1. กระทรวงพาณิชย์คาดปัญหาน้ำท่วมไม่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ |
- รมว.พาณิชย์ รายงานว่า ปัญหาน้ำท่วมได้ส่งผลทำให้ราคาสินค้า เช่น กลุ่มพืชผัก และสินค้าเกษตร มีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตกลุ่มพืชผักที่มีปริมาณหายไปจากตลาดร้อยละ 30 ซึ่งในขณะนี้ ได้ดำเนินการแก้ไขโดยการประสานกับตลาดกลางในการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงแล้ว |
. |
ดังนั้น ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงไม่น่าจะส่งผลต่อทิศทางเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากหมวดสินค้าดังกล่าวมีน้ำหนักในการคำนวณเงินเฟ้อเพียงร้อยละ 5.78 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 53 จะอยู่ในกรอบร้อยละ 3-3.5 |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันได้สร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศคือ (1) ภาคการเกษตร มีพื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ 2.4 ล้านไร่ (2) ภาคอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบจากการผลิตที่ต้องหยุดชะงัก |
. |
โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ อิเล็คทรอนิคส์ และยานยนต์ และ (3) ภาคบริการและการท่องเที่ยว ได้รับความเสียหายจากการหยุดให้บริการของโรงแรมและโรงพยาบาล ทั้งนี้ สศค. ได้ประเมินผลกระทบ 3 กรณีคือ (1) กรณีต่ำ ความเสียหาย 7,739 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อ GDP ร้อยละ -0.08 ต่อปี |
. |
(2) กรณีฐาน ความเสียหาย 11,896 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อ GDP ร้อยละ -0.13 ต่อปี และ (3) กรณีสูง ความเสียหาย 20,211 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อ GDP ร้อยละ -0.21 ต่อปี จากกรณีฐานที่คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ในปี 53 นอกจากนี้ สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 53 และ 54 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.2-3.7) และ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0) ต่อปี |
. |
2. ก.เกษตรฯ เร่งผลักดันกองทุนสวัสดิการชาวนา |
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว ได้เร่งรัดดำเนินงานจัดทำร่างพระราชบัญญัติกองทุนสวัสดิการชาวนา พ.ศ. ...... โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างนโยบายและแนวทางการจัดสวัสดิการชาวนา เพื่อศึกษาหาวิธีการและยกร่างหลักการเบื้องต้นในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ชาวนา |
. |
รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะทำงานกำหนดแนวทางการจัดสวัสดิการชาวนา ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำคัญที่จะช่วยชาวนาทั้งในช่วงเวลาที่ยังประกอบอาชีพทำนาอยู่ และในช่วงที่พ้นวัยทำนาให้มีบำเหน็จหรือบำนาญเลี้ยงชีพตลอดอายุขัย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า นโยบายการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมของไทย ทั้งนี้ ในปี 52 รายได้ของประชากรกลุ่มที่รวยที่สุดคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่ารายได้ของประชากรที่จนที่สุดถึง 11.31 เท่า โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ (GINI Coefficient) อยู่ที่ค่า 0.48 |
. |
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านอื่นๆ เช่น การจัดสรรงบประมาณ 2554 ในการเน้นการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม จำนวน 624.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 30.2 ของวงเงินงบประมาณ (2,070.0 พันล้านบาท) |
. |
3. อาเซียนเตรียมถกเรื่องค่าเงินหยวน ณ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน |
- สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่าการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่จะจัดขึ้นที่ กรุงฮานอย ณ วันที่ 28 ต.ค. 2010 คาดว่าจะมีประเด็นที่ผู้นำอาเซียนจะหารือกับผู้นำจีน เกี่ยวกับค่าเงินหยวนที่ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในระดับที่ต่ำเพียงร้อยละ 2 (นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 53) ซึ่งต่ำกว่าค่าเงินสกุลอื่นในแถบภูมิภาคเอเชีย ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบทางด้านขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของจีนหากเปรียบเทียบกับประเทศเอเชียที่ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้นในระดับสูง |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ค่าเงินหยวนเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียที่แข็งค่าขึ้นมาก ตามสถานการณ์ที่ปริมาณเงินลงทุนไหลเข้าในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา เช่น เงินเยนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 14.8 เงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 11.6 เงินริงกิตแข็งค่าขึ้น 10.7 |
. |
ทั้งนี้ ประเด็นค่าเงินหยวนนั้น ทางการสหรัฐได้ใช้เวทีการประชุมเศรษฐกิจในระดับนานาชาติเพื่อผลักดันให้ทางการจีนปรับค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าและและกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งนี้ ในเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนคาดว่าประเด็นค่าเงินหยวนจะได้ถูกนำมาหารือ เนื่องจากประเทศอาเซียนนั้นได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าเงินสกุลของตนเช่นกัน |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |