1. ส่งออกสบช่องซื้อเครื่องจักรหนีค่าแรงพุ่ง |
- ผู้ส่งออกสบช่องค่าเงินบาทแข็ง นำเข้าเครื่องจักรทดแทนการใช้แรงงาน หลังจากมีปัญหาค่าจ้างเพิ่มขึ้น โดยได้ทยอยสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อนำมาปรับปรุงสายการผลิตเดิมตั้งแต่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30 บาท โดยเน้นเครื่องจักรบรรจุสินค้าเพื่อลดการใช้แรงงานลง เนื่องจากแรงงานหายากมากและมีแนวโน้มที่ค่าจ้างจะเพิ่มขึ้น |
. |
ขณะที่ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรบางรายชะลอการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่วนกลุ่มฮงเส็งการทอได้ปรับแผนลงทุนต่างประเทศเร็วขึ้น เพื่อเตรียมการก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่วนผู้ผลิตพื้นไม้เพื่อการส่งออกได้มีการการทำตลาดในประเทศมากขึ้น |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาส 3 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเกษตร อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทก็มีผลดี ทำให้ไทยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในราคาที่ถูกลง จากตัวเลขการนำเข้าในเดือนส.ค. 53 พบว่า การนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัวถึงร้อยละ 34.2 ต่อปี รวมถึงสินค้าวัตถุดิบ เชื้อเพลิง และอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวได้ดีเช่นกัน |
. |
ทั้งนี้ จากตัวเลขการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.9 จากกำลังแรงงานรวม เป็นโอกาสที่ดีที่จะนำเข้าเครื่องจักรเพื่อนำมาลดการใช้แรงงาน โดยสศค.คาดว่า การนำเข้าของไทยในปี 53 จะขยายตัวร้อยละ 35.6 ต่อปี มีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 35.4 - 35.9 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือนก.ย. 53) |
. |
2. เกษตรกรร้องปุ๋ยขาดตลาด -ราคาสูง |
- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกร และร้านค้าปลีกปุ๋ยเคมีในหลายจังหวัดว่าประสบปัญหาปุ๋ยขาดตลาด และราคาจำหน่ายสูงกว่าราคาแนะนำที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ |
. |
โดยเกษตรกรแจ้งว่าปัจจุบันหลายพื้นที่หาซื้อปุ๋ยได้ยาก และราคาปุ๋ยเคมีที่ขายในตลาดส่วนใหญ่ มีราคาใกล้เคียงกับเมื่อ 2 เดือนก่อน โดยราคาไม่ได้ลดลงตามที่รัฐกำหนด เช่น สูตร 46-0-0 (50 กก.) ราคาถุงละ 620-630 บาท สูตร 15-15-15 ถุงละ 810-820 บาท สูตร 16-20-0 ถุงละ 700 บาท และสูตร 21-0-0 ถุงละ 350-370 บาท |
. |
- สศค. วิเคราะห์ ว่า ในเดือนส.ค. 2553 มีการนำเข้าปุ๋ยคิดเป็นมูลค่า 138.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 22.4 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -14.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการเร่งนำเข้าเพื่อทดแทนสต็อคที่ปรับตัวลดลง |
. |
ทั้งนี้ คาดว่าในระยะต่อไปราคาปุ๋ยเคมีจะเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากต้นทุนนำเข้าปุ๋ยลดลง ตามทิศทางค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี คาดว่าสามารถรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ |
. |
3. ไอเอ็มเอฟชี้ จีนและอินเดีย เป็นแกนนำเศรษฐกิจโลกฟื้น |
- ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ชี้เอเชียจะยังเป็นทวีปที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการหามาตรการรับมือกับการถอดถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว |
. |
โดยจีนเป็นผู้นำประเทศในเอเชียที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ซึ่งไอเอ็มเอฟคาดว่าจะเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ถึง 10.5% ขณะที่เศรษฐกิจอินเดียจะเติบโตได้เกือบ 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ความเสี่ยงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ไปเอ็มเอฟปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 53 จากร้อยละ 3.3 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม จากเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวในระดับสูงในครึ่งแรกของปี 53 ทำให้ไอเอ็มเอฟมองว่าในปี 53 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ในเดือน ก.ค. 53 ที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี |
. |
สำหรับประเทศไทย ไอเอ็มเอฟคาดว่าใ นปี 53 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการณ์ของ สศค. ที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี – ร้อยละ 7.8 ต่อปี) |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |