บีเอสเอ เผยหากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด จะก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่ 2,175 ตำแหน่ง ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้หนับหมื่นล้านบาท
. |
บีเอสเอ เผยหากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด จะก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่ 2,175 ตำแหน่ง ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้หนับหมื่นล้านบาท |
. |
หากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด จะก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่ 2,175 ตำแหน่ง กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมูลค่า 38,900 ล้านบาท และรัฐจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 2,200 ล้านบาท อีกทั้งประโยชน์จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหากลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้เร็ว |
. |
ผลการศึกษาล่าสุดโดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) และบริษัทวิจัยตลาดชั้นนำไอดีซีระบุว่า หากลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลงได้ 10 จุด ภายในระยะเวลา 4 ปี จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เกิดการจ้างงานใหม่ 350,000 ตำแหน่ง และรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
นอกจากนี้ หากลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด ภายในระยะเวลา 2 ปีแรก แทนที่จะเป็น 4 ปี จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก 33 เปอร์เซ็นต์ โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลค่ากว่า 55,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2013 แทนที่จะเป็น 41,000 เหรียญสหรัฐ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2013 แทนที่จะเป็น 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
ในส่วนของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้พบว่า หากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ ลง 10 จุด ภายในระยะเวลา 4 ปี จะก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 2,175 ตำแหน่ง กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมูลค่า 38,900 ล้านบาท และรัฐจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2,200 ล้านบาท ภายในปี2013 |
. |
การศึกษาครั้งนี้ยังพบอีกว่า ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น หากเราลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้เร็ว หากไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด ภายในระยะเวลา 2 ปี แทนที่จะเป็น 4 ปี จะกระตุ้นเศรษฐกิจและการจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 32 เปอร์เซ็นต์ |
. |
โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 51,300 ล้านบาท ภายในปี 2013 แทนที่จะเป็น 38,900 ล้านบาท รัฐจะจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,900 ล้านบาท ภายในปี 2013 แทนที่จะเป็น 2,200 ล้านบาท |
. |
“การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นโอกาสในการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ที่ดีเยี่ยม” โรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบีเอสเอกล่าว “การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังในวันนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาลในวันหน้า ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมด้วย” |
. |
“ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและการลงทุนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก |
. |
ผลการศึกษาล่าสุดครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ยิ่งประเทศไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลงได้เร็วเท่าไร ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การมีกรอบเพื่อปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็งจะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ แต่ประโยชน์โดยตรงที่เห็นได้ทันทีจะตกแก่อุตสาหกรรมไอทีของประเทศและรัฐบาลไทย” มร. ชาน กล่าว |
. |
ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการใน 13 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม |
. |
ในระดับโลก หากลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลงได้ 10 จุด ภายในระยะเวลา 4 ปี จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 142,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน 42 ประเทศที่ทำการศึกษา โดยที่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ตกแก่อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ นอกจากนี้จะเกิดการจ้างงานใหม่เกือบ 500,000 ตำแหน่ง และรัฐบาลของประเทศต่างๆ จัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
นอกจากนี้ หากลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด ภายในระยะเวลา 2 ปี จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก 36 เปอร์เซ็นต์ โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มูลค่ากว่า 193,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2013 |
. |
“เนื่องจากตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีขนาดใหญ่ มากกว่าสามในห้าของการจ้างงานใหม่ที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จึงอยู่ในภูมิภาคนี้” มร. ชาน เสริม |
. |
วิคเตอร์ ลิม รองประธานกลุ่มงานให้คำปรึกษาประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีกล่าวว่า “ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ส่วนมาก จะตกอยู่กับอุตสาหกรรมในประเทศ เนื่องจากธุรกิจกระจายสินค้าและให้บริการด้านไอทีมักดำเนินงานโดยผู้ประกอบการในท้องถิ่น |
. |
อันที่จริงแล้ว การศึกษาครั้งนี้พบว่า 76 เปอร์เซ็นต์ ของประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลง 10 จุด ภายในระยะเวลา 4 ปี จะยังคงอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” |
. |
ข้อแนะนำสำหรับทุกประเทศทั่วโลก เพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ |
• รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาแก่ประชาชนให้มากขึ้น รวมถึงคุณค่าที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากการบริหารจัดการใบอนุญาตการใช้ซอฟต์แวร์ (SAM) |
. |
• ดำเนินตามแนวทางของสนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (Copyright Treaty) ที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้วางไว้ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางด้านกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งทางออนไลน์ และที่ไม่ใช่ทางออนไลน์ |
. |
• สร้างกลไกการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights) หรือข้อตกลงทริปส์ (TRIPS) ขององค์การค้าโลก (WTO) |
. |
รวมถึง การเตรียมกลไกการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สำหรับการกระทำที่ไม่เหมาะสม และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับนวัตกรรมซอฟต์แวร์ใหม่ อาทิเช่น เทคโนโลยี Cloud Computing |
. |
• เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การบังคับใช้กฎหมายด้วยการสนับสนุนทางด้านทรัพยากรอย่างเต็มที่ รวมถึง การจัดให้มีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ |
. |
• หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต้องออกมาเป็นผู้นำตัวอย่าง ในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือดำเนินนโยบายการบริหารจัดการใบอนุญาตการใช้ซอฟต์แวร์ (SAM) อย่างเป็นรูปธรรม |
. |
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นี้คำนวณโดยใช้โมเดล Piracy Impact ของไอดีซี ซึ่งรวมเอางานวิจัยตลาดเรื่องการใช้จ่ายด้านไอทีกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลเรื่องการจ้างงานด้านไอทีและภาษีที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการด้านไอทีเอาไว้ด้วย |
. |
ประเทศ 42 ประเทศที่ดำเนินการศึกษาคิดเป็น 93 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งหมด ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 13 ประเทศที่ดำเนินการศึกษา คิดเป็น 98 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในภูมิภาคนี้ |