Economic Indicators: This Week |
สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ 1.87 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งหากวิเคราะห์ด้านของเงินฝากจะพบว่า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (หักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นผลมาจากการโยกย้ายเงินไปลงทุนในผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น กองทุนรวม ประกันชีวิต หรือทองคำ |
. |
ในขณะที่สินเชื่อเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น โดยหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจัยเงินฝากที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับสินเชื่อที่มีแนวโน้มเร่งขึ้นนี้ เป็นแรงกดดันให้สภาพคล่องในระบบลดลง ดังนั้นเพื่อรักษาระดับสภาพคล่องและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธนาคารพาณิชย์จึงออกตั๋วแลกเงิน เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกของผู้ออม ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบธนาคารเพิ่มขึ้น |
. |
Economic Indicators: Next Week |
ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 53 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 25.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.5 ต่อปี ซึ่งแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงแต่ถือได้ว่ายังขยายตัวได้ในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ชัดเจน โดยจะเห็นได้จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ในช่วงครึ่งแรกของปี 53 ที่สูงถึงร้อยละ 5.3 ต่อปี |
. |
2) รายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา และมันสำปะหลัง ที่ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยในเดือน ส.ค. 53 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีอัตราการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จะเริ่มลดลง เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น |
. |
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 53 คาดว่าจะมีจำนวน 1.15 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อปี ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของด่านทั้งหมด มีจำนวน 0.78 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี |
. |
เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเอเชีย ได้แก่ เกาหลีและจีน ที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 93.9 และ 56.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ กลุ่มยุโรป อเมริกา และโอเชียเนียที่เดินทางผ่านด่านสุวรรณภูมิมีการหดตัวลง. |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |