ผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2553 |
. |
นายกรณ์ จาติกวาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2553 ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2553 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 8 ตุลาคม 2553 ได้เข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ดังนี้ |
. |
พบปะกับนักลงทุนสหรัฐฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ได้มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 10.6 และคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอของไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 7.5 |
. |
ซึ่งนักลงทุนสหรัฐฯ เห็นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ดีในปัจจุบัน เป็นโอกาสที่ดีที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศไทย นอกจากนี้นักลงทุนสหรัฐฯ ได้กล่าวสนับสนุนการปฎิรูประบบกรมศุลกากรของไทย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้า |
. |
การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2553 โดยมี นาย Olusegun Olutoyin Aganga รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศไนจีเรีย ทำหน้าที่ประธานและกล่าวเปิดการประชุมฯ โดยในการประชุมฯ กร มการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (นาย Dominique Strauss-Kahn) ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียเป็นผู้นำในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ |
. |
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังคงมีปัญหาอยู่ และเศรษฐกิ โลกยังเปราะบางจากความเสี่ยงในด้านต่างๆ อาทิ หนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ปัญหาการว่างงาน การปฏิรูปสาขาการเงิน และปัญหาค่าเงินของหลายประเทศ ซึ่งการแก้ปัญหาทั้งหมดจะสามารถทำได้โดยทุกประเทศจะต้องร่วมมือกัน |
. |
นอกจากนี้ ประธานธนาคารโลก (นาย Robert B. Zoellick) ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกภายหลังวิกฤตมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤต และยังคงมีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แต่ประเทศต่างๆ ยังต้องประสบกับความไม่แน่นอนในด้านราคาอาหารและภัยธรรมชาติต่างๆ |
. |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมเป็นผู้อภิปรายในการประชุมประจำปีของ Institute of International Finance (IIF) ในหัวข้อ “ASEAN: Maintaining Growth, Addressing Challenges, and Tapping Opportunities” โดยได้กล่าวถึงความสำคัญของเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนต่อเศรษฐกิจโลก และได้ชี้แจงถึงสภาวะเศรษฐกิิจของไทยในปัจจุบันที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี |
. |
แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีความท้าทายในเรื่องข้อจำกัดของการใช้จ่ายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ |
. |
นอกจากนี้ สำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นประเทศขนาดเล็กที่มี ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด และพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างสูง จะยังต้องเผชิญความท้าทายในเรื่องของการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน |
. |
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการประชุมของประเทศสมาชิกกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Group: SEA Group หรือ กลุ่ม SEA) ของธนาคารโลก ซึ่งเป็นการหารือระหว่างผู้ว่าการธนาคารโลกของประเทศสมาชิกของกลุ่ม SEA ประกอบด้วยสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ |
. |
บรูไนดารุสซาลาม ฟิจิ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล สิงคโปร์ ไทย ตองก้า และเวียดนาม เกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกและบทบาทในอนาคตในการแก้ไขวิกฤตต่างๆ และความคืบหน้าในการปฏิรูปธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนามากขึ้นตลอดจนการเพิ่มความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ |
. |
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการประชุม Bali Dialogue เพื่อหารือเกี่ยวกับกลไกด้านการเงิน เพื่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Financing)โดยมีแนวคิดจัดตั้งกองทุนเรียกว่า Fast Start Finance เพื่อมุ่งเน้นการลดผลกระทบและการรองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและที่ยากจนมาก ซึ่งประเด็นด้านการเงินจะเป็นหัวข้อสำคัญหนึ่งในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 16 ที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนธันวาคม 2553 |