เนื้อหาวันที่ : 2010-10-12 17:47:10 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1638 views

กรีนพีซ ชี้สร้างพื้นที่กันชนไม่ช่วยแก้ปัญหา

กรีนพีซ ไม่เห็นด้วย "มาร์ค" เสนอสร้างพื้นที่กันชนแก้ปัญหามาบตาพุด ชี้ไม่ช่วยลดหรือแก้ปัญหา จวกรัฐไม่สนใจลักษณะของปัญหามลพิษ

.

กรีนพีซ ไม่เห็นด้วย "มาร์ค" เสนอสร้างพื้นที่กันชนแก้ปัญหามาบตาพุด ชี้ไม่ช่วยลดหรือแก้ปัญหา จวกรัฐไม่สนใจลักษณะของปัญหามลพิษ

.

นักกิจกรรมกรีนพีซลงเรือยางจากเรนโบว์ วอร์ริเออร์ เดินทางเข้าน่านน้ำนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ถือป้ายผ้าที่มีข้อความว่า “มลพิษไม่มีขอบเขต” ในการเป็นบทสรุปของภารกิจ “ร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อมกับเรนโบว์ วอร์ริเออร์” ในประเทศไทย 

.

ถึงแม้ว่ากรีนพีซจะเห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเกคโค่วันของบริษัท โกล์ว ถูกรวมเข้าไปในบัญชีรายการโครงการหรือกิจกรรมที่เข้าข่ายโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง แต่กรีนพีซไม่เห็นด้วยกับ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ที่แก้ปัญหาโดยเสนอให้สร้างพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ซึ่งมิได้ช่วยลดหรือแก้ไขปัญหา ซ้ำยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้เพิกเฉยต่อลักษณะของปัญหามลพิษ

.

นายธารา บัวคำศรี ผู้แทนประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “แนวคิดการสร้างพื้นที่กันชนเป็นเรื่องน่าขัน ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ย้ำเตือนเสมอว่ามลพิษและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นั้นไม่สนใจขอบเขต

.

มีความจริงที่รู้จักกันดีว่าสารเคมีเป็นพิษจะเป็นอันตรายมากขึ้นเนื่องจากไม่สามารถย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมได้โดยง่าย และสามารถเข้าปนเปื้อนในสิ่งมีชีวิตในทุกมุมโลกโดยแพร่กระจายไปตามกระแสลม และผ่านเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร"

.

“สิทธิในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสะอาดถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและการพัฒนาสกปรกที่คุกคามวิถีชีวิตของชุมชนได้ละเมิดสิทธินี้ซึ่งรัฐบาลต้องมีหน้าที่ปกป้องเทคโนโลยีที่จะทำให้ประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาที่ให้ความสำคัญต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Green Development) นั้นมีอยู่แล้ว

.

เราเรียกร้องรัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วนและสนับสนุนการลงทุนดังกล่าวเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำแทนที่การลงทุนที่มุ่งขยายการปล่อยคาร์บอนและการทำลายสิ่งแวดล้อม” นายธารากล่าวเสริม

.

นายวอน เฮอร์นันเดซ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีไม่อาจมองข้ามข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้อุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ข้อเรียกร้องนี้รวมถึงความต้องการขั้นต่ำสุดที่ทุกรัฐบาลรับรองถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน

.

ในความเป็นจริง นี่คือการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐานที่มีการปฏิบัติอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก โดยพื้นฐานแล้ว การปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิทธิและความเป็นธรรมที่ประชาชนควรได้รับ ถ้าหากรัฐบาลมุ่งมั่นต่อการยึดถือสิทธิของพลเมืองเป็นที่ตั้งและรับประกันว่าคนรุ่นอนาคตจะได้รับสิทธิทางสิ่งแวดล้อมในแบบเดียวกัน”

.

กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ออกจากวังวนการพัฒนาที่สกปรก(dirty development)และลงทุนการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (green development)เพื่ออนาคตที่สันติ

.

- เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานหมุนเวียนโดยยุติ การอุดหนุนทางการเงินต่อเชื้อเพลิงฟอสซิลโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และ อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้นในประเทศไทย

.

- ฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยาโดยกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนเพื่อลด จำกัดและกำจัดการปล่อยทิ้งสารเคมีที่เป็นพิษลงสู่แหล่งน้ำทุกแหล่งของประเทศไทย

.

- ยกร่างนโยบายแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทยโดยยก เลิกพืชอาหารจีเอ็มโอและยุติการอุดหนุนทางการเงินต่อการใช้ปุ๋ยเคมีและยา ปราบศัตรูพืชในประเทศไทย และ

.

- ดำเนินการมาตรการที่เข้มงวดเพื่อปกป้องและยุติการทำลายป่าและยุตินโยบาย และโครงการพัฒนาทุกโครงการที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อพื้นที่ป่าไม้และความ หลากหลายทางชีวภาพ

.
ที่มา : กรีนพีซ