1. ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 100.8 |
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index:TISI) ในเดือน ก.ย.53 ว่า ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 100.8 ปรับตัวลดลงจากเดือน ส.ค.53 จากระดับ 102.4 โดยเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากยอดคำสั่งซื้อโดยรวม และยอดขายปรับตัวลดลง |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับตัวลดลงของดัชนีดังกล่าวเป็นผลจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย. 53 ค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบต้นเดือน ส.ค. 53 อาจส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าในระยะต่อไป นอกจากนี้หากผู้ส่งออกไม่มีหรือมีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกดังกล่าวน้อย จะทำให้รายได้จากการส่งออกลดลง หรือขาดทุนได้ |
. |
อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ส่งผลให้สามารถลดแรงกดดันจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2553 จะอยู่ที่ 31.20-32.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ |
. |
2. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม. หอการค้าไทย คาดบาทแข็งกระทบ GDP |
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า การแข็งค่า ของเงินบาท จะกระทบต่อ GDP ปีนี้ ให้ลดลงประมาณร้อยละ 0.5-0.7 แต่ก็มองว่า การส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี จะช่วยให้ GDP ทั้งปี 53 ยังจะเติบโตได้ร้อยละ 7.0-7.5 ต่อปี |
. |
ทั้งนี้ จากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 820 ราย ทั้งที่ทำธุรกิจด้าน การส่งออก และไม่เกี่ยวกับการส่งออก พบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกว่า กำลังซื้อและยอดขาย ชะลอตัวจนถึงลดลง แต่ด้วยการที่คำสั่งซื้อในการส่งออก มีมาตั้งแต่ก่อนเงินบาทแข็งค่า จึงทำให้คาดว่า การส่งออกในปีนี้ จะยังขยายตัวที่ร้อยละ 20-25 ต่อปี |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ผลกระทบค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อการส่งออกไทยและเศรษฐกิจโดยรวมไม่น่าจะมีมากนัก เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย โดยตัวเลขส่งออกล่าสุดเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวสูงสุดในประวัติศาสตร์การส่งออกของไทยที่ร้อยละ 21.2 ต่อปี |
. |
อย่างไรก็ตาม หากปัญหาด้านค่าเงินบาทยังไม่คลี่คลายในระยะต่อไปก็อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยได้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผ่านสภาพคล่องทางธุรกิจและยอดคำสั่งซื้อการส่งออกที่อาจลดลง ทั้งนี้ ในปี 2553 สศค. คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 25.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 24.8 – 25.3 ต่อปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ -14.0 ต่อปี |
. |
3. เศรษฐกิจของประเทศจีนในไตรมาสที่ 3 ของปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี |
- เศรษฐกิจของประเทศจีนในไตรมาสที่ 3 ของปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี แต่ยังสูงกว่าค่ากลางที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย.ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 23 เดือนที่ร้อยละ 3.6 ต่อปีและการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับจากปี 2551 บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนเริ่มวิตกกังวลถึงความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่มากขึ้นแต่ยังมีความพอใจในระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของไทยจะสามารถขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 ต่อปีในปี 53 โดยอาจมีแนวโน้มชะลอลงจากครึ่งแรกของปี ซึ่งเห็นได้จากดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS Manufacturing Purchasing Manager Index) ในช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. 2553 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 51.5 ลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ที่5 3.9 บ่งชี้สัญญาณการขยายตัวในภาคการผลิตของจีน |
. |
สำหรับปัจจัยเสี่ยงในปี 2553 จะเป็นเรื่องความเสี่ยงของชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯ และปัจจัยความเสี่ยงของเศรษฐกิจผองสบู่ซึ่งทำให้ทางการจีนต้องออกมาลดแรงกดดันจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |