1. ครม.ไฟเขียว เก็บภาษีกำไรบอนด์ร้อยละ 15 ของนลท.ต่างชาติ |
- คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท แบ่งเป็น 3 มาตรการย่อยประกอบด้วย มาตรการชะลอเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้า (Capital inflow) คือการยกเลิกยกเว้นการจัดเก็บภาษีร้อยละ 15 จากกำไรและดอกเบี้ยในพันธบัตรที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติที่เป็นธุรกรรมใหม่ ซึ่งครอบคลุมพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย |
. |
มาตรการส่งเสริมเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออก (Capital outflow) ด้วยการ ให้หน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนที่ใช้เงินตราต่างประเทศ และมาตรการช่วยเหลือ SMEs ผู้ส่งออกที่จะได้รับผลกระทบ นอกจากนั้นรัฐบาลไม่มีแผนที่จะกำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าแต่อย่างใด |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหลังจากมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดเงินของไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นที่จะบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ที่กำลังประสบปัญหาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น |
. |
โดยเพิ่มช่องทางในการทำ Forward contract ให้กับธุรกรรมการส่งออกเพื่อให้ผู้ประกอบการไม่ได้รับความเสี่ยงจากค่าเงินที่ผันผวน และยังมีการช่วยเพิ่มสภาพคล่องโดยโครงการสินเชื่อเพื่อ SME ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) ซึ่งคาดว่าจะมี SME ที่ได้รับประโยชน์กว่า 17,000 ราย |
. |
2. ก.พาณิชย์เชื่อ SMEs ได้รับผลกระทบน้อยจากค่าเงิน เชื่อส่งออกปี 54 ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 |
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มาตรการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพื่อสกัดการแข็งค่าของค่าเงินบาทในวันนี้จะสามารถลดผลกระทบให้แก่ผู้ประกอบการได้ โดยจะสามารถทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถวางแผนธุรกิจระยะยาวได้ |
. |
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุน และต้องหยุดรับออเดอร์จากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่เหมาะสมที่ผู้ประกอบการอยู่ได้ ควรอยู่ที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ ประเมินเป้าการส่งออกในปี 2554 คาดว่าจะโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการส่งออกหลายสาขา โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง กุ้งสดและแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการส่งออกกว่าร้อยละ 65 ของ GDP |
. |
โดยข้อมูลการส่งออกเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 23.9 ต่อปี และเมื่อพิจารณาปัจจัยทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และหากหักทองคำขยายตัวที่ร้อยละ 26.2 ต่อปี หรือร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 54 มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 11.0 – 13.0 ต่อปี) คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 53 |
. |
3. ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในอังกฤษเดือน ก.ย. 53 ลดลงต่ำสุดในรอบ 16 เดือน |
- สำนักสำรวจข้อมูลแห่งประเทศอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในอังกฤษเดือนกันยายนลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน หลังจากจำนวนบ้านรอการขายเพิ่มขึ้นมากกว่าความต้องการ โดยระบุว่า ในเดือนดังกล่าวดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในอังกฤษลดลงมาอยู่ที่ระดับติดลบ 36 จุด จากติดลบ 32 จุด ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งหากความต้องการไม่กระเตื้องขึ้น ราคาที่อยู่อาศัยจะยังคงลดลงไปอีก |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจโลกที่การเติบโตชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 53 ส่งผลกระทบต่อความต้องการทั้งด้านการผลิตและการบริโภค ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี โดยภาคการก่อสร้างซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6 ของ จีดีพี ขยายตัวค่อนข้างมาก สูงถึงร้อยละ 9.5 จากไตรมาสแรก |
. |
ขณะที่เครื่องชื้เศรษฐกิจไตรมาส 3 ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ของประเทศอังกฤษไม่ได้หดตัวรุนแรง กล่าวคือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่3 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคบริการที่มีสัดส่วนร้อยละ 76 ของ GDP เดือน ก.ย. 53 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 52.8 จุดเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่หดตัวติดต่อกันในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |