาณแร่โปแตชเพียงพอในเชิงพาณิชย์ บริษัท เอเซียฯ จึงได้ยื่นขอประทานบัตรเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2546 |
. |
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยว่า การดำเนินการคำขอประทานบัตรได้ประสบปัญหาร้องเรียนคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ ยืนยันที่ผ่านมา กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ดำเนินการลงพื้นที่ชี้แจงมาอย่างต่อเนื่อง |
. |
และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ได้จัดประชุมชี้แจงการขออนุญาตประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ภายใต้กรอบมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ณ โรงแรมเซ็นทารา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี |
. |
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยส่วนราชการ องค์กรอิสระ และประชาชนในเขตพื้นที่คำขอประทานบัตร ประมาณ 1,600 คน ซึ่งในการประชุมได้ชี้แจงเกี่ยวกับการขออนุญาตประทานบัตร ทำเหมืองแร่ภายใต้กรอบมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน |
. |
การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โครงการเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และขั้นตอนการขอประทานบัตรเหมืองแร่ใต้ดิน |
. |
โดยในขั้นตอนแรกจะต้องรังวัดเขตคำขอประทานบัตรเพื่อให้มีความชัดเจนด้านผู้มีส่วนได้เสียและเขตพื้นที่การทำเหมือง จากผลการรังวัดดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดทำแผนผังโครงการทำเหมืองแร่ให้มีความเหมาะสมทางวิศวกรรม |
. |
การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาให้ความคิดเห็นและตรวจสอบการดำเนินการ รวมถึงข้อเสนอในการกำหนดเป็นเงื่อนไขแนบท้ายประทานบัตร |
. |
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้เข้ารังวัดเขตพื้นที่คำขอประทานบัตรเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 โดยการใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GPS) และวิธีการรังวัดแบบโครงข่ายสามเหลี่ยมตามระเบียบกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และได้รังวัดแล้วเสร็จในวันดังกล่าว |
. |
โดยมีคำขอประทานบัตรจำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 26,446 ไร่ พร้อมยืนยันว่าการรังวัดเป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายของทางราชการทุกประการ และไม่ได้มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มมวลชนตามที่เป็นข่าว |
. |
การรังวัดครั้งนี้มิได้เป็นข้อผูกพันว่าจะต้องอนุญาตประทานบัตร กล่าวคือ การขออนุญาตประทานบัตรจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามกรอบกฎหมายที่กำหนดทั้งการจัดทำแผนผังโครงการทำเหมืองที่เหมาะสมทางวิศวกรรม การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) |
. |
การรับฟังความคิดเห็นตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และจะต้องอยู่ภายใต้กรอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับ ยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โครงการเหมืองแร่โปแตชที่กำลังดำเนินการศึกษา |
. |
นอกจากนี้การรังวัดดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ในพื้นที่คำขอ เพื่อนำไปสู่การรับฟังความเห็น ข้อวิตกกังวล แนวทางการป้องกันแก้ปัญหาตลอดจนการชดเชยเยียวยา รวมทั้งข้อเสนอเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น |