ครม.แก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งออกมาตรช่วยเหลือสภาพคล่องและประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้ SME เพื่อบรรเทาผลกระทบความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากการที่ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น |
. |
วานนี้ (12 ต.ค. 2553) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งในขณะนี้ว่า ทางครม.ได้พิจารณาเรื่องปัญหาค่าเงินบาทและมีมาตรการหลัก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการที่จะพยายามจำกัดการไหลเข้าเงินทุนอำนวยความสะดวกการไหลออกและมีมาตรการในเรื่องของการช่วยเหลือในเรื่องของสภาพคล่องและการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม(SME) |
. |
ซึ่งถือเป็นแนวทางของรัฐบาลที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากการที่ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น และขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิดในเรื่องของการที่จะใช้ระบบการกำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนแต่จะพิจารณาเพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจริง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายขนาดกลางขนาดย่อมที่เป็นผู้ส่งออก |
. |
"เราไม่ได้แก้ปัญหาเงินบาทแข็ง แต่เราแก้ปัญหาผลกระทบจากบาทแข็ง และคิดว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจค่าเงินบาทคงไม่อ่อนตัวลงไปกว่านี้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะฉะนั้นการส่งสัญญาณที่ถูกต้องก็คือการที่จะให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเล็งเห็นว่า เมื่อบาทแข็งก็จะต้องมีการปรับแนวทางการบริหารของตัวเองอย่างไร |
. |
โดยในส่วนของภาครัฐก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้วในเรื่องของการบริหารหนี้ ซึ่งหนี้ต่างประเทศยังมีอยู่ค่อนข้างน้อยในส่วนของรัฐบาล ประการที่สองคือจะต้องมีการส่งเสริมหรือส่งสัญญาณให้มีการเร่งในเรื่องของการปรับตัวถ้าว่ามีการต้องการที่จะนำเข้าเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีใหม่ก็จะเป็นโอกาสดีที่สุดที่ทำตรงนี้ |
. |
ส่วนมาตรการที่ออกไปนั้นก็เป็นการมุ่งที่จะบรรเทาความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรายย่อย และอาจจะมีผลให้เงินทุนซึ่งไหลเข้ามาในปริมาณที่มากมีการชะลอตัวลงบ้าง" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าว |
. |
สำหรับมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือการนำเข้าเครื่องจักรนั้น คาดว่าอีกประมาณ 2 สัปดาห์ กระทรวงการคลังจะนำเสนออีกครั้งหนึ่งว่าจะใช้มาตรการใด |
. |
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย |