เนื้อหาวันที่ : 2010-11-01 21:03:53 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1337 views

"ชัยวุฒิ" มั่นใจภาคอุตฯ ยังแข็งแกร่ง

ภาคอุตสาหกรรมไม่หวั่นบาทแข็ง ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือนติด ดัชนีอุตฯ ก.ย. พุ่นทะยาน 8.13% ขณะที่ยังต้องจับตาสถานการณ์ บาทแข็ง น้ำท่วม อย่างใกล้ชิด

.

ภาคอุตสาหกรรมไม่หวั่นบาทแข็ง ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือนติด ดัชนีอุตฯ ก.ย. พุ่นทะยาน 8.13% ขณะที่ยังต้องจับตาสถานการณ์ บาทแข็ง น้ำท่วม อย่างใกล้ชิด

.

ภาคอุตฯขยายตัวต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ตอกย้ำฐานการผลิตมั่นคง ส่งผลให้ดัชนีอุตฯก.ย.พุ่ง 8.13% การผลิต Hard disk drive ชิ้นส่วนอิเล็กฯ-แอร์-เครื่องสุขภัณฑ์-เม็ดพลาสติก ยอดผลิตและจำหน่ายคึกคัก ขณะเดียวกันประเมินสถาณการณ์บาทแข็ง น้ำท่วม อย่างใกล้ชิด เตรียมมาตราการเยียวยา

.

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรม ของประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 แม้ต้องเผชิญภาวะการแข็งค่าของเงินบาท แต่ผู้ประกอบการในหลายสาขาอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก

.

เนื่องจากได้มีการผลิตตามคำสั่งซื้อล่วงหน้า (ออร์เดอร์)ที่มีเข้ามาก่อนเกิดภาวะเงินบาทแข็งค่า โดยมีออร์เดอร์ล่วงหน้าประมาณ 3-6 เดือน รวมทั้งผู้ประกอบการบางรายได้มีการประกันความเสี่ยงค่าเงินไว้แล้วจึงยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักในระยะนี้

.

อย่างไรก็ตาม ณ สถาณการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอยุทธยา และนครราชสีมา ซึ่งถือเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก

.

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า อัตราการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม หรือดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือนกันยายน 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก เมื่อกลางปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 ที่ผ่านมา

.

โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตภาพรวมเฉลี่ย 64.36% อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของ MPI เดือน ก.ย.เมื่อเทียบกับเดีอนเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ การผลิต Hard disk drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ (แอร์) ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เป็นต้น 

.

การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเท่ากัน 6.3% โดยฟื้นขึ้นมาเป็นบวกอีกครั้งหลังชะลอตัวเล็กน้อยเมื่อเดือนก่อน เนื่องจากภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของไตรมาส ผู้ผลิตจึงเร่งผลิตเพื่อส่งมอบให้ทันกับคำสั่งซื้อ และเพื่อปิดยอดรายไตรมาสให้ได้ตามเป้าหมาย

.

อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจส่งออก แต่ผู้ผลิต Hard Disk drive ได้ทำประกันความเสี่ยงค่าเงินไว้แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยคาดว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะมียอดการผลิตและจำหน่ายอย่างคึกคักเป็นไปตามทิศทางความต้องการของตลาดโลก

.

การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 21.4%และ20.2% ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของตลาดโลก โดย Semiconductor Industry Association : SIA ได้รายงานสถานการณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า

.

ยอดขายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แม้จะสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างช้าๆก็ตาม โดยคาดว่าในปี 2553 อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีโอกาสขยายตัวได้สูงถึง 28.4%

.

การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 41.9%และ37.8% ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวผู้ประกอบการได้ส่งสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ   

.

นอกจากนี้ปัจจัยหนึ่งเอื้อต่อการขยายตัว คือ การยกเว้นภาษีสรรพสามิตแอร์เป็น 0% จากเดิม 15% อย่างไรก็ตามในไตรมาสสุดท้าย หากต้องเผชิญกับปัจจัยเรื่องเงินบาทแข็งค่าขึ้นและราคาวัตถุดิบที่มีการปรับตัวสูง อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากไม่ได้ทำประกันความเสี่ยงค่าเงินเหมือนบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าภาครัฐควรต้องเร่งหามารตการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

 .

การผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 25%และ13.7% ตามลำดับ เนื่องจากเป็นไปตามทิศทางการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของโครงการหมู่บ้านจัดสรรค์และคอนโดมิเนี่ยม ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่างๆที่รัฐบาลไฟเขียวให้มีการก่อสร้าง จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว

 .

การผลิตเม็ดพลาสติก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 12.7%และ18.3% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว จึงมีความต้องการใช้เม็ดพลาสติกเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ บรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ รวมทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

 .

สรุปภาพรวมภาพรวม MPI เดือนกันยายน 2553 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดังนี้ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 201.45 เพิ่มขึ้น 8.13% จากระดับ 186.31 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 204.35 เพิ่มขึ้น 8.03% จากระดับ 189.15 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 183.26 เพิ่มขึ้น 9.34% จากระดับ 167.62

.

ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 123.69 เพิ่มขึ้น 8.19% จากระดับ 114.32 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 133.18 เพิ่มขึ้น 1.50% จากระดับ 131.22  โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.36%

 .

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

Index

2552

2553

 

ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 186.59 180.19 180.37 194.66 179.62 183.31 211.73 179.34 184.94 194.39 190.22 184.14 201.45
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) % 10.1 -3.3 0.03 8.0 -7.9 2.0 15.6 -15.6 2.8 5.07 -2.05 -3.14 9.65
อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) % 1.0 -0.5 7.5 30.7 29.1 31.1 32.6 23.0 15.9 14.34 13.16 8.67 8.13
อัตราการใช้กำลังการผลิต % 60.1 61.0 60.3 61.8 60.4 60.6 67.9 57.9 64.0 65.66 62.40 64.03  64.36
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 .
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม