ช่วง 25 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้น แต่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเชิงสังคมที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นั่นคือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาระดับชาติที่รอการแก้ไข1 |
. |
. |
บทสรุปผู้บริหาร |
- ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้จำนวนคนจนลดลงทั่วประเทศจากกว่าร้อยละ 45.0 ของประชากรเมื่อ 25 ปีก่อน เหลือเพียงไม่ถึงร้อยละ 9.0 ของประชากรในปัจจุบัน |
. |
แต่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเชิงสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ก่อให้เกิดความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างคนรวยกับคนจน คนเมืองกับคนชนบท ซึ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดีจากข้อมูลสถิติช่องว่างความเหลื่อมล้ำรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้สูงสุดกลับกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้ต่ำสุด มีความห่างกันมากกว่า 12 เท่าในปัจจุบัน |
. |
ซึ่งถือว่าการกระจายรายได้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาก กล่าวคือ กลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 55 ของรายได้รวมทั้งประเทศ ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 4-5 ของรายได้รวมทั้งประเทศ |
. |
- ในด้านความยากจนเชิงบริบูรณ์ของไทย (Absolute poverty) พบว่า ความยากจนของประเทศไทยลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2543-2550 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าในปี 2550 มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 8.5 จากจำนวนคนจน 5.4 ล้านคน และทำให้เส้นความยากจน (Poverty line) อยู่ที่ 1,443 (บาท/คน/เดือน) |
. |
- ในด้านความยากจนเชิงเปรียบเทียบ (Relative poverty) ของไทยตั้งแต่ปี 2537-2550 พบว่าการกระจายรายได้ของไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มคนที่มีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นคือ กลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ หรือกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้สูงสุด ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้ถึงร้อยละ 57.2 ของรายได้ทั้งหมดในปี 2537 มาเป็นร้อยละ 55.1 ในปี 2550 |
. |
ในขณะที่ประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 มีส่วนแบ่งรายได้ลดลง จากร้อยละ 4.1 ในปี 2537 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ในปี 2550 ดังนั้น ความแตกต่างของรายได้ยังคงอยู่ในระดับที่สูง วัดได้จากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (GINI Coefficient) ด้านรายได้ในปี 2550 อยู่ที่ค่า 0.5 ในปัจจุบัน |
. |
- ในการนี้ กระทรวงการคลังจึงมีภารกิจสำคัญในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ 4 ด้าน เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ได้แก่ |
(1) นโยบายภาษี (2) นโยบายรายจ่ายงบประมาณ (3) นโยบายทรัพย์สินของภาครัฐ และ (4) นโยบายด้านการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย เพื่อการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศและทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกันในอนาคตต่อไป |
. |
ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้จำนวนคนจนลดลงทั่วประเทศเหลือไม่ถึงร้อยละ 9.0 ของประชากรในปัจจุบัน จากที่เคยสูงถึงร้อยละ 45.0 ของประชากรเมื่อช่วง 25 ปีก่อน |
. |
แต่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเชิงสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ก่อให้เกิดความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างคนรวยกับคนจน คนเมืองกับคนชนบท ซึ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดี |
. |
จากข้อมูลสถิติ พบว่า ช่องว่างความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้สูงสุดกับกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้ต่ำสุด มีความห่างกันมากกว่า 12 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเมื่อช่วง 25 ปีที่แล้ว ซึ่งหมายความว่า กลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 55 ของรายได้รวมทั้งประเทศ |
. |
ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 4-5 ของรายได้รวมทั้งประเทศ ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประเทศ พร้อมทั้งเสนอแนะนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนี้ |
. |
1. ความยากจนเชิงบริบูรณ์ของไทย (Absolute poverty) |
ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ความยากจนของประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2543-2550 เนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญเรื่องการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ที่กำหนดเป้าหมายลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 12 ของจำนวนประชากร โดยในปี 2549 พบว่าจำนวนคนจนอยู่ที่ 6.1 ล้านคน จากสัดส่วนคนจนร้อยละ 9.5 |
. |
ในขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 4 ของประชากรภายในปี 2554 โดยพบว่าในปี 2550 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นั้น พบว่าสัดส่วนคนจนอยู่ที่ร้อยละ 8.48 ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ และจำนวนคนจนอยู่ที่ 5.4 ล้านคน |
. |
ตารางที่ 1 ช่องว่าความยากจน ความรุนแรงปัญหาความยากจน เส้นความยากจน สัดส่วนคนจน และจำนวนคนจนช่วงปี 2531-2550 |
ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) |
. |
2. ความยากจนเชิงเปรียบเทียบ (Relative poverty) |
การวัดความยากจนในมิติของการกระจายรายได้อีกด้านหนึ่ง คือ การวัดความยากจนแบบสัมพันธ์ (Relative poverty) หมายถึง การที่คนกลุ่มหนึ่งได้รับรายได้แตกต่างจากอีกกลุ่มหนึ่งมากน้อยกว่ากันเท่าใด โดยสามารถเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับรายได้สูงสุด (5th Quintile) ร้อยละ 20 แรกเทียบกลุ่มที่ได้รับรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 ล่างสุด ซึ่งประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูง และมีปัญหาการกระจายรายได้จะมีสัดส่วนการมีรายได้ของทั้งสองกลุ่มนี้แตกต่างกันมาก |
. |
สำหรับประเทศไทย พบว่า การกระจายรายได้ของประเทศตั้งแต่ปี 2537-2550 ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มคนที่มีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้น คือกลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ หรือกลุ่มประชากรร้อยะ 20 ที่มีรายได้สูงสุด (5th Quintile) ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 มีส่วนแบ่งรายได้ลดลง จากร้อยละ 4.07 ในปี 2537 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.30 ในปี 2550 |
. |
ซึ่งหมายความว่าผลผลิตของประเทศไทยที่คิดเป็นเงินได้ 100 บาทตกเป็นของคนรวยเสียครึ่งหนึ่ง ส่วนคนจนร้อยละ 20 (จนที่สุด) ได้รับรายได้ไปเพียง 4.30 บาท ทั้งนี้ในปี 2550 รายได้ของประชากรกลุ่มที่รวยที่สุดคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่ารายได้ของประชากรที่จนที่สุดถึง 12.81 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ของประเทศไทยในปัจจุบัน |
. |
ตารางที่ 2 การกระจายรายได้และความยากจนด้านรายได้ช่วงปี 2537-2550 |
ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) |
. |
ทั้งนี้ ความแตกต่างของรายได้สามารถวัดเป็นค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ (GINI Coefficient)2 ของไทยในปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ค่า 0.50 ลดลงเพียงเล็กน้อยจากค่า 0.52 ในปี 2537 ซึ่งแสดงถึงความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญมากนักในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา |
. |
ตารางที่ 3 สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (GINI coefficient) ของรายได้จำแนกตามภาค และจำแนกตามเขตพื้นที่ ปี 2537-2550 |
ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) |
. |
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาทางวิชาการและประสบการณ์จากประเทศพัฒนาแล้ว พบว่าค่า GINI Coefficient ที่เหมาะสม (Optimal) ควรอยู่ที่ระดับค่าเท่ากับค่า 0.40 โดยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น มีค่า GINI Coefficient อยู่ที่ระดับดังกล่าว (ดูภาพที่ 2) |
. |
ดังนั้น เป้าหมายเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ของไทยจึงควรทำให้โครงสร้างการกระจายรายได้ของไทยมีค่า GINI Coefficient ที่ลดลงจากค่า 0.5 เป็นค่า 0.4 ในอนาคต |
. |
ซึ่งโครงสร้างรายได้ในระดับเหมาะสมดังกล่าว หากดำเนินการภายใต้กรณีให้กลุ่มคนชั้นกลาง (ร้อยละ 60 ของประชากร) ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกระจายรายได้จะทำให้กลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ หรือ กลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้สูงสุดควรมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 51.6 ในขณะที่ประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 จำเป็นต้องมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.8 |
. |
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกระจายรายได้ดังกล่าว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการกระจายรายได้คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.5 ของ GDP หรือประมาณ 3.5 แสนล้านบาท จากกลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ หรือกลุ่มประชากรร้อยละ 20 กับกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 |
. |
ภาพที่ 1 ความต้องการทางการเงินในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม |
. |
ภาพที่ 2 ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (GINI Coefficient) ของประเทศต่าง ๆ |
. |
3. นโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม |
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน และการกระจายรายได้ซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม กระทรวงการคลังจึงมีภารกิจสำคัญในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทยเป็นการเร่งด่วน ซึ่งสามารถแบ่งนโยบายการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมออกเป็น 4 ด้านได้แก่ |
. |
1) นโยบายภาษีเพื่อช่วยสร้างความเป็นธรรม |
รัฐบาลได้มีนโยบายการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อให้ระบบภาษีเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการกระจายรายได้และช่วยสร้างความเป็นธรรมในสังคม เช่น (1) การปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้และการปรับปรุงแ นวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อสร้างความเป็นธรรมและบรรลุในเป้าหมายการกระจายได้ |
. |
(2) การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากปัจจะบันที่ร้อยละ 7.0 เพื่อทำให้รัฐบาลมีรายได้เพียงพอสำหรับใช้จ่ายงบประมาณในโครงการหรือแผนงานที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป |
. |
(3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นภาษีฐานทรัพย์สิน (Wealth tax) ที่จะสร้างความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ลดปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินโดยบุคคลเพียงบางกลุ่ม รวมถึงเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าว และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่สอดคล้องกับการให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นต้น |
