เนื้อหาวันที่ : 2010-10-27 14:12:38 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4849 views

ผุด 2 โรงงานสกัดน้ำมันสบู่ดำในขอนแก่น-เชียงใหม่

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต หนุนบริษัทต่างชาติผุดโรงงานสกัดน้ำมันสบู่ดำในประเทศไทย หวังสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน เพิ่มรายได้เกษตรกร

.

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต หนุนบริษัทต่างชาติผุดโรงงานสกัดน้ำมันสบู่ดำในประเทศไทย หวังสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน เพิ่มรายได้เกษตรกร

.

สบู่ดำ (Physic Nut) ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นพืชหลักทางด้านการเกษตร ด้วยความช่วยเหลือของสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จังหวัดขอนแก่น บริษัทออสเตรเลียและเบลเยี่ยมต่างได้ทำการทดลองโครงการสบู่ดำในประเทศไทยมานานกว่า 3 ปี ปัจจุบันทั้ง 2 บริษัทได้ร่วมมือกันภายใต้ชื่อ Green Energy Group (GEG) เพื่อสร้างโรงงานผลิตน้ำมันในจังหวัดขอนแก่นและเชียงใหม่

.

GEG ได้พัฒนาระบบการปลูกเชิงพาณิชย์ โดยการปลูกสบู่ดำร่วมกับพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือ ถั่วเขียว เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรในขณะที่รอให้สบู่ดำเจริญเติบโตเต็มที่ สัญญาร่วมปลูกได้รับการจัดการโดยบริษัทไทย ในนามของ Agro Fuel Crop (AFC)

.

Dr. John Keay ประธานบริษัท Green Energy Group อดีตนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์แห่งสถาบัน Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO) ในประเทศออสเตรเลีย ได้กล่าวเกี่ยวกับระบบการปลูกนี้ว่า “ดินส่วนใหญ่ในภาคอีสานมีสภาพเสื่อมโทรม บางแห่งจัดว่าเสื่อมโทรมมาก พืชตระกูลถั่วจะตรึงไนโตรเจนจากอากาศและนำไปสร้างเป็นโปรตีนในเนื้อเยื่อของพืช

.

ดังนั้นเมื่อเราไถพรวนซากพืชตระกูลถั่วกลับลงไปในดิน ก็จะกลายเป็นแหล่งปุ๋ยไนโตรเจนตามธรรมชาติและสลายตัวเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์ต่อดิน สบู่ดำก็มีการผลัดใบลงดินทุกปีซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

.

การปลูกสบู่ดำเป็นแนวตามที่ราบเชิงเขาแบบขั้นบันได มีประโยชน์ 2 ประการต่อสิ่งแวดล้อม ข้อแรกคือ สบู่ดำจะดูดซับสารอาหารที่จะถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำและก่อให้เกิดมลพิษของสาหร่าย ข้อสอง รากของสบู่ดำใกล้ชั้นผิวหน้าดินจะก่อตัวเป็นผืนเสื่อร่วมกับดินช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน”

.

ดร. อนุสรณ์ จันทนโรจน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กล่าวว่า “การก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันสบู่ดำจะช่วยให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในเรื่องของตลาดในการรองรับผลผลิตเมล็ดสบู่ดำ ผมมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนระบบที่รับประกันรายได้ให้กับเกษตรกร ในขณะเดียวกันก็มีประโยชน์ต่อดินและสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการสนับสนุนนโยบายทางด้านพลังงานทดแทนของรัฐบาล”

.

น้ำมันสบู่ดำถูกจัดเป็นวัตถุดิบลำดับที่สองของเชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงน้ำมันเครื่องบิน เนื่องจากน้ำมันสบู่ดำเป็นน้ำมันที่กินไม่ได้จึงไม่เกิดการแข่งขันกับตลาดพืชอาหาร Boeing และ Rolls Royce ได้ทำการทดสอบเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากน้ำมันสบู่ดำ พบว่า สามารถใช้ทดแทนน้ำมันก๊าดเครื่องบินได้อย่างสมบูรณ์ IATA ได้กล่าวว่าการบินพลเรือนควรใช้น้ำมันชีวภาพ 10% ในปี 2560

.

ปัจจุบัน บริษัทบริหารหลักทรัพย์ KTZ MICO ได้เพิ่มเงินลงทุน 525 ล้านบาท ให้แก่ Green Energy Group ในการสร้างโรงสกัดน้ำมันสบู่ดำจำนวน 2 โรง