. |
2) นโยบายรายจ่ายงบประมาณ |
รัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 และปีงบประมาณ 2554 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิต เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย การขยายโอกาสให้คนไทยได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันผ่านโครงการเรียนฟรี 15 ปี |
. |
การเพิ่มโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและคนชรา ให้ได้รับเบี้ยยังชีพและสวัสดิการสังคมที่เป็นธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดสรรงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทและประกอบอาชีพทางการเกษตร |
. |
เช่น โครงการประกันรายได้เกษตร ซึ่งปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรมีการขึ้นทะเบียนแล้วอย่างน้อย 1 ล้านครัวเรือน ที่เข้าสู่ระบบประกันภัยพืชผล โครงการจ้างงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการลงทุนในระบบชลประทานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งการเพิ่มโอกาสให้คนในชนบทได้รับการบริการสาธารณสุขที่เท่าเทียมด้วยการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลตำบล เป็นต้น |
. |
สำหรับในปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังได้เน้นการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยได้มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้จำนวน 624.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 30.2 ของวงเงินงบประมาณ (2,070.0 พันล้านบาท) โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ |
. |
ตารางที่ 3 รายละเอียดงบประมาณด้านการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม |
ที่มา : สำนักงบประมาณ |
. |
3) นโยบายทรัพย์สินของรัฐ |
กระทรวงการคลังมีทรัพย์สินของรัฐที่เป็นราชพัสดุที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์เชิงสังคม โดยจะได้ทำการจัดสรรที่ดินราชพัสดุภายใต้โครงการ 1 ล้านไร่มิติใหม่ที่ราชพัสดุ ทั้งนี้ นโยบายในการนำที่ดินราชพัสดุมาสนับสนุนการปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงาน เพื่อจัดสรรให้แก่ราษฎรที่มีอาชีพเกษตรกรรม หรือผู้ที่มีความประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้เช่าที่ดินราชพัสดุ เพื่อทำการเกษตรในอัตราค่าเช่าที่เหมาะสม |
. |
โดยในปี 2552 ได้จัดให้เกษตรกรเช่าที่ราชพัสดุจากโครงการดังกล่าวแล้วเนื้อที่ประมาณ 114,376 ไร่ เกษตรกรผู้เช่าประมาณ 6,927 ราย สำหรับปีงบประมาณ 2553 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 เป็นต้น |
. |
สามารถมาจัดที่ดินที่ราชพัสดุให้เกษตรกรเช่าแล้วประมาณ 13,590 ไร่ จำนวนผู้เช่าประมาณ 1,632 ราย ในเขตจังหวัดต่าง ๆ อาทิเช่น จังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ชุมพร กระบี่ และในปี 2553 คาดว่าจะสามารถจัดให้เกษตรกรเช่าได้ 100,000 ไร่ |
. |
4) นโยบายด้านการเงินเฉพาะกิจ |
กระทรวงการคลังมีบทบาทสำคัญในการใช้กลไกเครื่องมือนโยบายด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกินทั้ง 6 แห่ง เข้ามาเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น (1) การให้สถาบันการเงินของรัฐเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก้ผู้มีรายได้น้อย ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) |
. |
ซึ่งในปัจจุบัน พบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย |
. |
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่งในปี 2552 สามารถอนุมัติสินเชื่อได้รวม 1,186,411 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 128.0 ของเป้าหมายจำนวน 927,000 ล้านบาท และเบิกจ่ายแล้วเป็นเงิน 1,096,592 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 118.3 ของเป้าหมาย และมีผู้ได้รับประโยชน์แล้ว 5.03 ล้านราย |
. |
(2) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) ซึ่งปัจจุบัน พบว่า มีจำนวนผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 1.19 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 1.2 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละ 103,000 บาท (3) โครงการฟื้นฟูและพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ยากจน และขณะนี้กำลังผลักดันร่างกฎหมายต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม |
. |
เช่น ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไทย 24 ล้านคนที่ยังไม่มีระบบประกันสังคมใด ๆ ให้มีระบบการออมที่ช่วยให้มีรายได้ดูแลตนเองหลังเกษียณอายุและ (4) การผลักดันแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก เพื่อให้เป็นแหล่งเงินออมและแหล่งทุนของชุมชนอย่างยั่งยืน และมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบโดยชุมชน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม |
. |
ดังนั้น การดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศและทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกันในอนาคตต่อไป |
. |
1ผู้เขียน นายวรพล คหัฏฐา เศรษฐกร ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำหรับคำแนะนำ |
2ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค หรือ GINI Coefficient มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 โดยเมื่อค่าเข้าใกล้ค่า 0 ประชากรมีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้นแต่เมื่อสัมประสิทธิ์เข้าใกล้ค่า 1 การกระจายรายได้แย่ลง |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |